Quantcast
Channel: Limitless Cinema
Viewing all 3291 articles
Browse latest View live

BANGKOK DWELLERS

$
0
0
BANGKOK DWELLERS (2009, Jarurat Theslamyai, Kissada Kamyoung, Alisa Santasombat, 25min, second viewing, A+30)

ดีใจมากๆที่ได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสอง

1.ชอบมากๆที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้พูดทั้งภาษาสเปน, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ญี่ปุ่น และไทย เรานึกไม่ออกว่ามีหนังไทยเรื่องอื่นๆที่ตัวละครพูดคุยกันด้วยภาษามากมายเท่าหนังเรื่องนี้หรือเปล่า

2.ส่วนแรกของหนังพิศวงมาก ถ้าเราจำไม่ผิด มันเป็นเรื่องของชายหนุ่มที่น่าจะเป็นคนไทย ที่อยู่ดีๆก็สูญเสียความทรงจำเกี่ยวกับภาษาไทย และพูดได้แต่ภาษาสเปน เขาไปเดินเที่ยวกับสาวญี่ปุ่น (หรือญี่ปุ่น-บราซิล เราจำไม่ได้เหมือนกัน) ที่บอกว่าเขาเคยมีบุญคุณกับคุณตาของเธอมาก่อน หรืออะไรทำนองนี้ และชายหนุ่มคนนี้ก็รู้สึกเหมือนเขาไม่มีตัวตนในสายตาของคนอื่นๆ หรือในเมืองนี้

คือส่วนนี้พิศวงมาก เราไม่สามารถตีความอะไรได้เลย แต่ก็ชอบมากๆอยู่ดี

3.ส่วนที่สองของหนังเป็นส่วนที่เราชอบที่สุด และดูเหมือนจะสื่อสารกับคนดูอย่างตรงไปตรงมาที่สุด มันเป็นเรื่องของชายหนุ่มคนไทยกับคนฝรั่งเศสเล่นหมากกระดานอะไรสักอย่างด้วยกัน และพูดคุยกันเกี่ยวกับกรุงเทพ โดยหนุ่มฝรั่งเศสพูดว่าเขามาอยู่กรุงเทพเพราะเขาชอบ “ความไร้ระเบียบ” ของกรุงเทพ ซึ่งจุดนี้ทำให้เรานึกถึงเพื่อนคนไทยของเราที่เคยไปใช้ชีวิตอยู่เยอรมนีแล้วด่า “ความไร้ระเบียบ” ของกรุงเทพ/เมืองไทยให้เราฟัง คือเราชอบเรื่องแบบนี้มากๆ เพราะเราไม่เคยไปเมืองนอกน่ะ เราเลยไม่เคยมีประสบการณ์ตรงในจุดนี้ และไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่า เมืองไทยกับประเทศที่เจริญแล้ว มันต่างกันยังไงบ้าง เราก็เลยชอบหนังตรงจุดนี้ เพราะมันนำเสนอมุมมองของชายฝรั่งเศสคนหนึ่งที่มีต่อเมืองไทย เหมือนอย่างหนัง BANGKOK NITES (2016, Katsuya Tomita, 183min) ที่นำเสนอมุมมองของชายญี่ปุ่นที่มีต่อเมืองไทย เพราะมุมมองของคนต่างชาติมันช่วยให้เราเห็นสิ่งที่เราไม่เห็นหรือไม่ทันได้คิดถึงมาก่อน เพราะเราคุ้นชินกับมันมากเกินไป เรามองว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตของเราเป็น “เรื่องปกติ” แต่ถ้าหากหนุ่มต่างชาติบางคนมามอง เขาอาจจะมองว่า “สิ่งปกติ” ต่างๆเหล่านี้ในชีวิตประจำวันของเรา มันอาจจะเป็น “ความไร้ระเบียบ” อย่างรุนแรงก็ได้

เราไม่มีปัญหากับการนำเสนอทัศนคติของชายฝรั่งเศสในหนังเรื่องนี้นะ เพราะมันอาจจะไม่ใช่ “ทัศนคติของหนัง” คือถึงแม้ตัวละครในหนังเรื่องนี้จะเชิดชูความไร้ระเบียบ หนังก็ไม่ได้บอกว่าหนังเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับตัวละครตัวนี้ คือจริงๆแล้วเราว่าหนังอาจจะต้องการ “เสียดสี” หรือ “ด่าความไร้ระเบียบในทางอ้อม” ก็ได้

4.ส่วนที่สามของหนังเราก็ชอบมาก เพราะเราไม่สามารถลงความเห็นอะไรได้เลย 555 คือส่วนที่สามของหนังนำเสนอเพียงแค่หญิงสาวคนหนึ่งเดินไปเรื่อยๆในกรุงเทพ โดยมีการเดินชนคนตรงจุดนึง แล้วก็นั่งพักตรงจุดนึงเท่านั้นเอง

คือดูจบแล้วเราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า

4.1 หญิงสาวคนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ หรือเป็นคนกรุงเทพที่เดินเที่ยวเล่นชมเมืองไปเรื่อยๆในวันนึง

4.2 หญิงสาวคนนี้เป็นคนเชื้อชาติอะไร

4.3 เราไม่รู้ว่าหนังต้องการจะชมหรือด่ากรุงเทพ คือถ้าหากจะบอกว่าหนังด่ากรุงเทพ เราก็ไม่แน่ใจ คือตัวละครมีการเดินชนคน และมีการนั่งพักในจุดที่น่าจะนั่งไม่สบายนัก แต่เราก็รู้สึกว่าตัวละครไม่ได้แสดงอาการ “ไม่สบาย” หรือร้อนใจ หรืออึดอัดอะไรออกมา

การที่เราหาข้อสรุปอะไรไม่ได้เลยจากหนังส่วนที่สาม เป็นสิ่งที่เราชอบมาก เพราะเราว่านี่แหละคือประสบการณ์จริงๆของมนุษย์ที่มีต่อโลกล่ะมั้ง คือประสบการณ์จริงบางทีมันสรุปออกมาเป็นข้อคิดอะไรง่ายๆไม่ได้หรอก (นึกถึงในหนัง BLADE RUNNER 2049 ที่บอกว่า เราสามารถแยกแยะระหว่าง memory จริงกับ memory เทียม ได้ ด้วยการดูว่า memory นั้นมัน messy มั้ย คือถ้า memory นั้นมัน messy มันก็คือ memory จริง)


จริงๆหนังส่วนนี้อาจจะมีสารที่ต้องการสื่อก็ได้นะ แต่เราอาจจะตีความไม่ออกเองก็ได้ แต่เราก็ชอบหนังส่วนนี้มากๆอยู่ดี

SAD BEAUTY

$
0
0
SAD BEAUTY เพื่อนฉัน ฝันสลาย (2018, Bongkoch Bencharongkul, A+30)

ชอบองก์สองของหนังอย่างสุดๆ แต่เหมือนองก์สามของหนังมันหาโทนหรืออารมณ์ที่เหมาะสมไม่เจอ พอดูจบแล้วก็เลยงงๆเล็กน้อย คือไม่ใช่งงว่าเกิดอะไรขึ้นในหนัง แต่เหมือนงงว่าเราจูนอารมณ์ไม่ถูกในองก์สามของหนัง เหมือนหนังเล่าเรื่องได้หมด แต่เรางงว่าเราควรทำอารมณ์อะไรยังไงตอนดูองก์สาม 555

แต่ก็ชอบหนังมากอยู่ดีนะ ชอบตัวละครนางเอกสองคนแบบนี้มากๆ คือถ้าหนังหาวิธีลงได้ดีกว่านี้ มันก็คงจะกลายเป็น “หนังสองสาวระดับคลาสสิค” แบบ THE DREAMLIFE OF ANGELS (1998, Erick Zonca), BAISE-MOI, TO BE TWENTY (1978, Fernando Di Leo, Italy), MESSIDOR (1979, Alain Tanner, Switzerland), etc. ได้เลย


สรุปว่าเราชอบ “การถ่ายภาพ” และ “การแสดง” มากๆ แต่เราว่าบทภาพยนตร์มีปัญหาในองก์สามน่ะ ก็เลยเสียดายนิดนึง มันเหมือนกับว่าองก์แรกของหนังมันงดงาม, องก์สองของหนังมันมหัศจรรย์ แต่องก์สามของหนังมันได้แค่ “เล่าว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง” น่ะ แต่มันไม่สามารถสร้าง magic moment ได้มากไปกว่าการให้ข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับชีวิตตัวละคร

I, TONYA (2017, Craig Gillespie, A+30)

$
0
0
I, TONYA (2017, Craig Gillespie, A+30)

คิดแบบตลกๆฮาๆว่า ถ้าหากเราเป็นครูสอนวิชาพุทธศาสนา เราจะฉายหนังเรื่อง I, TONYA ควบกับ TO DIE FOR (1995, Gus Van Sant) และ THE POSITIVELY TRUE ADVENTURES OF THE ALLEGED TEXAS CHEERLEADER-MURDERING MOM (1993, Michael Ritchie) เพื่อสอนเรื่อง “ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ชีวิตเราก็เท่านี้” 555

ดู I, TONYA แล้วคิดถึง TO DIE FOR กับ CHEERLEADER-MURDERING MOM มากๆ เพราะหนังทั้งสามเรื่องสร้างจากคดีอาชญากรรมจริงเหมือนกัน และเกี่ยวกับหญิงสาวที่มี ambition สูงเหมือนกัน โดย TO DIE FOR สร้างจากเรื่องจริงของ Pamela Smart ผู้หญิงที่มีสามีแล้ว และมีชู้เป็นชายหนุ่มอายุ 15 ปี และเธอบอกกับชายหนุ่มอายุ 15 ปีว่าเขาจะต้องไปฆ่าสามีของเธอ ไม่งั้นเธอจะไม่ยอมมีเซ็กส์กับเขาอีก (Smart was later accused of seducing 15-year-old Flynn and threatening to stop having sex with him unless he killed her husband.) ส่วนหนังของ Holly Hunterนั้นสร้างจากคดีจริงของแม่ที่มีลูกสาวเป็นเชียร์ลีดเดอร์ในโรงเรียนไฮสกูล และแม่คนนี้วางแผนจะฆ่าเชียร์ลีดเดอร์ที่เป็นคู่แข่งของลูกสาว และฆ่าแม่ของเชียร์ลีดเดอร์คนนั้นด้วย โดยโครงสร้างของ MURDERING MOM นั้นคล้ายกับ I, TONYA มากๆ เพราะมีฉากตัวละครมาให้สัมภาษณ์เป็นระยะๆ เหมือนกัน แต่มันสนุกว่า I, TONYA ตรงที่ MURDERING MOM มีตัวละครฝ่ายเหยื่อมาให้สัมภาษณ์อย่างน่าตบด้วย (ถ้าเราจำไม่ผิด เรารู้สึกว่าทั้งฝ่ายอาชญากรและเหยื่อในหนังเรื่องนี้น่าตบทั้งคู่)

ถ้าเทียบกันแล้ว เราชอบ I, TONYA น้อยกว่าอีกสองเรื่องนี้นะ แต่ไม่ใช่เป็นเพราะหนังไม่ดี หรือผู้กำกับมีฝีมือด้อยกว่านะ แต่เป็นเพราะ “ข้อจำกัดในการสร้าง” น่ะ คือ I, TONYA มันสร้างจากคดีที่เราไม่รู้ว่าทอนย่าเป็นคนบงการจริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้นหนังก็เลยไม่สามารถสร้างตัวละคร “ทอนย่า จอมบงการผู้ชั่วร้าย” ขึ้นมาได้ และหนังก็เลยต้องสร้างจากปากคำของผู้เกี่ยวข้องในคดี และปล่อยให้คนดูตัดสินใจเอาเองว่า ใครบ้างที่พูดจริง หรือความจริงเป็นยังไง ทอนย่าอาจจะไม่ใช่คนบงการจริงๆอย่างที่ตัวเองบอกก็ได้ คือเราว่าหนังเรื่องนี้ทำออกมาดีมากแล้วน่ะ แต่เราจะ “ไม่กล้ารู้สึกอะไรมากนัก” กับตัวละครแต่ละตัว เพราะเราไม่รู้ว่าความจริงเป็นยังไง เราไม่รู้ว่าแม่ทอนย่าเลวจริงหรือเปล่า เราไม่รู้ว่าทอนย่าเป็นคนบงการหรือไม่ใช่คนบงการ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มาก แต่ไม่กล้าลงความเห็นอะไรใดๆกับตัวละครแต่ละตัวในหนัง ซึ่งมันจะต่างจาก TO DIE FOR ที่มันลงลึกถึงด้านมืดในใจนางเอกจริงๆ เพราะนางเอกมันเป็นจอมบงการจริง  ๆ

ถ้าหากไม่นับคดีที่เราไม่รู้ว่าความจริงเป็นยังไงแล้ว I, TONYA ก็มีจุดที่สะเทือนใจเรามากๆอยู่นะ นั่นก็คือการที่ทอนย่าได้ที่ 4 ในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก เสร็จแล้วก็ต้องกลับมาทำงานเป็นสาวเสิร์ฟน่ะ คือเรานึกไม่ถึงมาก่อนว่า นักกีฬาอเมริกันที่ได้ถึงที่ 4 ในโอลิมปิก พอกลับมาถึงบ้านแล้วก็ต้องทำงานเป็นสาวเสิร์ฟในร้านอาหารธรรมดาแบบนี้ ชีวิตคนเรานี่มันหนักมากจริงๆ


แต่ถ้าหากทอนย่าไม่ใช่คนบงการอย่างที่เธอกล่าวอ้างจริงๆ หนังเรื่องนี้ก็เหมาะเป็นหนังที่คนโสดอย่างเราจะดูในวันวาเลนไทน์มากๆเลยนะ เพราะหนังเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “มีผัวผิดแล้วมันซวยแค่ไหน” คือถ้าหากทอนย่าหาผัวไม่ได้ และไม่ได้พัวพันกับผู้ชายโง่ๆกลุ่มนี้ คดีนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น และป่านนี้เธออาจจะเป็นแชมป์โอลิมปิก เป็นดาวค้างฟ้าไปแล้วก็ได้ 555

MALILA: THE FAREWELL FLOWER (2017, Anucha Boonyawatana, A+30)

$
0
0
MALILA: THE FAREWELL FLOWER (2017, Anucha Boonyawatana, A+30)

1.ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆนะ แต่ชอบ “อนธการ” มากกว่า 555 ซึ่งอันนี้ไม่เกี่ยวกับว่าหนังเรื่องไหนดีกว่ากัน แต่เราว่าน่าจะเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตและสภาพจิตของตัวเราเองมากกว่า คือเราว่าสาเหตุที่เราชอบอนธการมากกว่ามะลิลา อาจจะเป็นสาเหตุเดียวกับที่เราชอบ MOONLIGHT (2016, Barry Jenkins) มากกว่า CALL ME BY YOUR NAME ก็ได้ นั่นก็คือดวงจิตของเรามี “ความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชัง” เป็นเจ้าเรือน ดวงจิตของเราไม่ได้มี “ความรัก ถวิลหา อาลัย” เป็นเจ้าเรือนน่ะ และเมื่อดวงจิตของเราเป็นแบบนี้ เราก็ย่อมอินและถูกดึงดูดเข้าสู่อารมณ์ในหนังแบบอนธการและ MOONLIGHT มากกว่ามะลิลาและ CALL ME BY YOUR NAME

2. MALILA นี่ต้องเป็นหนึ่งในหนังไทยที่เราชอบที่สุดในปีนี้อย่างแน่นอน แต่เราก็ยอมรับแหละว่า wavelength ของมันยังไม่ตรงกับเราแบบ 100% เต็มน่ะ คือถ้ามันจะตรงกับเราแบบ 100% เต็ม มันต้องผสมกับหนังเรื่อง SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley) แล้วออกมายาวสัก 3 ชั่วโมง แล้วมันอาจจะกลายเป็นหนังที่เราชอบมากกว่าอนธการ และอาจจะเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดตลอดกาลไปเลย

แต่อันนี้ไม่ใช่จะบอกว่า MALILA มันมีข้อบกพร่องนะ เราแค่จะเขียนว่า “รสนิยมของเรา” เป็นแบบไหนเท่านั้น คือมันมีหลายๆฉากใน MALILA ที่ทำให้นึกถึง SLEEP HAS HER HOUSE น่ะ โดยเฉพาะในครึ่งหลังของ MALILAนั่นก็คือฉากท้องฟ้าและป่า ที่โผล่มาในหนังประมาณครั้งละ 5-10 วินาที และพอเราเห็นฉากแบบนี้ เราก็เลยจินตนาการว่า ถ้าหากฉากแบบนี้มันยาว 5-10 นาทีแบบใน SLEEP HAS HER HOUSE มันคงจะตรงกับรสนิยมของเราแบบสุดๆไปเลย คือเราอยากจ้องพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า 30 นาทีรวดไปเลย หรือจ้องฟ้าร้องฟ้าผ่า 15 นาทีรวดไปเลย แบบใน SLEEP HAS HER HOUSE อะไรแบบนี้

3.คือเรายอมรับเลยว่า เรา “มีอารมณ์” กับครึ่งแรกของ MALILA มากกว่าครึ่งหลังน่ะ 555 เราชอบเลิฟซีนในหนังมากๆ อันนี้แหละที่ตรงกับรสนิยมของเราที่สุด มากกว่าที่ผู้กำกับคนใดเคยทำได้มาก่อน คือถ้าหากให้เลือกเลิฟซีนในหนังที่เราชอบที่สุดในชีวิต เราว่าเลิฟซีนใน MALILA น่าจะติดอยู่ใน 10 อันดับแรกที่เราชอบที่สุดในชีวิต

ส่วนครึ่งหลังของหนังนั้น เราก็ชอบมากนะ แต่ถ้าถามว่าเรารู้สึก spiritual กับมันแบบสุดๆมั้ย เราก็ไม่ได้รู้สึกกับมันถึงขั้นนั้นนะ เหมือนถ้าหากเทียบกับหนังทั้งหมดที่เราเคยดูมาในชีวิต เราก็รู้สึกกับพลัง spiritual ใน MALILA ประมาณ 9/10 มั้ง ไม่ถึง 10/10 แต่นั่นเป็นเพราะตัวเราเองนะ มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่าจะพ้องกับหนังเรื่องไหนน่ะ และเราซึ่งไม่เคยมีแฟนมาก่อน ก็ย่อมไม่อินสุดๆกับหนังในแง่นี้อย่างแน่นอน และเราก็ไม่เคยรู้สึกอาลัยอาวรณ์อย่างรุนแรงกับการเสียชีวิตของใครมาก่อนด้วยมั้ง ไม่รู้เป็นเพราะว่าในอดีตเราเคยคิดจะฆ่าตัวตายด้วยหรือเปล่า เราก็เลย relate กับ “ความตาย” ในอีกแบบนึงน่ะ คือประเด็นที่ว่า “สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง” มันไม่ใช่ประเด็นที่ resonate กับเรามากนักน่ะ

 ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังอย่าง DIARY OF A COUNTRY PRIEST (1951, Robert Bresson) ที่เราอาจจะรู้สึก spiritual กับมันอย่างรุนแรงสุดๆ คือ DIARY OF A COUNTRY PRIESTมันก็พูดถึง “นักบวช” เหมือนกัน แต่นักบวชหนุ่มคนนี้ไม่ได้มีปมอดีตเกี่ยวกับคนรักหรือการฆ่าคนอะไรแต่อย่างใด แต่เหมือนเขามี “ความอ้างว้างทางจิตวิญญาณ” ที่เราอธิบายไม่ถูกน่ะ มันไม่เกี่ยวกับคนรักหรือความรัก แต่มันเกี่ยวกับ “ความเศร้าของโลกที่เราไม่อาจเยียวยาได้” เราก็เลยอินกับตัวละครในแง่นี้มั้ง

4.นอกจาก “ประสบการณ์ชีวิตของตัวเราเอง” แล้ว อีกสาเหตุที่เราไม่ได้รู้สึก spiritual กับ MALILA แบบสุดๆ คือเรื่องของรสนิยมส่วนตัวด้วยแหละ คือพอดู MALILA เราก็พบว่า “การจ้องธรรมชาติ” นี่แหละ มักจะทำให้เรารู้สึก spiritual

คือนอกจากเลิฟซีนแล้ว มันก็มีอีกสองซีนใน MALILA ที่เราชอบอย่างสุดๆน่ะ นั่นก็คือ

4.1 ซีนในภาพประกอบนี้ ซึ่งเป็นซีนที่ถ่ายคู่รัก แต่กล้องตั้งอยู่หลังใบหญ้า และเราจะเห็นใบหญ้าแกว่งไกวไปมาในฉากนี้

คือกราบฉากนี้มาก คือเรารู้สึกรุนแรงมากกับสายลมที่ทำให้ใบหญ้าแกว่งไกวในฉากนี้ ซึ่งจริงๆแล้วฉากนี้ไม่ต้องถ่ายแบบนี้ก็ได้ คือถ้าตั้งกล้องอีกแบบนึง มันก็จะถ่ายเห็นคู่รัก เล่าเนื้อหาในฉากนี้ได้ครบถ้วนเหมือนเดิม ใบหญ้าและสายลมไม่ได้มีความจำเป็นต่อ “การเล่าเรื่อง” ในฉากนี้แม้แต่น้อย แต่ปรากฏว่าใบหญ้าและสายลมนี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงกับฉากนี้มากๆ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไร แต่คงเป็นรสนิยมส่วนตัวที่อธิบายไม่ได้ของเรานี่แหละมั้ง ที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรง หรือรู้สึก spiritual หรือ sublime อะไรบางอย่างเมื่อเห็นอะไรแบบนี้

4.2 ฉากถ่ายพระเคี้ยวอาหาร แล้วแสงแดดมีการเปลี่ยนแปลง ระดับความสว่างความมืดเปลี่ยนไปในขณะที่พระเคี้ยวอาหาร

คือเราชอบ “ความเปลี่ยนแปลงของแสงแดด” ในฉากนี้มากน่ะ และถ้าตาเราไม่ฝาด มันก็มีฉากอื่นๆอีกเหมือนกันที่ระดับความสว่างของแสงแดดมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในระหว่างที่ฉากดำเนินไป แต่อาจจะไม่ชัดเจนเหมือนฉากพระเคี้ยวอาหาร

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า “ความเปลี่ยนแปลงของแสงแดด” ในฉากพระเคี้ยวอาหารและฉากอื่นๆ เกิดจาก “ความจงใจ” ของผู้กำกับมากน้อยแค่ไหน หรือเกิดจากการปล่อยไหลไปตามธรรมชาติ แต่ไม่ว่ามันจะเกิดจากธรรมชาติหรือความจงใจ เราก็พบว่าอะไรแบบนี้นี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงสุดๆ

คือพอเราพบว่า เรารู้สึกรุนแรงสุดๆกับ “สายลม” และ “แสงแดด” ในสองฉากข้างต้นนี้แล้ว แต่เราไม่ได้รู้สึก spiritual แบบสิบเต็มกับตัวละคร, ปมในใจของตัวละคร หรือเนื้อเรื่อง เราก็เลยจินตนาการต่อได้เลยว่า หนังเรื่องนี้มันจะกลายเป็นหนังที่เข้าทางเราแบบ 100% เต็ม ถ้ามันถ่ายธรรมชาติแบบเนิ่นนานอย่าง SLEEP HAS HER HOUSE น่ะ

คือจริงๆแล้วเราก็ชอบ SLEEP HAS HER HOUSE ในระดับพอๆกับ MALILA นะ นั่นก็คือชอบในระดับ ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF THE YEAR แต่ไม่ได้ชอบในระดับ ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME น่ะ แต่เราจินตนาการว่า ถ้าหากเอาหนังสองเรื่องนี้มาผสมเข้าด้วยกัน มันจะเกิด ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME ขึ้นมา เหมือนกับหนังของ Marguerite Duras และ Chantal Akerman น่ะ คือเราว่า SLEEP HAS HER HOUSE มันเป็น “นามธรรม” เกินไปหน่อยสำหรับเรา มันเป็นการจ้องลมฟ้าอากาศแบบเนิ่นนาน และไม่มีเนื้อเรื่องเป็นก้อนแข็งๆอะไรให้เรายึดจับได้เลย มันมีแต่ลมฟ้าอากาศตลอดทั้งเรื่องจริงๆ ซึ่งเราก็รู้สึก spiritual กับมันมากๆ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้น “ที่สุดในชีวิต” อะไรแบบนั้น ส่วน MALILA นั้น มันมีเนื้อเรื่องเป็นก้อนแข็งๆให้เรายึดจับได้สบาย แต่เราดันไม่ fit in กับเนื้อเรื่องของมันแบบเต็มที่ (เพราะประสบการณ์ชีวิตและรสนิยมส่วนตัวของเรา) แต่เนื้อเรื่องครึ่งหลังของมันใช้ setting หรือ environment ที่ทำให้นึกถึง SLEEP HAS HER HOUSE มากๆ เราก็เลยจินตนาการว่า ถ้าหากเอาสองเรื่องนี้มาผสมเข้าด้วยกัน มันจะเกิดอะไรที่เข้ากับรสนิยมของเราพอดี เหมือนกับว่า SLEEP HAS HER HOUSE มี “น้ำ” เยอะไป ส่วน MALILA ก็ “แห้ง” เกินไป แต่ถ้าหากเอามาผสมเข้าด้วยกัน มันจะเกิดเป็น “แกงขลุกขลิก” ที่เราต้องการ เหมือนหนังของ Duras และ Akerman ที่มีเนื้อเรื่องบางๆให้ยึดเกาะ แต่ก็ให้ความสำคัญกับ “บรรยากาศ” อย่างรุนแรงมากๆ

เรื่องรสนิยมส่วนตัวของเราเองนี้ ในแง่นึงมันก็ทำให้นึกถึงตัวละครในเรื่องด้วยแหละ คือเราว่าคนแต่ละคนจะมีวิธีการที่เฉพาะและเหมาะกับตัวเองในการ “ยกระดับสภาพจิตใจ” ของตัวเองน่ะ คือพิชใช้ “การทำบายศรี” เพื่อสร้างความสุขทางใจให้แก่ตัวเอง ส่วน “หลวงพี่ผู้พัน” ก็ใช้การทำอสุภกรรมฐาน ในการยกระดับจิตใจตัวเอง คือคนแต่ละคนจะมีวิธีการที่เหมาะกับตัวเองแตกต่างกันไปน่ะ และเราก็ค้นพบว่า การจ้องธรรมชาติหรือ “บรรยากาศ” แบบใน SLEEP HAS HER HOUSEหรือหนังของ Teeranit Siangsanoh นี่แหละ คือการทำกรรมฐานที่เหมาะกับตัวเราเอง นี่แหละคือวิธีการสร้างความรู้สึก spiritual ของเรา เพราะฉะนั้นการที่เราไม่ได้รู้สึก spiritiual สุดๆกับหนังเรื่องนี้จึงไม่ใช่ข้อบกพร่องของหนังแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องของประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันของแต่ละคน และต่อม spiritual ของแต่ละคนที่จะถูกกระตุ้นได้ด้วยอะไรที่แตกต่างกัน

5.เหมือนจะพูดถึงแต่ประเด็นที่ว่า “ทำไมหนังเรื่องนี้ถึงไม่ตรงกับรสนิยมของเราแบบสุดๆ” นะ 555 เพราะเราต้องการบันทึกความรู้สึกของเราเป็นหลักน่ะ และถ้าเราไม่บันทึกสิ่งนี้ไว้ ก็จะไม่มีคนอื่นมาเขียนแทนเราได้ แล้วเราก็กลัวว่าเราจะลืมมันไปในอนาคต เราก็เลยต้องรีบบันทึกไว้เอง ส่วนความดีความงามของหนังเรื่องนี้นั้น เพื่อนๆหลายคนได้เขียนถึงไปแล้ว และเราก็เห็นด้วยอย่างสุดๆ และเราก็แชร์มาหน้าวอลล์เราเยอะแล้ว เพราะเราขี้เกียจเขียนเอง 555

ลิสต์ของสิ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้ แบบคร่าวๆ

5.1  ชอบที่ตัวละครนำทั้งสามตัวมีอดีตที่เจ็บปวด ทั้งพิชที่มีแม่ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบ และเขาก็เคยผิดหวังจากเชนที่ไม่ยอมหนีตามเขาไป, เชนเองก็ติดเหล้า, ลูกตาย, เมียทิ้ง ส่วนหลวงพี่ผู้พันก็มีอดีตบางอย่างคอยหลอกหลอน

ชอบที่พิชกับหลวงพี่ผู้พัน “ป่วยทั้งกายและมีบาดแผลทางใจ” ด้วย คือนอกจากตัวละครสองตัวนี้จะมีอดีตที่เจ็บปวดแล้ว พิชก็ป่วยเป็นมะเร็ง ส่วนหลวงพี่ผู้พันก็ดูเหมือนจะมีสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวยให้เขาสามารถทำตามใจต้องการได้

5.2 ชอบที่หนังเจาะลึกเข้าไปใน “อารมณ์ความรู้สึก” ของตัวละครเลยตั้งแต่ครึ่งแรก คือเราว่าถ้าหากเป็นหนังทั่วไป มันจะเน้น “เล่าเรื่อง” น่ะ มันจะเน้นแสดงให้เห็นว่า “ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร” แต่เราว่าหนังเรื่องนี้เน้นสะท้อน “อารมณ์ความรู้สึก” ของตัวละคร มากกว่า “เหตุการณ์” ตั้งแต่ครึ่งเรื่องแรกเลยน่ะ ซึ่งมันเป็นอะไรที่ยาก แต่หนังเรื่องนี้ทำได้สำเร็จอย่างงดงาม

5.3 การจัดแสงของหนังเรื่องนี้หนักมาก เราว่ามันจัดแสงงามมากทุกฉาก ซึ่งต้องชมทั้งผู้กำกับ, ตากล้อง และคนทำ post production ด้วยมั้ง

การจัดแสงที่ติดตาเรามากที่สุด คือ “แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบขนรักแร้ของเวียร์” 555 คือมันมีฉากที่เวียร์นอนอยู่ในบ้าน หลังจากได้รับพวงมาลัยจากพิชน่ะ แล้วมันมีฉากที่แสงอาทิตย์ตกกระทบขนรักแร้ของเขาแล้วเกิดเป็นอะไรที่งดงามติดตาตรึงใจมากๆ 555 ไม่รู้ฉากนั้นจัดแสงกันได้ยังไง มันถึงตกกระทบขนรักแร้ได้งามแบบนี้ หรือเป็นฝีมือของ colorist ที่ทำให้มันออกมาเป็นแบบนี้

5.4 เราชอบที่หนังใส่ใจในรายละเอียดดีมากด้วยแหละ อย่างเช่นฉากทำอสุภกรรมฐาน แล้วเราจะเห็นว่าจีวรพระทั้งสองรูปมี “รอยเหงื่อ” อยู่กลางหลังน่ะ ซึ่งเราว่ามันจริงดี คือพระที่อยู่ในป่าแบบนี้ ก็คงต้องมีเหงื่อออกแบบนี้นี่แหละ

5.5 ชอบมากๆที่หนังพูดถึงศิลปะการทำบายศรี ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน และชอบมากๆที่หนังพูดถึง “บายศรี” ในฐานะสิ่งประดิษฐ์อันงดงามที่มีอายุอันแสนสั้น คือจุดนี้ทำให้นึกถึงหนังสารคดีเรื่อง WHEEL OF TIME (2003, Werner Herzog) มากๆ เพราะ WHEEL OF TIME เล่าถึงประเพณีของวัดทิเบต ที่ต้องสร้างศิลปะที่งดงามมากๆจากทราย แล้วพอสร้างเสร็จ ชื่นชมมันได้แป๊บนึง ก็ต้องทำลายมันไป เพื่อสอนเรื่อง “อนิจจัง”

5.6 ชอบมากๆที่หนังพูดถึงกิจวัตรบางอย่างของพระด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแทบไม่เคยเห็นในหนังเรื่องอื่นๆมาก่อนเช่นกัน อย่างเช่นการมองเส้นลายมือในตอนเช้ามืด เพื่อใช้ตัดสินใจว่าควรเริ่มออกบิณฑบาตหรือยัง, การปักกลดธุดงค์, การนับคำเคี้ยวอาหาร, และที่ชอบสุดๆก็คือการทำอสุภกรรมฐานนี่แหละ เป็นอะไรที่หนักมากๆ และน่าสนใจมากๆ ชอบมากๆที่หนังหยิบเรื่องนี้มานำเสนอ

6.ชอบความคล้องจองกันของครึ่งแรกกับครึ่งหลังด้วย อย่างเช่น

6.1 มีฉากกอดศพลูกในครึ่งแรก และครึ่งหลังก็มีตัวละครกอดศพเหมือนกัน
6.2 มีการพูดถึง “ความรุนแรงในสังคม” ทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง โดยครึ่งแรกเป็นเรื่องการทรมานผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบ ส่วนครึ่งหลังคือการสู้รบกันในป่า
6.3 มีฉากตัวละครอ้วกทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง
6.4 มีฉากตัวละครช่วยเหลือคนป่วยทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง
6.5 ตัวละครแสวงหา “สถานที่แห่งความสุข” สำหรับตัวเอง ทั้งความสุขทางโลกย์ในครึ่งแรกและความสุขทางธรรมในครึ่งหลัง โดยสถานที่นั้นในครึ่งแรกเป็นเหมือนเพิงกลางทุ่งสำหรับคู่รัก ส่วนสถานที่นั้นในครึ่งหลังคือป่าที่มีศพ
6.6 มีการลอยน้ำทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง                                          

7.สรุปว่าเป็นหนังที่ชอบสุดๆน่ะแหละ แต่ยอมรับว่าเราติดใจ “รสกาม” มากกว่า “รสพระธรรม” ในหนังเรื่องนี้ 555 คือผู้กำกับคนนี้มี taste เรื่องผู้ชายใกล้เคียงกับเรามั้ง รสกาม” ที่ได้จากหนังเรื่องนี้หรือหนังอย่าง EROTIC FRAGMENT NO. 1, 2, 3 (2011, Anucha Boonyawatana) ก็เลยเข้าปากเราอย่างสุดๆ แทบไม่มีผู้กำกับคนไหนจะแซงหน้าในด้านนี้ได้ ส่วนรสพระธรรมในหนังเรื่องนี้นั้น เราก็ “admire” มันอย่างสุดๆนะ ชอบที่มันเป็นตัวของตัวเองมากๆ ทั้งลึกซึ้งมากๆและแตกต่างจากหนังหลายๆเรื่องที่เราเคยดูมา เพียงแต่ว่าต่อม spiritual ของเราอาจจะไม่ตรงกับหนังเรื่องนี้ซะทีเดียวน่ะ 555

                                                                                  

PADMAAVAT

$
0
0
PADMAAVAT (2018, Sanjay Leela Bhansali, India, 164min, A+25)

หนังถ่ายสวย ตระการตาตลอดทั้งเรื่อง เหมือนหนังเรื่องอื่นๆของผู้กำกับคนนี้ แต่พอดูไปนานๆแล้วก็เบื่อได้เหมือนกันนะ ถ้าหากมันมีแต่การถ่ายสวยอย่างเดียว

ประเด็นที่สนใจในหนังเรื่องนี้

1.อยากรู้ว่า Alauddin เอาชนะกองทัพมองโกลได้ยังไง คือหนังไม่ได้ “บอก” เลยว่าเขาใช้วิธีการไหนในการเอาชนะ

2.ขำที่ Alauddin พยายามจะตั้งตัวเป็น “อเล็กซานเดอร์มหาราช” คนที่สอง เพราะ Alexander เป็น bisexual และ Alauddin ก็ถูก portray ในหนังเรื่องนี้ว่าเหมือนจะเป็น bisexual ด้วย เพราะนักฆ่าคู่ใจของ Alauddin ดูเหมือนจะเป็นเกย์ และพูดจาตัดพ้อว่าตัวเองคงสู้ราชินีปัทมาวตีไม่ได้

3.หนังขึ้นคำเตือนไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลยว่า “หนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการจะสนับสนุนพิธีสตี” และพอดูจบแล้วก็เข้าใจเลยว่า ทำไมมันต้องขึ้นคำเตือนอย่างนี้ เพราะไม่งั้นเราต้องเข้าใจผิดแน่ๆ

MONSTER HUNT 2 (2018, Raman Hui, China, A+10)


หนังไม่มีอะไรเลย เป็นหนังน่ารักๆ ผู้ชายหล่อๆ ดูเพลินๆ จบ

FAVOURITE DOCUMENTARIES 2017

$
0
0
FAVOURITE DOCUMENTARIES 2017

The list is long, becaue it includes both old and new documentaries, both short ones and long ones, and both Thai and foreign ones.
                    
1.THE WAR SHOW (2016, Andreas Dalsgaard, Obaidah Zytoon, Syria/Denmark/Germany/Finland)

2.SELF AND OTHERS (2000, Makoto Sato, Japan)

3.DEPTH TWO (2016, Ognjen Glanovic, Serbia)

4.SEVEN UP! (1964, Paul Almond, UK) + 7 PLUS SEVEN (1970, Michael Apted) + 21 UP (1977) + 28 UP (1984) + 49 UP (2005) + 56 UP (2012)

5.RAILWAY SLEEPERS (2016, Sompot Chidgasornpongse)

6.WORD IS OUT (1977, Nancy Adair, Rob Epstein, Andrew Brown, 124min)


7.THE SOCIOLOGIST AND THE BEAR CUB (2016, Etienne Chaillou, Mathias Théry, France)

8.A157 (2015, Behrouz Nouranipour, Iran/Syria)

9.PIGS IN PIGSTY [หมูในเล้า] (2017, Kongphob Chairattanangkul, 16min)

10.LUMIÈRE! (2016, Thierry Frémaux, France)

11.MANUFACTURING CONSENT: NOAM CHOMSKY AND THE MEDIA (1992, Mark Achbar + Peter Wintonick, Australia/Canada/Finland/Norway, 167min)

12.THE RETURN TO HOMS (2013, Talal Derki, Syria/Germany)

13.FIRE AT SEA (2016, Gianfranco Rosi, Italy)

14.ABSENT WITHOUT LEAVE (2016, Lau Kek-huat, Malaysia)

15.A CREMATION DAY [กาลนาน] (2017, Napasin Samkaewcham, 15min)

16.SAWANKHALAI [สวรรคาลัย] (2017, Abhichon Rattanabhayon, 15min)

17.PHANTOM OF ILLUMINATION (2017, Wattanapume Laisuwanchai)    

18.DUM SPIRO SPERO (2016, Pero Kvesic, Croatia)       

19.LITTLE SONS (2016, Sai Whira Linn Khant, Yu Par Mo Mo, Nay Chi Myat Noe Wint, Myanmar, 24min)                                             

20.I AM NOT YOUR NEGRO (2016, Raoul Peck)

21.THE GRADUATION (2016, Claire Simon, France)

22.HUMAN FLOW (2017, Ai Weiwei, 140min)

23.14/10/2016 – THE DAY AFTER (2017, Teeraphan Ngowjeenanan, 127min)

24.ARKONG [อากง] (2016, Anuwat Amnajkasem, 23min)

25.SOUND OF TORTURE (2013, Keren Shayo, Israel, 58min)

26.YELLOWING (2016, Tze Woon Chan, Hong Kong)

27.FIVE BROKEN CAMERAS (2011, Emad Burnat, Guy Davidi, Palestine)

28.A.K.A. SERIAL KILLER (1969, Masao Adachi, Japan)

29.TALADNOI STORY (2017, Jiraporn Saelee, 39min)

30.SONG OF LAHORE (2015, Sharmeen Obaid-Chinoy, Andy Schocken, USA/Pakistan)

31.I’M YOUNG? I’M SILLY? I’M AMAZED! [ฉันเยาว์?ฉันเขลา? ฉันทึ่ง!] (2017, Thunska Pansittivorakul, 79min)

32.READY IN 5 MINUTES (2016, Swam Yaund Ni, Myanmar)

33.ALONG THE ONE WAY (2016, Bani Nasution, Indonesia)

34.JACKSON (2016, Maisie Crow)

35.SO FAR REAL (2016, Miriam Bajtala, Austria, 30min)

36.TWO WAY JESUS (2016, Jet Leyco, Philippines)

37.HOW FAR A BETTER LIFE [เรื่องเล่าจากดอนโจด] (2017, Chantana Tiprachartฉันทนา ทิพย์ประชาติ, 20min)

38.SAMANERA (2016, Tay Zar Win Htun, Zaw Win Htwe, Myanmar, 45min)

39.THE SOIL OF DREAMS (2016, Jeffrie Po, Philippines, 53min)

40.HOMME LESS (2014, Thomas Wirthensohn, Austria)

41.MOTION OF LIFE (2013, Vilayphong Phongsavanh, Laos, 17min)

42.THE END OF THE SPECIAL TIME WE WERE ALLOWED (2013, Shingo Ohta, Japan)

43.ONE SHOT – AN IMAGE & AN ATTITUDE (2015, Darren McCagh, Australia)

44.THE AMNESTY FOR THE DEFENDANTS IN THE CASE OF 6 OCTOBER [นิรโทษกรรมจำเลยคดี 6 ตุลา] (1978, 54min)

45.CITY OF JADE (2016, Midi Z, Myanmar)

46.SASIWIMOL [ศศิวิมล] (2017, Rewadee Ngamloon เรวดี งามลุน)

47.LIFE, ANIMATED (2016, Roger Ross Williams)

48.“PAI” YOU KNOW ME  A LITTLE GO (2017, Jamon Sonpednarin จามร ศรเพชรนรินทร์, 12min)

49.KING COBRA BATTALION [กองพันจงอางศึก] (1967, Thai Ministry of Defence กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม, 14min)

50.A ROYAL CREMATION FOR KING RAMA VI [พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว] (1926, News Bureau in Department of Royal Train กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง, 10min)

51.THE FORGER (2016, Pamela Druckerman, Samantha Stark, Alexandra Garcia)

52.LIFE IS A ROCK ‘N’ ROLL [LA VIDA ES UN ROCANROL] (2014, Inés Morales, Mexico, 10min)   

53.THE HORN (2016, Frederik Jan Depickere, Belgium/Canada, 50min)

54.FAKE (2016, Tatsuya Mori, Japan)

55.HOUSE OF Z (2016, Sandy Chronopoulos, USA/Canada)

56.WE ARE X (2016, Stephen Kijak, UK/USA/Japan)

57.MY BUDDHA IS PUNK (2015, Andreas Hartmann, Germany/Myanmar)

58.A WORLD NOT OURS (2012, Mahdi Fleifel, UK/Lebanon/Denmark/UAE)

59.THE LAST INSURRECTION (2016, Liao Jian-hua, Taiwan)


60.AR-YING SAEJANG [อาญิง แซ่จาง] (2016, Kiattisak Kingkaewเกียรติศักดิ์ กิ่งแก้ว, 28min)

FAVORITE THAI FILMS 2017

$
0
0
FAVORITE THAI FILMS 2017
(This list includes Thai “fiction” films which are longer than 30 minutes, and which I saw in 22 Dec 2016-31 Dec 2017. The list excludes Thai short films and Thai documentaries.)

1.ON THE FRINGE OF SOCIETY [ประชาชนนอก] (1981, Manop Udomdej)

2.GAEW [แก้ว] (1980, Piak Poster)

3.PLAYBOY (AND THE GANG OF CHERRY) (2017, Oompon Kitikamara)

4.UPSIDE, DOWN (2017, Natchanon Vana, Suwanchart Suwanjaroen, 37min)

5.CHTHONIA (2017, Sasipa Songsermsakuldee, 60min)

6.SIAM SQUARE (2017, Pairach Khumwan)

7.THE GIFT: RAINCLOUDS ON THE MOUNTAINS (2017, Chookiat Sakveerakul)

8.LIVE LIKE MISSING (2015, Karnchanit Posawat, 60min)

9.DIE TOMORROW (2017, Nawapol Thamrongrattanarit)

10.HOTEL ANGEL [เทพธิดาโรงแรม] (1974, Chatrichalerm Yukol)

11.#BKKY (2016, Nontawat Numbenchapol)

12.BAD GENIUS [ฉลาดเกมส์โกง] (2017, Nattawut Poonpiriya)

13.BANK-ROBBERS [ต้องปล้น] (1990, Choochai Ong-ardchai)     

14.THE CUPID LAUGHS [กามเทพหัวเราะ] (1978, Sompong Treebuppa)      

15.IF YOU STILL LOVE [ถ้าเธอยังมีรัก] (1981, Chatrichalerm Yukol)

16.THE BOAT HOUSE [เรือนแพ] (1961, Prince Bhanubandhu Yugala + Neramit  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล และเนรมิต)

17.SONG FROM PHATTHALUNG [มหาลัยวัวชน] (2017, Boonsong Nakphoo)

18.MEMOIR ฮัลโหล จำเราได้ไหม (2017, Rapeepimol Chaiyasena)

19.THAIBAN THE SERIES [ไทบ้าน เดอะซีรีส์] (2017, Surasak Pongson)

20.HELLO COUNTRYSIDE [สวัสดีบ้านนอก] (1999, Tanit Jitnukul)

21.SEA OF LOVE [ทะเลรัก] (1953, Khun Vijitmatra ขุนวิจิตรมาตรา)

22.SCHOOL TALES [เรื่องผีมีอยู่ว่า] (2017, Pass Patthanakumjon)

23.THE DEVIL [ปีศาจ] (1980, Supan Buranapim)

24.UNSOUND (2017, Nathan Homsup, 34min)

25.MAH [มาห์] (1991, Lertrit Jansanjai เลิศฤทธิ์ จั่นสัญจัย)

26.A LOVE SONG FOR YOU [เพลงรักเพื่อเธอ](1978, Rerngsiri Limaksorn)

27.A NEW LIFE [จนกว่าจะถึง...วันนั้น] (2017, Rujipas Boonprakong, 44min)

28.DRIVER [คนขับรถ] (2017, Thitipan Raksasat)

29.IN THE FLESH (2017, Kong Pahurak)


30.35 KARAT (1979, Rerngsiri Limaksorn)

FREEZE AND LADY BIRD

$
0
0
FREEZE (2018, Wachara Kanha, 28min, A+30)
พรุ่งนี้ยังมีอีกไหม

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

1.หนังเรื่องนี้มีการนำ “กล่องกระจก” หลายกล่องไปวางไว้ตามพื้นที่ต่างๆ ตอนที่เราดูเราไม่รู้ว่ามันคืออะไร ก็เลยตีความมันไปต่างๆนานา พอดูจบแล้วถึงรู้ว่ามันคือ “ภูเขาน้ำแข็ง” 555 แต่เราก็ขอจดบันทึกความรู้สึกขณะที่ดูไว้ก็แล้วกันนะ ซึ่งเป็นความรู้สึกจากการที่ไม่รู้ว่า กล่องกระจกเหล่านี้มันคืออะไร

2.ถึงเราไม่เข้าใจกล่องกระจกและไม่เข้าใจหนังเรื่องนี้ เราก็ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆอยู่ดีนะ เพราะเราชอบความเป็นกวีของมันน่ะ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นในหนังหลายๆเรื่องของวชรอยู่แล้ว เราว่าวชรหรือไกด์สามารถร้อยเรียงซีนต่างๆเข้าด้วยกันได้อย่างงดงามราวบทกวีมากๆ และยิ่งหนังเรื่องนี้ได้ดนตรีประกอบที่เพราะมากๆมาช่วยเสริมด้วยแล้ว หนังก็เลยยิ่งงดงามในแบบบทกวีมากยิ่งขึ้นไปอีก

เราชอบจุดนี้มากที่สุดในหนังเลยนะ แต่ “หนังที่มีความ poeticสูงมาก” แบบนี้ ก็คือหนังที่เราบรรยายความงามของมันได้ยากที่สุดน่ะแหละ เพราะฉะนั้นถึงแม้จุดนี้จะเป็นจุดที่เราชอบที่สุดในหนัง เราก็คงไม่เสียเวลาบรรยายถึงมันแล้วกัน เพราะมันยากที่เราจะถ่ายทอดความงามของมันออกมาเป็นตัวอักษรได้

3.ถ้าหากเทียบกับหนังแนวกวีเรื่องอื่นๆของไกด์แล้ว สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า คราวนี้ไกด์ใช้ฉากในชนบทในการสร้างหนังแนวกวีน่ะ เพราะเราคิดว่าปกติแล้ว

3.1 ไกด์มักจะทำหนังแนวกวี โดยใช้ฉากในกรุงเทพและปริมณฑลเป็นหลัก
3.2 แต่เวลาไกด์ไปถ่ายหนังในต่างจังหวัด หนังเหล่านั้นมักจะเป็นหนังที่ชู “ประเด็น” เป็นหลัก คือหนังอาจจะมีความเป็นกวีอยู่บ้าง แต่ไม่ได้ล่องลอยมากเท่าหนังเรื่องนี้

หนังเรื่อง FREEZE ก็เลยแตกต่างจากหนังเรื่องอื่นๆของไกด์ในแง่นี้น่ะ

4.ตอนที่เรายังไม่รู้ว่ามันคือ “ภูเขาน้ำแข็ง” เราจะงงว่ากล่องกระจกนี่คืออะไร เราก็เลยตีความกล่องกระจกเหล่านี้ว่าอาจจะเป็น

4.1 การพาดพิงถึงรายการ “กระจกหกด้าน” 55555 เพราะหนังมันเหมือนนำพาเราไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในต่างจังหวัดด้วยแหละ เราก็เลยคิดเล่นๆฮาๆว่ามันพูดถึงรายการนี้หรือเปล่า

4.2 กล้องวงจรปิด หรือการถูกจับตามองจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลในทุกๆจุด

4.3 สิ่งที่อยู่ผิดที่ผิดทาง เพราะเราว่ากล่องกระจกในหนังเรื่องนี้มัน “สวย” แต่มัน “แข็งเกร็ง” และถึงแม้มันจะสวย แต่มันก็ดูเหมือนอยู่ผิดที่ผิดทางเมื่อมันไปปรากฏในหลายๆฉาก

เพราะฉะนั้นเมื่อ กล่องกระจก คือ “สิ่งที่อยู่ผิดที่ผิดทาง” ในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยโยงมันเข้ากับทหารด้วยแหละ เพราะทหารในหนังเรื่องนี้ และในชีวิตจริง ก็เป็น “สิ่งที่งดงาม หรือดี ถ้าหากมันไม่อยู่ผิดที่ผิดทาง” เหมือนกัน

พอดูจนจบ แล้วเราเข้าใจว่ากล่องกระจกในหนังคือ “ภูเขาน้ำแข็ง” เราก็คิดว่าการตีความของเราในข้อ 4.3 ก็มีจุดใกล้เคียงกับภูเขาน้ำแข็งเหมือนกันนะ เพราะภูเขาน้ำแข็งในหนังเรื่องนี้ ก็น่าจะหมายถึง “ความพยายามจะแช่แข็งประเทศของรัฐบาลเผด็จการทหาร” นั่นแหละ

5.ถ้าหากเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ เราก็คิดถึง

5.1 THE GARDEN (1990, Derek Jarman, UK) เพราะทั้ง FREEZE และ THE GARDEN มีคุณสมบัติสำคัญ 4 ข้อเหมือนกัน นั่นก็คือเป็นหนังที่มีประเด็นการเมือง, เป็นหนังแนวกวีที่งดงามมากๆ, อิงกับตำนานการสร้างโลก และใช้ทุนต่ำ คือไม่ต้องลงทุนใช้เงินจำนวนมากสร้างอะไรวิลิศมาหรา เพราะถ้าเราเข้าใจไม่ผิดDerek Jarman ก็เล่าตำนานการสร้างโลก+การเมืองเรื่องเกย์ โดยใช้สวนหลังบ้านของตัวเองในการถ่ายทำ THE GARDEN

5.2 หนังเรื่อง BANG (1995, Ash Baron-Cohen) เพราะพัฒนาการของตัวละครในเรื่องมีความคล้ายคลึงกัน จาก “การใส่เครื่องแบบ ใช้อำนาจในฐานะเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบ” ไปสู่ “ความเสียใจจาก abuse of power” และนำไปสู่ “การถอดเครื่องแบบ” ในที่สุด โดยใน BANG นั้น นางเอกเป็นสาวเอเชียในสหรัฐที่ถูกกดขี่ เธอก็เลยขโมยเครื่องแบบตำรวจมาใส่ และได้ enjoy การใช้อำนาจในฐานะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนจะเรียนรู้อะไรบางอย่างจากมัน และจบลงด้วยการที่นางเอกถอดเครื่องแบบคืนให้เจ้าหน้าที่ แล้วพูดว่า “I don’t need your uniform anymore.”

พัฒนาการของพระเอกใน FREEZE ก็มีความคล้ายคลึงกัน

5.3 ถ้าหากเทียบกับหนังของไกด์ด้วยกันเองแล้ว เรานึกถึง AWARENESS หรือ “ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ” (2014) ในแง่การใช้เสียงตัวละครในการ “ตัดพ้อ” โดยตัวละครที่เป็นเจ้าของเสียงจะมีสถานะเป็น “ผู้ถูกกดขี่” และเขาต้องการตัดพ้อเรื่องนี้ต่อขั้วการเมืองที่ตรงข้ามกับเขา

5.4 ถ้าหากเทียบกับหนังสั้นไทยด้วยกันเองแล้ว เราว่าหนังเรื่องนี้เหมาะฉายควบกับ SONG X (2017, Pathompon Tesprateep) และ BOYS ARE BACK IN TOWN (2015, Eakalak Maleetipawan) เพราะหนังทั้งสามเรื่องนี้เป็นหนังการเมือง, มีตัวละครหลักเป็นทหาร, มีความเป็นกวีสูงมาก และตีความยากเหมือนกัน

LADY BIRD (2017, Greta Gerwig, A+30)

1.ขอจดบันทึกไว้สั้นๆแล้วกันว่า เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงเวลาคิดถึงตัวละครสองตัวในหนังเรื่องนี้ โดยที่เราก็ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร นั่นก็คือตัวละคร “พี่สะใภ้” ของนางเอก กับตัวละครแม่ชี เราร้องไห้เวลาคิดถึงตัวละครพี่สะใภ้ของนางเอก เพราะดูภายนอกเหมือนเธอเป็นคนแรงๆ คล้ายๆจะเป็นสาว gothic แต่จริงๆแล้วภายในเธอก็อาจจะไม่ใช่คนแรงแบบ look ของเธอ เราซึ้งมากตอนที่เธอคุยกับนางเอกในทำนองที่ว่า “แม่ของเธอเป็นคนใจกว้างนะ เพราะครอบครัวของฉันยอมรับฉันไม่ได้ที่ฉันมีเซ็กส์ก่อนแต่งงาน แต่แม่ของเธอก็ยอมรับให้ฉันเข้ามาอยู่ในบ้าน”

คือเราชอบความสัมพันธ์แม่ผัว-ลูกสะใภ้ที่กลมเกลียวกันแบบนี้มากน่ะ สำหรับเราแล้วมันซึ้งเหมือนความสัมพันธ์ “แม่เลี้ยง-ลูกเลี้ยง” ที่รักกันมากๆในหนังเรื่อง HER LOVE BOILS BATHWATER (2016, Ryota Nakano)

คือมันเป็นจุดอ่อนอย่างรุนแรงของเราจริงๆน่ะแหละ คือเรามักจะไม่ชอบหนังที่ “แม่กับลูกสาวรักกัน” แต่เราจะเสียชีวิตกับหนังที่ “แม่ผัว-ลูกสะใภ้รักกัน” และ “แม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยงรักกัน”  ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร

2.ตัวละครแม่ชีก็ทำให้เราร้องไห้ เราซึ้งมากๆที่เธอให้อภัยนางเอก คือหนังเรื่องนี้มีวิธีการบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกว่า ตัวละครตัวนี้ไม่ได้มีอยู่เพียงเพื่อ “ทำหน้าที่เป็นคนดีในหนัง” แล้วก็จบกันไป แต่หนังทำให้เรารู้สึกว่า “ตัวละครตัวนี้ผ่านชีวิตอะไรมาเยอะมาก และประสบการณ์บางอย่างในชีวิตของตัวละครตัวนี้ที่หนังไม่ได้เล่า แต่ปล่อยให้คนดูจินตนาการเองนี่แหละ ที่หล่อหลอมให้ตัวละครตัวนี้เป็นคนแบบนี้ และทำให้เธอสามารถให้อภัยนางเอกได้”

3.อีกจุดที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือการพาดพิงถึง L’ENFANCE NUE (1968, Maurice Pialat) ผ่านทางชื่อวงดนตรีในเรื่อง เราว่าหนังสองเรื่องนี้มีจุดคล้ายกันด้วยแหละ นั่นก็คือการนำเสนอ “เศษเสี้ยวเล็กๆ” ในชีวิตวัยรุ่นของตัวละครตัวนึงไปเรื่อยๆ และมี moment ซึ้งๆที่ไม่ได้ถูกขยี้จนเกินงาม (โมเมนท์แม่ชีใน LADY BIRD ทำให้นึกถึงโมเมนท์หญิงชราใน L’ENFANCE NUE)  โดยที่ตัวละครทุกตัวในหนังทั้งสองเรื่องนี้ ทั้งตัวละครหลักและตัวละครประกอบยิบย่อย ต่างก็ดูเป็นมนุษย์จริงๆที่มีความซับซ้อน มีหลายด้านในตัวเอง




THAIBAN THE SERIES 2.1

$
0
0

THAIBAN THE SERIES 2.1 (2018, Surasak Pongson, A+30)

จริงๆแล้วชอบภาคสองมากกว่าภาคแรกนะ เพราะชอบที่ “ไม่มีใครเป็นตัวประกอบของใคร” น่ะ คือภาคแรกมันมี “พระเอก นางเอก” ชัดเจนแบบหนังทั่วไป แต่พอภาคสองนี่ตัวละครที่มันเคยเป็นแค่ตัวประกอบในภาคแรก มันเริ่มมีชีวิตที่เป็นตัวของตัวเองจริงๆแล้ว โดยไม่ต้องมาคอยรองรับ supportใดๆพระเอกนางเอกในภาคแรกอีก มันก็เลยเป็นหนังที่เข้าทางเรามากขึ้น

เหมือนเราชอบหนัง/ละครทีวีที่ตัวละครทุกตัวมีปัญหาเหี้ยห่าของตัวเองน่ะ ไม่ใช่แค่มีพระเอก-นางเอกเป็นศูนย์กลาง แล้วปัญหาชีวิตของตัวละครประกอบไม่สำคัญ เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบละครทีวีแบบ MELROSE PLACE ที่ชีวิตของตัวละครแต่ละตัวสลับกันเผชิญกับความชิบหายในทุกๆ 5 นาที หรือชอบนิยายแบบ VANITY FAIR ที่ตัวละครประกอบมันเยอะมาก และแต่ละตัวก็มีปัญหาเหี้ยห่าของตัวเอง

ในส่วนของหนังเรื่องนี้นั้น เราอินกับเส้นเรื่องของป่องมากสุดนะ เพราะเรามักจะอินกับ “การทำงาน” มากกว่า “ความรัก” ในหนังทั่วๆไปอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่หนังภาคสองไม่ได้โฟกัสไปที่เรื่องรักๆใคร่ๆของตัวละครเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวละครที่มีปัญหาเรื่องการทำงานด้วย ก็เลยทำให้เราไม่ดีดตัวออกห่างจากหนังเรื่องนี้มากนัก

ชอบเส้นเรื่องของคนบ้าด้วย เราว่ามันน่าสนใจดี  

สรุปว่าชอบมากที่หนังมัน treat ตัวละครหลายๆตัวเหมือนเป็นคนจริงๆมากกว่าหนังทั่วไป

WINCHESTER (2018, The Spierig Brothers, A+5)

หนังไม่น่ากลัวเลย แต่สิ่งที่พอช่วยพยุงหนังไว้ได้สำหรับเราคืออารมณ์ “ดราม่า” และการแสดงดีๆน่ะ เหมือนกับว่าตัวละครหลักแต่ละตัวมีปมเจ็บปวดอะไรทำนองนี้ และพอหนังให้น้ำหนักกับอารมณ์ดราม่าเหล่านี้ เราก็เลยพอ enjoy มันได้บ้าง

เราว่าในแง่บรรยากาศ หนังเรื่องนี้ยังสู้หนังอย่าง CRIMSON PEAK (2015, Guillermo del Toro) และหนังสยองขวัญของ Roger Corman ไม่ได้น่ะ

สรุปว่าได้ดูหนังของ The Spierig Brothers มา 5 เรื่อง (WINCHESTER, JIGSAW, PREDESTINATION, UNDEAD, DAYBREAKERS) เราก็รับได้หมดทุกเรื่องนะ แต่ก็ไม่มีเรื่องไหนที่ชอบสุดๆแบบ PREDESTINATION (2014) เลย น่าเสียดายมาก

PHANTOM THREAD (2017, Paul Thomas Anderson, A+30)

1.ดูไปตั้งแต่วันพฤหัสที่ 22 ก.พ. ปรากฏว่าหลับไป 20 นาทีแรก 555 ตื่นขึ้นมาดูต่อก็ชอบสุดๆ แต่ตั้งใจไว้ว่าเอาไว้ดูรอบสองแล้วค่อยเขียนดีกว่า ปรากฏว่าวันที่ 23-25 ก.พ.เราป่วยหนัก และตอนนี้ก็มีหนังค้างคาให้ดูอีกเยอะมากๆ ก็เลยคิดว่าอาจจะไม่มีโอกาสได้ดูรอบสองในเร็วๆนี้แล้วล่ะ 555

จากการดูไปแบบพลาด 20 นาทีแรก เราก็พบว่า มันเป็นหนังที่งดงามสุดๆ ชอบการเคลื่อนกล้อง การแสดง อะไรต่างๆ แต่มันเป็นหนังที่เรา admire แต่ไม่อินน่ะ เพราะเราเกลียดพระเอก เกลียดนางเอก 555 (หมายถึงเกลียดนิสัยคนแบบนี้น่ะ แต่ชอบการแสดงของนักแสดงอย่างสุดๆ) แต่ชอบพี่สาวพระเอก คือเหมือนอย่างที่เราเขียนไว้ในไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.1 น่ะ ว่าเรามักจะอินกับ “การทำงาน” มากกว่า “ความรัก” ในหนัง เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่อินกับความรักของพระเอก-นางเอก หรือการเล่นเกมอำนาจอะไรของพวกมันมากนัก แต่อินกับตัวพี่สาวพระเอก เพราะเธอไม่ต้องมาพะวงกับเรื่องรักๆใคร่ๆในชีวิตเธอ เธอต้องทำงาน และเธอก็ดูตั้งอกตั้งใจทำงานดีมาก

2.ปรากฏว่าฉากที่ค้างอยู่ในหัวเรา แล้วเอาออกไปจากหัวไม่ได้ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา คือฉากที่พี่สาวพระเอก เดินไปบอกคนงานแต่ละคนให้ช่วยทำงานอยู่ดึกๆดื่นๆในคืนนี้นะ เพราะต้องตัดเย็บชุดเจ้าสาวของเจ้าหญิงเบลเยียมให้ทัน ไม่รู้ทำไมเราอินกับฉากนี้มากที่สุดในหนัง หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะว่า วันๆในหัวเราไม่ได้คิดถึงเรื่อง “ทำไงถึงจะทำให้เขารักเรา” แต่วันๆในหัวเราคิดแต่เรื่อง “เมื่อไหร่กูจะตายเสียที เพราะกูขี้เกียจทำงาน” มั้ง 555 เราก็เลยอินกับฉากนี้มากที่สุดในหนัง

3.ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเราไม่อินกับ “ผัวเมียละเหี่ยใจ” (หรือผัวเมียที่ความสัมพันธ์มีอะไรบางอย่างวิปริต) ในหนังเรื่องนี้มากเท่าที่ควร ทั้งๆที่ในแง่นึงมันเทียบได้กับ “ผัวเมียละเหี่ยใจ” ในหนังของ Claude Chabrol หลายเรื่องที่เราชอบสุดๆ อย่างเช่น THE UNFAITHFUL WIFE (1969) เราก็เลยเดาว่า มันอาจจะเป็นที่ท่าทีของหนังมั้ง คือหนังของ Claude Chabrolจะนำเสนอตัวละครผัว-เมียที่รักกันโดยมีอะไรบางอย่างวิปริต ด้วยสายตาที่เย็นชาหรือเยาะหยันเล็กน้อยน่ะ แต่ PHANTOM THREAD นำเสนอด้วยสายตาโรแมนติก แต่พอดีเราไม่ได้โรแมนติกไปกับตัวละครคู่นี้ด้วย อารมณ์ของเราก็เลยไม่ได้สอดคล้องกับหนังเรื่องนี้มากเท่ากับหนังของ Claude Chabrol

THE MONKEY KING 3

$
0
0

THE MONKEY KING 3 (2018, Pou-Soi Cheang, China/Hong Kong, A+30)

ร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง ทำไมการตกหลุมรักพระมันถึงเจ็บปวดจนสุดจะทานทนขนาดนี้

THE IMMORTALS + THREE BILLBOARDS

$
0
0

THE IMMORTALS (2003, Antonio-Pedro Vasconcelos, Portugal, A+25)

หนังเล่าเริ่องของตำรวจที่ตามจับแก๊งปล้นธนาคาร ที่สมาชิกแก๊งประกอบไปด้วยทหารผ่านศึกจากยุคอาณานิคม ที่เคยผ่านสมรภูมิในประเทศแบบ Angola, Mozambique อะไรแบบนี้มาแล้ว  ตัวหนังเหมือนเป็นการผสมระหว่างหนังแบบ HEAT (1995, Michael Mann) กับหนังแบบ NO OR THE VAIN GLORY OF COMMAND (1990, Manoel de Oliveira) เข้าด้วยกัน แต่ผสมเข้าด้วยกันได้อย่างไม่ลงตัวเท่าไหร่

เราว่าครึ่งเรื่องแรกสนุกมาก และประเด็นเรื่อง “บาดแผลจากยุคอาณานิคม” ก็ดีมาก แต่ครึ่งเรื่องหลังมันดูเก้ๆกังๆ ไม่ลงตัวยังไงไม่รู้ เราก็เลยไม่ได้ชอบหนังแบบสุดๆ

รูปของ Rui Luis Bras ที่รับบทเป็นตำรวจคนหนึ่งในเรื่อง

THREE BILLBOARDS OUTSIDE EBBING, MISSOURI (2017, Martin McDonagh, A+30)

1.ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงป้ายหน้าสภาทนายความ สมัยที่ตั้งอยู่ตรงถนนราชดำเนินกลาง เพราะถ้าจำไม่ผิด เมื่อราวสิบปีก่อน จะมีป้ายหน้าสภาทนายความที่ระบุว่า คุณสมชาย นีละไพจิตร หายตัวไปนานกี่วันแล้ว เหมือนป้ายนี้จะคอยย้ำเตือนประชาชนไม่ให้ลืมคดีนี้ และไม่ให้ลืมว่า คดีนี้ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม และยังไม่คลี่คลาย แต่ปรากฏว่ามีใครก็ไม่รู้ เอารถบัสคันใหญ่ๆมาจอดตรงถนนเพื่อบังป้ายนี้ไว้ เพราะฉะนั้นเวลาที่เรานั่งรถผ่านถนนราชดำเนินกลาง เราก็จะเห็นป้ายนี้ไม่ถนัด เพราะมันมีใครก็ไม่รู้เอารถบัสมาจอดบังป้ายนี้ไว้

2.ถ้าเทียบกับหนังเข้าชิงออสการ์สาขา Best Picture ด้วยกัน ก็ชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่า LADY BIRD นะ แต่ยังไม่แน่ใจว่าชอบมากหรือน้อยกว่าหนังเรื่องอื่นๆอย่าง THE SHAPE OF WATER, GET OUT, CALL ME BY YOUR NAME และ PHANTOM THREAD หรือเปล่า เหมือนเราชอบหนัง 5 เรื่องนี้ในระดับใกล้เคียงกันมากๆจนตัดสินได้ยาก แต่มี LADY BIRD ที่นำโด่งออกมาเพราะเหมือนกับว่าหนังสร้างมาเพื่อเราจริงๆ

3.เหมือนหนังช่วยแก้ไข “จุดที่เราไม่ชอบ” ใน I AM NOT MADAME BOVARY (2016, Feng Xiaogang) น่ะ เพราะอย่างที่เราเคยเขียนไปแล้วว่า เราเกลียดนางเอกของ I AM NOT MADAME BOVARY อย่างสุดๆ เพราะเรารู้สึกว่าอีนี่แก้แค้นแบบผิดวิธี แต่หนังไม่ได้แสดงท่าทีให้เห็นชัดๆว่ารู้สึกยังไงกับอีนี่ เราก็เลย “กังขา” กับ attitude ของตัวหนัง I AM NOT MADAME BOVARY มากๆ แต่ในส่วนของ 3BBนั้น เราก็รู้สึกว่านางเอกแก้แค้นแบบผิดวิธีเช่นกัน โดยเฉพาะในครึ่งหลังของเรื่อง แต่หนังก็แสดงออกประมาณหนึ่งว่า ตัวหนังเองก็มองว่านางเอกทำผิด เราก็เลยไม่ได้มีปัญหากับทัศนคติของตัวหนังเรื่องนี้มากเท่ากับ I AM NOT MADAME BOVARY

แต่ถ้าหากพูดถึงการแก้แค้นแบบผิดวิธีแล้ว หนังที่เราชอบที่สุดก็ยังคงเป็น BADLAPUR (2015, Sriram Raghavan) อยู่ดี เพราะ BADLAPUR มันแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า หนังมันไม่ได้เข้าข้างพระเอก และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า “เหยื่อ” กับ “คนร้าย” มันเป็นคนๆเดียวกันได้ มันไม่ใช่ว่าพอคุณเป็น “เหยื่อ” แล้วคุณจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบหลังจากคุณมีสถานะเป็น “เหยื่อ”

ตอนดู 3BB จะนึกถึง HEAVEN (2002, Tom Tykwer) ด้วย เพราะการกระทำของนางเอกสองเรื่องนี้มันมีอะไรบางอย่างเทียบเคียงกันได้ แต่เราชอบ3BBมากกว่า HEAVEN

4.ตอนช่วงครึ่งแรกที่นางเอกยังไม่ได้ถลำลึกมากเกินไป เราก็ยังชอบนางเอกมากอยู่นะ โดยเฉพาะฉากร้านหมอฟันกับฉากปะทะกับเด็กนักเรียนนี่ ชอบสุดๆเลย

WHEN WE FIRST MET (2018, Prakarn Rattanachamnong, 5min, A+20)

$
0
0

WHEN WE FIRST MET (2018, Prakarn Rattanachamnong, 5min, A+20)

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่

1.ดูแล้วงงๆเล็กน้อยว่าหนังต้องการจะสื่ออะไร 555 ก็เลยอาจจะทำให้ไม่ได้ชอบแบบสุดๆ

ไม่แน่ใจว่าหนังต้องการจะพูดเรื่อง “อย่าตัดสินคนจากภายนอก” หรืออย่าตัดสินคนเพียงผิวเผินจากการพบกันแค่ครั้งแรก อะไรแบบนั้นหรือเปล่า แต่ก็รู้สึกว่าประเด็นนี้มันไม่ชัด หรือมันไม่โดนมากนัก

2.แต่ถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นแค่ฉากเปิดของหนังเรื่องนึง หรือเป็นแค่ส่วนประกอบของหนังเรื่องนึง มันก็จะดีมากๆ คือถ้าหากเรามองว่านี่เป็นเพียงแค่ฉากๆหนึ่งในหนังที่ยาวกว่านี้ เราก็จะชอบฉากนี้มากๆ เพราะว่า

2.1 การแสดงมันดูเป็นธรรมชาติดี ใช้ได้ เหมือนเป็นคนมาออดิชั่นจริงๆ

2.2 การคิดเฟรมภาพก็ดี เป็นภาพเล็กซ้อนในภาพใหญ่ มันดูมีเสน่ห์มากๆ

2.3 การคิดเฟรมภาพมันสอดคล้องกับโครงสร้างของเรื่องด้วย เพราะมันเป็น “เรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่า” คือเราได้ดูเรื่องราวสองเรื่องซ้อนกัน นั่นก็คือเรื่องของพนักงานต้อนรับ+คนมาสมัครงาน+สาวต่างชาติ และเรื่องนี้ซ้อนอยู่ในเรื่องของการทดสอบนักแสดงต่อหน้ากล้อง โดยที่สถานะของตัวละครในหนังสองเรื่องนี้มันก็ส่องสะท้อนกันด้วย เพราะใน “เรื่องเล็ก” นั้น “หญิงสาว” กับ “ชายผู้มาสมัครงาน” ต่างก็เจอกันครั้งแรก โดยหญิงสาวเหมือนอยู่ในสถานะของ “คนใน” ส่วนชายผู้มาสมัครงานอยู่ในสถานะของ “คนนอก ผู้จะต้องถูกประเมินความสามารถ” ส่วนใน “เรื่องใหญ่” นั้น หญิงสาวกับคนแคสติ้งก็น่าจะเจอกันครั้งแรกเหมือนกัน แต่ในเรื่องใหญ่นี้ “หญิงสาว” กลายเป็น “ผู้มาสมัครงาน” หรือหญิงสาวมีสถานะเหมือนเป็น “คนนอก ผู้จะต้องถูกประเมินความสามารถ” ซะเอง

เรื่องสองเรื่องนี้มันถูกเชื่อมโยงกันด้วยประเด็นเรื่อง การตัดสินคนอย่างผิวเผินด้วย โดยใน “เรื่องเล็ก” นั้น ชายผู้มาสมัครงานสร้างความประหลาดใจให้พนักงานต้อนรับ เพราะเขาพูดภาษาต่างประเทศได้ ส่วนใน “เรื่องใหญ่” นั้น หญิงผู้มาทดสอบบท ก็ได้รับการสอบถามเรื่องความเห็นเกี่ยวกับประเด็นอะไรแบบนี้ และคนที่อยู่หลังกล้อง ก็กำลัง “ตัดสิน” เธอจากการได้พบกันเพียงแค่ไม่กี่นาที

แต่เราก็ไม่คิดว่าหนังต้องการจะพูดถึงประเด็นนี้เป็นหลักน่ะ เพราะมันดูเบาๆลอยๆ ไม่น่าประทับใจมากนัก เราก็เลยงงๆว่าจริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่ออะไร 555

สรุปว่า ชอบการแสดง, การคิดเฟรมภาพ, โครงสร้างการเล่าเรื่อง แต่งงว่าจบแค่นี้จริงๆน่ะเหรอ

SCENE AND LIFE (2018, Boonsong Nakphoo, A+30)

$
0
0

SCENE AND LIFE (2018, Boonsong Nakphoo, A+30)
ฉากและชีวิต

1.ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เราหลับไปประมาณ 20 นาทีแรกของหนัง เพราะร่างกายเราเพลียมาก เพราะฉะนั้นเราก็เลยพลาด 3 ฉากแรกของหนังไป (ฉากหนุ่มสาวคุยกันขณะตกปลา, ฉากคนคลานในทุ่งนา, ฉากเด็กๆมาสัมภาษณ์ป้าคนนึง หรืออะไรทำนองนี้)  แต่ถ้าจะให้เราดูรอบสองแล้วค่อยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ เราก็กลัวว่าเราอาจจะไม่มีเวลาดูรอบสอง เพราะตารางชีวิตเราแน่นเอี้ยดมากๆ เราก็เลยรีบจดบันทึกความรู้สึกของตัวเองไว้ก่อนดีกว่า

2.เป็นหนังที่ให้ความรู้สึกงดงามมากๆสำหรับเรา เรา ชอบ form ของมันมากๆ เพราะ form ของมันเป็นเหมือนหนังสั้น 10 เรื่องเกี่ยวกับชีวิตชนบทมาเรียงร้อยต่อกัน ให้อารมณ์คล้ายๆกับการดูหนังสั้นของอุรุพงษ์ รักษาสัตย์ + หนังสั้นอย่าง เถียงนาน้อยคอยรัก (FOUR BOYS, WHITE WHISKEY AND GRILLED MOUSE) (2009,Wichanon Somumjarn) + เรื่องเล่าจากดอนโจด (HOW FAR A BETTER LIFE) (2017, Chantana Tiprachart) อะไรทำนองนี้

เราว่าการที่หนังใช้ form แบบนี้มันทำให้หนังเข้าทางเรามากๆน่ะ เพราะเราชอบหนัง slice of life แบบนี้ หนังที่นำเสนอช่วงเวลานึงของชีวิตคนธรรมดา โดยไม่จำเป็นต้องมี drama อะไรมากนักก็ได้ มันเป็นการทอดสายตามองโมงยามเล็กๆของชีวิตด้วยสายตาที่งดงาม

คือเราว่าหนังหลายๆเรื่องมันไม่เข้าทางเราเพราะมันถูกกรอบของความเป็นหนังกระแสหลักไปกดทับมัน หรือไปบีบอัดมันจนเสียรูปทรง และทำให้ความงามของมันไม่เปล่งประกายออกมาน่ะ ซึ่งหนังในกลุ่มนี้อาจจะรวมถึงหนังอย่าง IN MY HOMETOWN ฮักมั่น (2017, Worrawut Lakchai), RED SPARROW และ 3AM AFTERSHOCK เป็นต้น คือเราว่าความงามของฮักมั่นคือการถ่ายทอดกิจกรรมของคนในชนบท อะไรทำนองนี้ แต่พอหนังพยายามจะ “มีเส้นเรื่อง” และพยายามจะสร้าง “อารมณ์ตลกเฮฮา” ในหลายๆฉาก มันก็เลยเหมือนไปกีดกันไม่ให้หนังสามารถสร้าง moments ชีวิตชนบทเล็กๆน้อยๆออกมาได้ ส่วนในกรณีของ RED SPARROW นั้น เราว่าหนังมันจะดีถ้ามันเน้นถ่ายทอด “ความทุกข์ของการเป็นสปาย” (ซึ่งอาจจะรวมถึงความน่าเบื่อของการเป็นสปาย) แต่พอหนังมันถูกความเป็นหนังกระแสหลัก ที่ต้องโยง สปายเข้ากับ “ความสนุกตื่นเต้นลุ้นระทึก” เข้าไปกดทับมันเอาไว้ ความงามที่แท้จริงของ RED SPARROW ก็เลยไม่เปล่งประกายออกมาอย่างเต็มที่ ส่วน 3AM AFTERSHOCK นั้น เราชอบที่หนังถ่ายทอด “ชีวิตการทำงาน” ของพนักงานทางด่วน และคนในกองถ่ายโฆษณามากๆ แต่พอตัวหนังมันถูก “ความเป็นหนังผี ที่ต้องมีผีหลอก มีความน่ากลัว และมีการหักมุม” ไปกดทับมันเอาไว้ 3AM AFTERSHOCK ก็เลยกลายเป็นหนังผีเสร่อๆเรื่องนึงไป

ที่เขียนเปรียบเทียบมายืดยาว ก็เพื่อจะเปรียบเทียบให้เห็นว่า ทำไมเราถึงชอบ form ของ SCENE AND LIFE น่ะ เพราะพอหนังมันเลือกใช้ form แบบนี้ มันก็เลยเหมือนไม่ต้องถูกกดทับด้วยความเป็นหนังกระแสหลัก ชีวิตของตัวละครไม่ต้องถูกบิดให้เป็นเส้นเรื่องที่ลากยาว 90 นาที และไม่ต้องมี drama รุนแรง มีเส้นอารมณ์ขึ้นลงตามสูตร ไม่ต้องมีความพยายามจะสร้างความเฮฮา ลุ้นระทึก ไม่ต้องมีการเอาประเด็นสังคมไปกดทับหนังและตัวละคร (คือหนังมีประเด็นสังคมก็ได้ แต่เราไม่ค่อยชอบหนังที่สร้างตัวละครขึ้นมาให้มีชีวิตอยู่เพียงเพื่อสะท้อนประเด็นสังคม เราชอบหนังที่ตัวละครควรจะมีชีวิตอยู่ของมันเอง และประเด็นสังคมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตของตัวละครตัวนั้น คือชีวิตของตัวละครใหญ่กว่าประเด็นสังคม ไม่ใช่ประเด็นสังคมใหญ่กว่าชีวิตตัวละคร) และไม่ต้องเอาคติสอนใจ หรือบทเรียนสำเร็จรูปไปกดทับหนังเอาไว้

คือพอ SCENE AND LIFE เลือกใช้ form แบบนี้ มันก็เลยช่วยปลดปล่อยตัวละครและหนังให้เป็นอิสระจากอะไรต่างๆที่เราไม่ชอบน่ะ ทั้ง “เนื้อเรื่อง”, “เส้นเรื่อง”, “อารมณ์ drama ที่มากเกินไป”, “คติสอนใจ” ฯลฯ และช่วยให้โมงยามธรรมดาในชีวิตตัวละครมันเปล่งประกายออกมาได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องมีอะไรรกรุงรังไปกดทับหรือบดบังมัน

3.ชอบทุกช่วงของหนังเลย ทั้งฉากการขายบ้านเก่า, ฉากหนุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหากับพ่อแม่ (เนื้อหาฉากนี้ดูมีความ mainstream มากที่สุด แต่ดีที่หนังไม่ได้ให้คติสอนใจใดๆในฉากนี้ หนังเพียงแค่สะท้อนปัญหาออกมาเท่านั้น), ฉากการนอนวัด, ฉากการสอนเรื่องลูกสูบมอเตอร์ไซค์, ฉากคน 3 รุ่นกับการทำอาหาร (ความงดงามของฉากนี้ทำให้นึกถึงหนังญี่ปุ่นเรื่อง LITTLE FOREST), ฉากป้าขายผักโบราณ และฉากสาวเดินทางไปกรุงเทพเพื่อหาเงินมาใช้หนี้

อย่างนึงที่ชอบก็คือว่า หลายๆฉากมันนำเสนออะไรที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนในภาพยนตร์น่ะ ทั้งการคุยกันเรื่องไม้ที่ใช้สร้างบ้าน, การขอเข้าไปนอนในวัด, การสอนเรื่องลูกสูบมอเตอร์ไซค์, การทำน้ำมันหมู และการพูดถึงผักแปลกๆหลายอย่าง

4.ชอบมากๆที่ตัวละครในหนังทุกตัวมัน “มีชีวิตมาก่อนหนังเริ่ม” และ “มีชีวิตต่อไปหลังหนังจบ” จริงๆ

5.ฉากที่เราชอบมากที่สุด อาจจะเป็นฉากป้าขายผักโบราณ เพราะเราสนใจผักแปลกๆเหล่านี้ และเราว่าฉากนี้มันเศร้ามากๆ และเราอินกับป้ามากๆด้วย เพราะในแง่นึง เราสามารถเปรียบเทียบป้าได้กับ “คนทำหนังอินดี้” หรือ “คนทำอาชีพที่กำลังจะสูญพันธุ์ไปตามยุคสมัย อย่างเช่นคนทำนิตยสาร” อะไรทำนองนี้ คือเราว่าสิ่งที่ป้าทำมัน “มีคุณค่า” น่ะ ไม่ต่างไปจากคนทำหนังอินดี้ดีๆ หรือคนทำนิตยสารดีๆ เพียงแต่ว่า “คุณค่า” ของสิ่งที่ป้าทำมันไม่สามารถแปรผันตรงกับ “มูลค่าทางเงินตรา” น่ะ มันก็เลยเป็นเรื่องที่น่าเศร้า และก็ไม่มีใครผิดในเรื่องนี้เลยด้วย เพราะเราเองก็คงไม่ซื้อผักของป้าไปทำอาหารกินเองเช่นกัน ฉากนี้มันก็เลยเหมือนสะท้อน “ความน่าเศร้าของชีวิตและโลก” โดยที่เราเองก็ไม่สามารถแก้ไขหรือช่วยอะไรได้ เราเองก็ทำได้แค่ต้องกระเสือกกระสนหาทางมีชีวิตรอดต่อไปเรื่อยๆเท่านั้นเอง

6.ชอบ sense ของสถานที่ในหนังเรื่องนี้มากๆ คือเราว่าสถานที่ต่างๆในหนังเรื่องนี้ ทั้ง “บ้านไม้”, “วัดในชนบท” และ “ร้านขายอาหาร” มันดูเผินๆแล้วก็ไม่ต่างไปจากสถานที่ที่ปรากฏในหนังอย่าง “สวัสดีบ้านนอก” (1999, Thanit Jitnukul), ไทบ้านเดอะซีรีส์ หรือหนังไทยที่ใช้ฉากชนบทเรื่องอื่นๆน่ะ แต่เราว่า “ความรู้สึก” ที่ได้จากสถานที่ในหนังเรื่องนี้มันต่างออกไปมากๆ คือถึงแม้ว่าดูภายนอกแล้วมันจะเป็นสถานที่แบบเดียวกัน แต่สถานที่ในหนังเรื่องอื่นๆ มันเหมือน “ดำรงอยู่เพื่อรองรับเนื้อเรื่องและอารมณ์ดราม่า” น่ะ ในขณะที่สถานที่ในหนังเรื่องนี้ มันเหมือน “ดำรงอยู่เพื่อรองรับชีวิตคนธรรมดา” เพราะฉะนั้น sense ของสถานที่ในหนังเรื่องนี้ มันเลยมีความงามบางอย่างหล่อเลี้ยงมันไว้ในแบบที่ไม่ค่อยปรากฏในหนังไทยเรื่องอื่นๆ

INVALID THRONE

$
0
0

INVALID THRONE (2018, Jakrawal Nilthamrong + Kamjorn Sankwan, A+30)

ไม่รู้เป็นเพราะว่ามันฉายด้วย “ฟิล์ม” หรือเปล่า ตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้เราก็เลยนึกไปถึง “หนังเก่าๆ”

เราจะนึกถึงหนัง 3 เรื่องด้วยกัน ซึ่งก็คือ BARAKA (1992, Ron Fricke) , THE LAST WAVE (1977, Peter Weir)กับ WALKABOUT (1971, Nicolas Roeg) สาเหตุเป็นเพราะว่า

1.ตัวละครของคุณกำจรในหนังเรื่องนี้ มันมีลักษณะคล้าย “ชนพื้นเมือง” ที่ผูกพันกับ “ธรรมชาติ” และเขาถูกคุกคามด้วย “คนนอกที่มาพร้อมกับ “civilization” และ “เงินทุน” น่ะ เพราะฉะนั้นเราก็เลยนึกถึง “ชนพื้นเมือง” ในหนังอย่าง BARAKA, THE LAST WAVE และ WALKABOUT โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ “ผู้ร้าย” ใน INVALID THRONE มันเป็น “บริษัทออสเตรเลีย” ด้วย มันก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังออสเตรเลียที่พูดถึงความขัดแย้งระหว่างคนขาวและชาวอะบอริจินอย่างTHE LAST WAVE และ WALKABOUT โดยไม่ได้ตั้งใจ

2.เราว่า “ธรรมชาติ” ในหนังหลายๆเรื่องของคุณจักรวาล มันมีลักษณะลี้ลับ มันมีพลังแบบ mystic หรือมันมีพลัง “จักรวาล” แบบชื่อผู้กำกับอยู่ด้วยน่ะ 555 ซึ่งรวมถึงหนังเรื่องนี้ด้วย คือธรรมชาติในหนังของเขามันไม่ใช่ธรรมชาติแบบสารคดี NATIONAL GEOGRAPHIC น่ะ แต่มันมีพลังที่เลยพ้นจากวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นเราก็เลยนึกไปถึงหนังอย่าง BARAKA และ THE LAST WAVE ที่อาจจะมีอะไรแบบนี้เหมือนกัน

ในรูปนี้ ช่องซ้ายบนเป็น BARAKA, ขวาบนเป็น THE LAST WAVE,ซ้ายล่างเป็น WALKABOUT ส่วนขวาล่างเป็น INVALID THRONE

KAMJORN SANKWAN (2018, Jakrawal Nilthamrong + Kamjorn Sankwan, video installation, A+30)

ชอบเรื่องของพระที่อวัยวะเพศแข็งตัวมากๆ

THE ICEBERG (2018, Wachara Kanha, video installation, A+30)
ภูเขาน้ำแข็ง                                              

เราว่ามันน่าสนใจมากๆที่หนังเรื่องนี้กับหนังเรื่อง “พรุ่งนี้ยังมีอีกไหม” (FREEZE) (2018, Wachara Kanha) ใช้ภาพเคลื่อนไหวชุดเดียวกัน แต่ใช้ voiceover คนละอันกัน แล้วมันเลยกลายเป็นหนังสองเรื่องที่ไม่เหมือนกัน แต่ดีมากๆทั้งคู่ โดย FREEZE เป็นหนังเชิงกวี+ทดลอง ส่วน THE ICEBERG เป็นหนัง essay เกี่ยวกับการเมือง+ประวัติศาสตร์ ทั้งๆที่ภาพในหนังสองเรื่องนี้เป็นภาพชุดเดียวกัน แต่หนังสองเรื่องนี้ก็กลายเป็นหนังคนละเรื่อง คนละ genre กัน เพราะ voiceover กลายเป็นตัวกำกับทิศทางและประเภทของหนังแต่ละเรื่อง

WHERE ARE YOU? I AM HERE. (2017-2018, Paisarn Am-Pim + Thitiya Lao-an, video installation, A+30)

1.“หมอนรถไฟ” ของจริง ชอบมากๆที่ video installation อันนี้เอา “หมอน” มารองรางรถไฟ โดยหมอนเหล่านี้มาจากชุมชนของคนในภาคอีสานที่ถูกไล่ที่เพราะจะเอาที่มาสร้างทางรถไฟ

2.ชอบการ “บันทึกสภาพบ้านเมือง” ของวิดีโอนี้มากๆ ดูแล้วนึกถึงหนังอย่าง FROM THE EAST (1993, Chantal Akerman)

AQUATORIUM

$
0
0
AQUATORIUM (2017, Chanasorn Chaikitiporn, 30min, A+30)
เมืองบันดาล

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่

1.ยอมรับไว้ก่อนเลยว่าเราดูแล้วไม่เข้าใจ และไม่สามารถตีความอะไรได้ แต่ก็จัดเป็นหนังที่ชอบสุดๆอยู่ดี เพราะมันมีพลังของมันเองมากพอสมควร และมันก็ thought-provoking มากในระดับนึง

2.ช่วงแรกๆนึกว่าหนังเรื่องนี้จะมาแนว SNAP (2015, Kongdej Jaturanrasamee) ที่ให้ตัวละครหนุ่มสาวคุยกันใน aquarium  หรือไม่ก็อาจจะเหมือนกับหนังสั้นไทยหลายๆเรื่อง ที่ให้ตัวละครหนุ่มสาวสองคนที่เคยเป็นเพื่อนกัน แต่ไม่ได้เจอกันมานาน มาพบปะพูดคุยกัน โดยให้ฉากตัวละครคุยกันนี้เป็นการสะท้อน background หรือประวัติชีวิตของตัวละครทั้งสอง

แต่พอดูไปถึงกลางเรื่อง ก็พบว่าเราคิดผิด หนังเรื่องนี้มี “ของ” หรือมีidea แปลกใหม่ที่น่าสนใจเป็นของตัวเอง เราพบว่าบทสนทนาของตัวละครแทบไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตของตัวละครเลย เพราะตัวละครหลักคุยกันแต่เรื่อง “สถานที่แห่งนี้เปลี่ยนไปหรือเปล่า” ซึ่งเราก็จะแอบคิดในใจว่า “มันสำคัญยังไงวะ” 555 คือ AQUARIUMแห่งนี้จะเหมือนหรือไม่เหมือนกับเมื่อ 5-10 ปีที่แล้ว มันสำคัญยังไง การเปลี่ยนแปลงหรือการไม่เปลี่ยนแปลงของมันนำพาไปสู่อะไร

คือเราว่าบทสนทนาของตัวละครมันก็เลยน่าสนใจมากในระดับนึงน่ะ คือดูเผินๆแล้วมันดูเป็นอะไรที่ไร้สาระและน่าเบื่อ แต่พอตัวละครมันย้ำคิดย้ำทำกับประเด็นนี้มากผิดปกติ มันก็เลยเป็นสิ่งที่ thought-provoking ขึ้นมา ถึงแม้เราจะตีความมันไม่ออกก็ตาม

มันมีประเด็นอื่นๆในบทสนทนาของตัวละครด้วยนะ อย่างเช่น เรื่อง “การไม่ต้องรู้สึกอะไร ไม่ต้องแคร์ว่าใครจะมองเรายังไง” แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าประเด็นต่างๆที่ตัวละครพูดถึง อันไหนมีความหมายลึกซึ้งซ่อนแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า

3.แต่สิ่งที่ชอบมากเวลาดูไปจนถึงกลางเรื่อง ก็คือว่า เรารู้สึกว่า climax ของหนังเรื่องนี้ คือฉากสูบบุหรี่ กับฉากทาลิปสติกน่ะ เราว่าสองฉากนี้มันมีการตัดต่อที่เร้าอารมณ์ขึ้นมา และเราก็ชอบมากๆที่อยู่ดีๆ climax ของหนังกลายเป็นสองฉากนี้ ซึ่งเป็นฉากของตัวละครประกอบ ไม่ใช่พระเอกนางเอกของเรื่อง และจริงๆแล้วกิจกรรมสองอย่างนี้ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมธรรมดา แต่หนังสามารถทำให้การสูบบุหรี่และการทาลิปสติกกลายเป็นอะไรที่ดูรุนแรงขึ้นมาได้

เราชอบที่อยู่ดีๆหนังพลิกกลายมาเป็นแบบนี้น่ะ มันทำให้เราพบว่า เราคิดผิดในตอนแรก หนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเหมือน SNAP หรือหนังสั้นไทยแนว realistic หรือ romantic หลายๆเรื่อง แต่มันเป็นหนังที่มีกลิ่นอายแบบ absurd คือเหตุการณ์ต่างๆในหนังไม่ได้ดูเหนือจริง ตัวละครทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริง แต่หนังสามารถสร้างอารมณ์ของความผิดปกติ หรือความไม่ธรรมดาออกมาได้ ผ่านทางการกระทำของตัวละคร อย่างเช่น การเข้าห้องน้ำแบบผิดเพศ, การสูบบุหรี่ด้วยลีลาที่ไม่ธรรมดา และการพูดคุยถึงประเด็นที่ดูเหมือนไร้สาระซ้ำไปซ้ำมา

4.ถึงเราจะตีความหนังเรื่องนี้ไม่ได้ แต่เราว่าหนังพยายามพูดถึงประเด็นเรื่องเพศสภาพอยู่บ้างนะ แต่เราไม่รู้ว่ามันเป็นประเด็นหลักหรือประเด็นรอง หรือต้องการนำเสนอทัศนคติอะไรหรือต้องการจะบอกอะไรเกี่ยวกับประเด็นนี้กันแน่ เราสังเกตเห็นแต่ว่า หนังพูดถึงประเด็นนี้ผ่านทางการสลับคู่กันไปมาของตัวละครประกอบ, การสูบบุหรี่+ทาลิปสติกแบบ homoerotic, การพูดถึงม้าน้ำ และการถ่ายรูปนางเงือกกับพระอภัยมณีแบบสลับเพศ

5.ชอบช่วงท้ายของหนังมากๆ ถึงแม้ไม่รู้ว่าต้องการจะบอกอะไรคนดู เราสังเกตเห็นแค่ว่าช่วงท้ายของหนังดูเผินๆเหมือนเป็นภาพสารคดีธรรมดาที่บันทึกภาพคนมาเที่ยว aquarium แต่มันน่าสนใจตรงที่ว่า มันมีคนหลายจำพวกปรากฏตัวในช่วงท้ายน่ะ ทั้งพลเรือน-ทหาร-พระ, เด็ก-หนุ่มสาว-ผู้ใหญ่-คนชรา และมีคนพิการด้วย

พอหนังจบด้วยซีนแบบนี้ เราก็เลยไม่แน่ใจว่าหนังต้องการบอกอะไร คนใน aquariumนี้เป็นตัวแทนของ “คนในสังคม”, หรือว่าหนังต้องการเปรียบเทียบ aquarium นี้กับ “ภาพยนตร์” หรือว่าหนังต้องการทำให้เรานึกถึงวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต ฯลฯ เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่า ความหมายของช่วงท้ายของหนังคืออะไร แต่เราว่ามัน thought-provoking ดีน่ะ และเราว่ามันทำให้ “สถานที่” กลายเป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก และทำให้นึกถึงหนังอย่าง ECLIPSE (1962, Michelangelo Antonioni) ด้วย ที่ตัวละครพระเอกนางเอกจะหายไปจากช่วงท้ายของเรื่องอย่างไม่มีสาเหตุ และเราจะเห็นแต่ซีนสถานที่ต่างๆในช่วงท้ายของเรื่องเท่านั้น

6.ชอบการตั้งกล้องในหลายๆฉากด้วย คือนอกจากบทภาพยนตร์ของหนังเรื่องนี้จะซ่อนประเด็นที่น่าคิดไว้แล้ว หนังยังออกแบบการถ่ายซีนแต่ละซีนได้ดีด้วย เพราะในหลายๆฉากของหนังเรื่องนี้ กล้องจะตั้งนิ่งๆอยู่ในจุดหนึ่งของห้อง และตัวละครจะเดินเข้ามาในเฟรม และเดินไปมาอยู่ในภายในเฟรมนั้น คือเหมือนผู้กำกับต้องวางแผนไว้ดีแล้วน่ะ ว่าตัวละครจะเดินไปไหนมาไหนบ้าง และผู้กำกับก็ต้องวางเฟรมภาพไว้ในหัวเป็นอย่างดีให้สอดรับกับการกระทำของตัวละคร และกำหนดจุดตั้งกล้องที่สอดรับกับการกระทำของตัวละครและเฟรมภาพนั้น คือเราชอบที่หนังเรื่องนี้มี “การคิด” เยอะมากน่ะ ทั้งคิดเรื่องบท, การตั้งกล้อง, การวางเฟรมภาพ

7.ตอนดูจะแอบสงสัยด้วยนะ ว่าตัวละครประกอบ 4 คนกับตัวละครหลัก 2 คนมันสะท้อนหรือมันซ้อนทับกันหรือเปล่า เพราะหนังไม่เคยให้เราเห็นตัวละครประกอบกับตัวละครหลักในเวลาเดียวกัน (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) เราก็เลยไม่แน่ใจว่า จริงๆแล้วนิสิตหนุ่มกับนิสิตสาว 2 จาก 4 คนที่เราเห็น อาจจะเติบโตขึ้นมากลายเป็นพระเอกนางเอกในเวลาต่อมาก็ได้ เพราะหนังก็ย้ำอยู่แล้วว่า aquarium นี้อาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย 555

คือเราว่าหนังอาจจะไม่ได้จงใจทำให้เราคิดถึงอะไรแบบนี้นะ แต่พอหนังมันเล่นกับ “ตัวละครที่ใช้สถานที่เดียวกัน แต่ไม่ได้เจอกัน” แบบนี้ เราก็เลยนึกถึงหนังแบบ THE POWER OF KANGWON PROVINCE (1998, Hong Sang-soo) ขึ้นมาน่ะ และเราก็เลยพยายามหาทางเชื่อมตัวละครเข้าด้วยกัน โดยที่หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจ

8.สรุปว่า เราชอบอารมณ์ absurd ของหนังเรื่องนี้มากๆเลยน่ะ เราว่ามันทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังไทยหลายๆเรื่อง และมีเสน่ห์เป็นของตัวเอง

ถ้าหากเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ คือนอกจากหนังเรื่องนี้มันจะทำให้เรานึกถึง ECLIPSE แล้ว มันยังทำให้เรานึกถึงหนังของ Tsai Ming-liang ที่เล่นกับสถานที่ อย่าง GOODBYE DRAGON INN (2003) และ FACE (2009) ด้วย รวมทั้งนึกถึงหนังมาเลเซียที่มีกลิ่นอาย absurd ของ James Lee เรื่อง THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004) และ BEFORE WE FALL IN LOVE AGAIN (2006) หรือหนังไทยเรื่อง UNDER THE BLANKET (2008, Tossapol Boonsinsukh) ที่มีตัวละครทำอะไรประหลาดๆในท้องฟ้าจำลอง

แต่ถ้าหากพูดถึง “อารมณ์” ของ AQUATORIUMแล้ว เราว่ามันเป็นabsurd แบบ “แห้งๆ” น่ะ ซึ่งมันจะใกล้เคียงกับหนังของ James Lee มากที่สุด

9. ถ้าหากจะถามว่า มีอะไรที่ควรพัฒนาหรือปรับปรุงบ้าง เราก็ตอบได้ยากเหมือนกันนะ คือเราไม่มีปัญหากับการที่เราไม่เข้าใจหนังเรื่องนี้ หรือไม่สามารถตีความหนังเรื่องนี้ได้ แต่เราก็รู้สึกว่าหนังยังขาด “พลังรุนแรง” หรือขาด magic ที่รุนแรงอะไรบางอย่างน่ะ แต่วิธีการที่จะทำให้หนังมีพลังรุนแรง หรือมี magic ตราตรึงใจนี่ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าต้องทำยังไง

ถ้าหากเทียบกับหนังของผู้กำกับคนอื่นๆแล้ว เราก็ยอมรับว่า เราก็ไม่ได้ชอบ “อารมณ์แห้งๆ” แบบหนังเรื่องนี้หรือหนังของ James Lee มากนักนะ เราว่าหนังของผู้กำกับคนอื่นๆมันมีอารมณ์อื่นๆมาช่วย “หล่อลื่น” หนังให้ดูเพลินน่ะ อย่างเช่นหนังของ Tossapol Boonsinsukh มันจะมีอารมณ์ “น่ารักๆ cute cute” มาช่วยหล่อลื่นไว้ตลอด, หนังของ Tsai Ming-liang มันก็จะมีอารมณ์ขันมาช่วยหล่อลื่นไว้บ้าง ส่วนหนังของ Michelangelo Antonioni นั้นมันมี magic ที่มหัศจรรย์มากๆอยู่ในนั้น หนังมันก็เลยทรงพลังมากๆ

สรุปว่าชอบ AQUATORIUM แบบสุดๆ แต่ก็คิดว่ายังสามารถพัฒนาต่อไปได้อีกในหนังเรื่องต่อๆไปจ้ะ

ADONIS (2017, Scud, Hong Kong/China, A+30)

$
0
0

ADONIS (2017, Scud, Hong Kong/China, A+30)

1.ดูที่พารากอนในวันพฤหัสบดี แอบเสียดายเล็กน้อยที่หนังพากย์ไทย แต่ยังไงหนังเรื่องนี้ก็มีสิทธิลุ้นติดอันดับหนึ่งประจำปีของเราอยู่ดี เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นหนังที่ “ตอบสนอง sexual fantasy” ของเราได้ตรงใจที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิต ถึงแม้ว่าอารมณ์ในด้านอื่นๆของหนังอาจจะไม่เลอเลิศมากนักก็ตาม

2.ตอนดูจะนึกถึง Derek Jarman, Pier Paolo Pasolini และ Nagisa Oshima ด้วย ถึงแม้ว่าในแง่ความดีและความอาร์ทมันจะสู้หนังของ 3 คนนี้ไม่ได้เลย 555 สาเหตุที่นึกถึง Derek Jarman เป็นเพราะว่าหนังมี “ความศาสนา” อยู่บ้างน่ะ แต่ในหนังเรื่องนี้จะเน้นพุทธ ในขณะที่หนังของ Derek Jarman (โดยเฉพาะ SEBASTIANE และ THE GARDEN) จะเป็นคริสต์, สาเหตุที่นึกถึง Pier Paolo Pasolini เป็นเพราะว่าหนังมีความโหด (ซึ่งเป็นจุดที่เราไม่ค่อยชอบ เราว่ามันโหดมากไป) และสาเหตุที่นึกถึง Nagisa Oshima เป็นเพราะว่าหนังมันมีฉากคลาสสิคทุก 30 วินาที ซึ่งทำให้นึกถึงหนังอย่าง IN THE REALM OF THE SENSES ที่ให้อารมณ์เหี้ยๆห่าๆแบบเดียวกัน

อย่างไรก็ดี ถึงเราจะชอบแบบ ADONIS แบบสุดๆ แต่เราก็รู้สึกว่า ถ้าหากเทียบกับหนังของปรมาจารย์ 3 คนข้างต้นแล้ว เราว่า ADONIS ก็เป็นหนังที่ “กลวง” ไปเลยนะ 555 แต่เราไม่ว่าอะไร คือถ้าผู้กำกับคนไหนเป็นคนกลวงๆเงี่ยนๆ ก็ทำหนังที่สะท้อนความเงี่ยนๆของตัวเองออกมาตรงๆแบบนี้เลยก็ได้ ดีกว่าไปฝืนทำหนังที่ไม่ใช่ทางของตนเองจริงๆ

คือถ้าหากเทียบกับหนังของ Derek Jarman แล้ว หนังของ Jarman มันจะอาร์ทเต็มที่, มีความงดงาม, มีความอ่อนหวานอยู่ด้วยน่ะ ส่วนหนังของ Pier Paolo Pasolini มันก็จะมีความงดงามทางอารมณ์และมี magic มากกว่านี้ ส่วนหนังของ Nagisa Oshima มันก็จะมีความ intellectual มากกว่านี้

คือดู ADONIS แล้วอาจจะนึกถึงหนังของผู้กำกับสามคนข้างต้นก็จริง แต่เราว่า ADONIS ไม่ได้อาร์ทจริง, ขาดอารมณ์ละเมียดละไมอ่อนหวาน, ขาดความเป็นกวี, ขาดความเป็น intellectual น่ะ มันเหมือนกับหยิบจับเอาอะไรดีๆ,อาร์ทๆ, สวยๆ,เก๋ๆ จากหนังหลายเรื่องมาผสมรวมกันในหนังที่เน้นตอบสนอง sexual fantasy เป็นหลัก ซึ่งเราก็ยอมรับในจุดนี้ได้ และรู้สึกฟินน้ำแตกกับหนังอย่างรุนแรงมาก

3.แอบเดาว่า จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้อาจจะมีอะไรพาดพิงถึงหนังเรื่อง MUSCLE (1989, Hisayasu Sato) และ YOUR HEART IN MY HEAD (2005, Rosa von Praunheim) ก็ได้นะ แต่เนื่องจากเรายังไม่เคยดู MUSCLE กับ YOUR HEART IN MY HEAD เราก็เลยได้แต่เดาเอาว่ามันมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ไม่รู้หรอกว่ามันเกี่ยวข้องกันจริงหรือเปล่า

4.ดีใจที่ “เหมียวเข่อซิ่ว” เล่นหนังเรื่องนี้

5.ถ้าดีวีดีหนังเรื่องนี้ออกวางจำหน่ายเมื่อไหร่ บอกกูด้วยค่ะ กูซื้อแน่นอน แต่มันต้องไม่เซ็นเซอร์นะ

6.อยากดูหนังเรื่องนี้ในจอ IMAX มันเป็นหนังที่ดูจอใหญ่แล้วหฤทัยเบิกบานจริงๆ ฟินจริงๆ


A QUIET PLACE (2018, Joseph Krasinski, A+30)

$
0
0

A QUIET PLACE (2018, Joseph Krasinski, A+30)

ชอบมาก สนุกมาก ลุ้นมาก ชอบฉากเปิดอย่างรุนแรงมาก ชอบที่หนังเหมือนกับ “การเล่นเกมที่มีกฎกติกาอะไรบางอย่าง” (โดยกฎในที่นี้คือการห้ามทำเสียงดัง) แต่ถ้าถามว่ามีอะไรที่ไม่เข้าทางเราบ้างในหนังเรื่องนี้ ก็คงเป็นกลุ่มตัวละครหลักมั้ง เพราะเราจะแอบเบื่อๆ “ครอบครัวที่รักกันในวันสิ้นโลก” แบบในหนังเรื่องนี้หรือคู่พ่อกับลูกสาวใน TRAIN TO BUSAN (2016, Yeon Sang-ho) น่ะ

คือถ้าเราสร้างหนังเรื่องนี้ ก็คงเปิดเรื่องด้วยการให้ครอบครัวกลุ่มนี้เดินทางมาเจอกับผู้รอดชีวิตกลุ่มอื่นๆโดยบังเอิญ เป็น “เกย์สามคนผัวเมียที่รักกัน” จากหนังเรื่อง TRIAMO (2017, athompong Praesomboon)  อะไรทำนองนี้ 555 และหนังจะวนเวียนอยู่กับ “การสรรหาหลากหลายวิธีในการเย็ดกันโดยไม่ก่อให้เกิดเสียง” ของเกย์สามคนนี้ และแน่นอนว่า ถ้าเป็นในหนังของเรา ตัวละครครอบครัวพ่อแม่ลูกกลุ่มนี้จะทยอยถูกฆ่าตายไปทีละคน ทีละคน ส่วนตัวละครกลุ่มเกย์จะรอดชีวิตในตอนจบ 555

หนังเรื่องนี้ช่วยตอบคำถามบางอย่างที่คาใจเราจากหนังเรื่อง THE DRESSMAKER (2015, Jocelyn Moorhouse) ด้วย เพราะใน THE DRESSMAKER มันมีตัวละครที่ตายโดยที่เราไม่เข้าใจว่ามันตายได้อย่างไร แต่พอมาดู A QUIET PLACE ก็เลยเข้าใจ 555

OSS 117: LOST IN RIO (2009, Michel Hazanavicius, France, A+15)

$
0
0
OSS 117: LOST IN RIO (2009, Michel Hazanavicius, France, A+15)

1.ชอบฉากตัวละครโทรศัพท์แจ้งข้อมูลกันเป็นทอดๆที่มีการ split screen หน้าจอจาก 1 เป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 แล้วทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆมากๆ ไม่รู้ว่าคิดได้ยังไง

2.เราว่าไอเดียการใช้ประโยชน์จาก racist jokes ในหนังเรื่องนี้น่าสนใจดี เพราะตัวละครพระเอกพูด racist jokes เหยียดหยามคนจีนและคนยิวตลอดทั้งเรื่อง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า หนังแสดงออกอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้คนดูหัวเราะเยาะพระเอกที่โง่เขลาเบาปัญญาจนพูดประโยคแบบนี้ออกมาบ่อยๆ (เหมือนหัวเราะคนที่พูดว่าโลกแบน) และไม่ได้ต้องการให้คนดูหัวเราะคนยิวและคนจีนแต่อย่างใด หนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนเป็นการหัวเราะเยาะใส่ racist people หรือหัวเราะเยาะใส่คนพูด racist jokes แต่ไม่ได้หัวเราะเยาะใส่ "คนที่ jokes พูดถึง"ซึ่งเป็นวิธีการสร้างอารมณ์ขันที่น่าสนใจดี

3.แต่ก็ไม่ได้ชอบหนังถึงขั้น A+30 นะ เพราะเราว่ามันเป็นหนังตลก parody ที่น่ารักดี แต่มันไม่สามารถ sustain ความน่าสนใจไว้ได้ตลอดทั้งเรื่องน่ะ

เราว่าจุดอ่อนอย่างนึงของหนังคือการที่ตัวละครในหนัง parody แบบนี้มันไม่เป็นมนุษย์จริงๆน่ะ เพราะฉะนั้นคนดูจะไม่มีอารมณ์ผูกพันกับตัวละคร และไม่มีอารมณ์ร่วมกับตัวละคร คือตัวละครจะอยู่หรือจะตาย จะสุขหรือจะทุกข์ คนดูก็ไม่มีอารมณ์ร่วมกับตัวละครตรงจุดนั้น ไม่ได้เป็นห่วงหรือแคร์ความทุกข์ร้อนของตัวละคร คนดูแค่สนใจมุกตลก, ไอเดียเก๋ๆ, อะไรฮาๆ ไปเรื่อยๆมากกว่า

เพราะฉะนั้นการจะทำหนังที่ตัวละครห่างไกลจากความเป็นมนุษย์ แต่สามารถตรึงความสนใจคนดูไว้ได้ตลอดทั้งเรื่อง คนทำหนังมันต้องมี “ไอเดียเหลือเฟือ” ที่จะยัดใส่เข้าไปในหนังน่ะ คือให้ไอเดียในหนังมันช่วย please คนดูไปตลอดทั้งเรื่อง เพราะคนดูไม่แคร์ความรู้สึกตัวละคร ซึ่งเราว่าหนังของ Jean-Luc Godard, Alain Robbe-Grillet,Antonin Peretjatko อะไรพวกนี้ มันทำอะไรแบบนี้ได้ดี เพราะคนทำมันมีไอเดียเยอะจริง หรือคนทำมันมีทักษะพรสวรรค์อื่นๆที่สามารถสร้างฉากมหัศจรรรย์ในหนังต่อไปได้เรื่อยๆ โดยคนดูไม่ต้องแคร์ตัวละครแต่อย่างใด หรือแม้แต่หนังอย่าง THE NAMES OF LOVE (2010, Michel Leclerc) ก็น่าจะเข้าข่ายนี้ด้วยเหมือนกัน

แต่เราว่าหนังอย่าง OSS 117: LOST IN RIO มันเหมือนรถที่น้ำมันหมดระหว่างทางน่ะ ไอเดียในหนังมันน้อยไปหน่อย เราก็เลยรู้สึกว่าหนังมันไม่สามารถคงความรู้สึก “สนุกมาก” หรือ “เก๋มาก” ไปได้ตลอดทั้งเรื่อง

HORIZON (2017, Nutthachai Khruesena, 6min, A+30)

$
0
0

HORIZON ขอบฟ้า (2017, Nutthachai Khruesena, 6min, A+30)

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่
https://www.youtube.com/watch?v=aNMhdIgS51s

1.ดูแล้วชอบสุดๆ งดงามมากๆ ดูแล้วแทบร้องไห้ ถ้าถามว่ามีอะไรที่เราอยากให้แก้ไขในหนังเรื่องนี้ เราก็นึกไม่ออกเหมือนกัน เพราะเราว่าทุกอย่างมันดีมากๆ

2.จุดหลักสองจุดที่ชอบในหนังก็คือความสามารถในการดึงพลังจาก locations และการ “ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นภาพ” นะ

คือเราชอบการถ่ายตรอกและดาดฟ้าในหนังเรื่องนี้น่ะ เราชอบที่หนังเหมือนทิ้งจังหวะแป๊บนึงตอนที่ตัวละครจะเดินออกจากตรอก เพื่อให้เราได้เห็นสภาพตรอกและก้นบุหรี่ที่ทิ้งไว้ เราว่า momentนี้แหละมันเข้าทางเรา มันทำให้ “ตรอก” มันดูติดตา และไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ แต่เป็นสถานที่ที่มีพลังอะไรบางอย่างที่น่าจดจำ

การถ่ายดาดฟ้าในหนังเรื่องนี้ก็ดีสุดๆ คือพอแว้บแรกที่หนังตัดไปที่ฉากดาดฟ้า เราก็แอบเบ้ปาก เพราะนึกว่ามันจะเหมือนหนังสั้นของนักศึกษาไทยอีก 1000 เรื่องที่เราเคยดูมา ที่ต้องมีฉากดาดฟ้า หรืออย่างดีมันก็เป็นได้แค่ another variation of THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawatana) อะไรทำนองนี้

แต่พอดูไปเรื่อยๆ เราก็รู้สึกว่าหนังมันถ่ายดาดฟ้าออกมาได้มีชีวิต มีเสน่ห์ ทรงพลังมากๆในสายตาของเรา มันดูเป็นดาดฟ้าที่ไม่ clean และนั่นทำให้มันดูมีชีวิต มันเหมือนเป็นดาดฟ้าที่มีชีวิตจริงๆ ที่เคยรองรับผู้คนมาแล้วมากมายก่อนจะเกิดฉากนี้ มันเป็นดาดฟ้าที่มีชีวิตเป็นของตัวเอง ไม่ได้ดำรงอยู่เพียงแค่รองรับฉากนี้หรือตัวละครสองคนนี้เท่านั้น อะไรทำนองนี้น่ะ  

จริงๆแล้วเราก็บรรยายไม่ค่อยถูกเหมือนกัน แต่เราว่าหนังมันดึงพลังจาก locations ออกมาได้ดีมากๆ ดีกว่าหนังสั้นไทยอีกหลายๆเรื่อง หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือดีกว่า PANORAMA หมุนตัวเองเข้าหาแสง (2016) ของผู้กำกับคนเดียวกัน 555 คือ PANORAMA ก็ดูเหมือนเป็นหนังที่ให้ความสำคัญกับ locations เหมือนกัน แต่ PANORAMA ไม่สามารถดึงพลัง, มนต์เสน่ห์ หรือความมีชีวิตออกมาจาก locations ในหนังได้เลยน่ะ locations ต่างๆใน PANORAMA ดูเป็นแค่ “สถานที่” แต่ locations ใน HORIZON ดูเป็น “สถานที่ที่มีพลัง หรือมีจิตวิญญาณ” ซึ่งนั่นก็แสดงให้เห็นว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้พัฒนาฝีมือตัวเองมาในทางที่ถูกต้องมากๆในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

3.เราชอบช่วงท้ายของหนังอย่างสุดๆเลยด้วย เราว่ามันเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นภาพได้อย่างยอดเยี่ยมและงดงามมากๆ

คือถ้าพูดตรงๆแล้ว เราว่า “เนื้อเรื่อง” ของหนังมันก็ดูไม่น่าสนใจมากนักนะ คือประเด็น “เกย์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากคนบางกลุ่มในสังคม” นี่ พูดจริงๆมันก็คือชีวิตเราเองเหมือนกัน เราก็เจอปัญหานี้มาในชีวิตตัวเองเหมือนกัน แต่เราก็ยอมรับว่า เราเคยดูหนังเกย์ที่พูดถึงประเด็นนี้มาแล้วมาไม่ต่ำกว่า 100 เรื่องน่ะ เพราะฉะนั้นถึงแม้ประเด็นนี้ของหนังจะตรงกับชีวิตเราเอง แต่ตัวประเด็นก็ไม่ได้มีความน่าสนใจมากนัก เพราะมันดูเหมือนไม่ได้มีอะไรใหม่หรือแตกต่างอย่างชัดเจนจากหนังเกย์จำนวนมากที่เคยสร้างกันมาก่อนหน้านี้

เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไร ถ้าหากเราจะสร้างหนังที่พูดถึงประเด็นที่มันไม่น่าสนใจ ไม่ใหม่ เราก็ต้องทำให้หนังมันทรงพลังในด้านอื่นๆแทน เพราะหนังมันไม่สามารถพึ่งพาพลังจากตัวเนื้อเรื่องหรือประเด็นได้

และเราว่าหนังเรื่องนี้ทำได้สำเร็จ เพราะเราว่าช่วงสุดท้ายของหนังมันสื่ออารมณ์ความรู้สึกเศร้าของตัวละครออกมาได้ดีมากๆ คืออารมณ์ความรู้สึกหรือการกระทำของตัวละครในฉากสุดท้ายนี่มันก็ไม่ใหม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้มันทรงพลังมากๆสำหรับเราก็คือ “การถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ” น่ะ

คือเราชอบสองช็อตสุดท้ายของหนังมากๆ ช็อตนึงเหมือนเป็น medium shot ถ่ายตัวละครนั่งรำพึงรำพันเศร้าๆ ในห้อง โดยถ่ายตัวละครให้ดูเหมือนเป็น silhouette หรือเงามืด ในขณะที่ด้านนอกห้องดูสว่าง ส่วนอีกช็อตเป็นการ close up หน้าตัวละครผ่านกระจก โดยมีการปรับสีให้ดูเป็นสีฟ้าขุ่น

คือเราว่าพลังอย่างรุนแรงจากสองช็อตสุดท้าย ที่ทำให้เราดูแล้วแทบร้องไห้ มันมาจาก “การออกแบบช็อต” หรือ “การออกแบบซีน” ล้วนๆเลยน่ะ คือถ้ามันไม่ถ่าย silhouette ปะทะแสงสว่างแบบนี้, ไม่ออกแบบสีให้เป็นสีฟ้าแบบนี้, ไม่ใส่เพลงประกอบที่เหมาะสมเข้ามาในเวลาที่เหมาะสมแบบนี้ พลังมันจะไม่รุนแรงแบบนี้น่ะ

คือถ้าผู้กำกับไม่เจ๋งจริง ซีนนี้มันก็อาจจะออกมาเป็น ถ่ายตัวละครนั่งร้องไห้ รำพึงรำพันนานๆ คือถ้ามันถ่ายออกมาแบบ “ทื่อๆ ตรงๆ” มันก็จะเป็นแค่ “การเล่าเรื่อง ว่าตัวละครรู้สึกยังไง” โดย “ไม่มีพลังทางภาพ” น่ะ และพอมันขาดพลังทางภาพไป ความรู้สึกเศร้าของตัวละคร ก็อาจจะสื่อมาถึงคนดูไม่ได้ นอกจากว่ามันจะมีองค์ประกอบอื่นๆมาทดแทน อย่างเช่น monologues ที่เจ๋งจริง หรือการแสดงที่เจ๋งจริง อะไรทำนองนี้

เราก็เลยชอบ HORIZON ทั้งเรื่องอย่างสุดๆ โดยเฉพาะสองช็อตสุดท้าย เพราะเราว่านี่แหละคือ “การถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นภาพ” ได้อย่างดีงามากๆ และไม่ล้นเกินจนเกินไปด้วย

สิ่งที่ตรงข้ามกับสองช็อตสุดท้ายของหนังเรื่องนี้ ก็คือช่วงท้ายของหนังสั้นเรื่อง “1 วันในมหาวิทยาลัย “ฟ้า”” (2015) ของผู้กำกับคนเดียวกันนี้นี่แหละ 555 คือเราว่าผู้กำกับคนนี้พัฒนามาในทางที่ถูกต้องจริงๆ เพราะหนังเรื่อง 1 วันในมหาวิทยาลัย “ฟ้า” ก็เป็นหนังที่ต้องการสื่ออารมณ์เศร้าเหมือนกัน แต่ในหนังเรื่องนั้น อารมณ์มันล้นเกินจนเกินไปมากๆ มันพยายามยัดเยียดอารมณ์ให้คนดูมากๆ และมันก็เป็นการพยายามสื่ออารมณ์อย่างทื่อๆตรงๆ จนเราดูแล้วตลก แทนที่จะเศร้า อันนี้คือยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆน่ะแหละ ว่าทำไมสองช็อตสุดท้ายของ HORIZON เราถึงเศร้าไปพร้อมกับตัวละคร ในขณะที่ในหนังปี 2015 นั้น ตัวละครร้องไห้ แต่เราหัวเราะก๊าก

4.ชอบการเล่นกับ “ความกว้าง”, “ความแคบ” ด้วย เพราะในหนังเราจะเห็นทั้ง“ท้องฟ้า” ที่กว้าง, ตรอกที่แคบ, การถ่ายดาดฟ้าให้ดูกว้างโล่งมากๆในตอนแรก, การถ่ายดาดฟ้าผ่านรูประตูที่แคบในช่วงท้ายของซีน, ห้องของตัวละครที่ดูแคบเมื่อเทียบกับดาดฟ้า และการถ่าย close up ตัวละครในตอนจบที่ให้ความรู้สึกที่แคบมาก

เหมือนหนังมีการสร้างอารมณ์ dramatic ที่น่าสนใจจากการเล่นกับความกว้างความแคบอะไรแบบนี้น่ะ และเราว่ามันดีงามมากๆ และเห็นได้ชัดจากการถ่ายดาดฟ้าสองแบบในตอนต้นกับตอนท้ายของซีนที่ดูแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เราว่าประเด็นเรื่อง ความกว้าง-ความแคบ อะไรแบบนี้เป็นสิ่งที่พบได้ในหนังเรื่อง PANORAMA (2016) ของผู้กำกับคนนี้เหมือนกันนะ เหมือนใน PANORAMA เราจะเห็นการถ่าย “ห้อง” ที่ดูแคบและอึดอัดในตอนแรก เพราะเป็นการมองเข้ามาข้างในห้อง, หลังจากนั้นตัวละครก็ออกไปเที่ยวในสถานที่โล่งกว้างหลายแห่ง แล้วในตอนหลังหนังก็ถ่ายห้องของตัวละครเหมือนกัน แต่ใช้วิธีการถ่ายที่ทำให้ห้องดูไม่อึดอัดคับแคบเหมือนตอนแรก เพราะถ่ายด้วยการเลือกมุมที่มองจากข้างในออกไปยังวิวข้างนอกห้อง และตัวละครก็เปิดม่านออกรับหาแสง (นึกถึงฉากเปิดกับฉากปิดของหนังเรื่อง A ROOM WITH A VIEW (1985, James Ivory))

5.เราชอบความ “obscure” ของ HORIZON ด้วยแหละ หมายถึงว่าหนังไม่บอกหรือไม่เล่าอะไรบางอย่างตรงๆน่ะ และมันช่วยให้หนังเข้าทางเรามากขึ้น

อย่างเช่นในฉากสุดท้ายนี่ เราก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เราไม่รู้ว่าหนุ่มรอยสักหายไปไหน บางทีตัวละครแทนอาจจะแค่ไม่ได้เจอหน้าหนุ่มรอยสักมาแค่อาทิตย์นึงก็ได้, บางทีเขาอาจจะย้ายไปต่างจังหวัด, ย้ายไปต่างประเทศ, มีแฟนใหม่, ตายไปแล้ว ฯลฯ เราก็ไม่รู้เหมือนกัน และเราก็ไม่รู้แน่ชัดด้วยว่า ตัวละครพระเอกมีปัญหาหนักใจอะไรมากมายในตอนท้าย เขาแค่มีปัญหากับเพื่อน+ครูที่โรงเรียนเหมือนที่เล่าไปในฉากดาดฟ้า หรือมีปัญหาอื่นๆอีก

เพราะฉะนั้นฉากสุดท้ายของหนังจึงเป็นการสื่ออารมณ์ความรู้สึกเศร้าจนทนไม่ไหว ความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายเป็นหลักน่ะ โดยเราไม่รู้ “สถานการณ์ที่จำเพาะเจาะจง” ของตัวละคร

ซึ่งมันก็เลยทำให้เราเอาตัวเองเข้าไปสวมกับอารมณ์ตัวละครในฉากสุดท้ายได้ง่ายขึ้นนะ เพราะพูดจริงๆก็คือว่า เราเป็นคนที่คิดจะฆ่าตัวตายบ่อยมากตั้งแต่ตอนเป็นวัยรุ่นน่ะ อารมณ์ประเภทที่ว่า “กูไม่ไหวแล้ว” นี่เป็นอารมณ์ที่เราเข้าใจได้ดีสุดๆเลย เพราะฉะนั้นเราก็เลยเข้าใจหรือ identify กับอารมณ์ของตัวละครในฉากสุดท้ายได้เต็มที่

แต่ไม่ใช่ว่า ถ้าหากหนังมันเล่าเรื่องชัดเจนตรงจุดนี้ แล้วมันจะผิดนะ คือมันจะดีกันไปคนละอย่างน่ะ คือสมมุติว่าถ้าหากหนังเรื่องนี้ขยายเป็นหนังยาว แล้วหนังเล่าเรื่องอย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น พระเอกถูกกดดันจากอะไรบ้าง แล้วหนุ่มรอยสักหายไปไหน คนดูก็อาจจะเข้าใจตัวละคร และ “มีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละคร” น่ะ (อย่างเช่นฉากสุดท้ายของ CALL ME BY YOUR NAME)   เพียงแต่ว่าเราจะไม่สามารถนำเอา “ประสบการณ์จากชีวิตจริงของเราเอง” เข้าไปสวมทับกับตัวละครได้อย่างเต็มที่ เพราะประสบการณ์ของเราเองกับประสบการณ์ของตัวละครมันจะแตกต่างกัน

แต่พอหนัง HORIZON มันคลุมเครือตรงจุดนี้ มันก็เลยเหมือนเปิด “ช่องว่าง” ให้เราเอาประสบการณ์ของตัวเองเข้าไปผูกกับอารมณ์เศร้าของตัวละครได้ง่ายขึ้นน่ะ มันก็เลยเหมือนดีกันไปคนละแบบ คือหนังจะเล่าเรื่องแบบชัดเจนก็ได้ แต่ที่ทำออกมาคลุมเครือแบบนี้ มันก็ดีในอีกแง่นึงเหมือนกัน (คืออย่าง CALL ME BY YOUR NAME เราก็ชอบฉากจบมากๆ แต่เราไม่ได้ดูฉากนั้นแล้วร้องไห้ เพราะเราไม่เคยมีประสบการณ์ชีวิตแบบพระเอกของหนัง ในขณะที่ HORIZON นั้น เราดูแล้วอยากร้องไห้ เพราะความคลุมเครือของฉากจบมันคือการเปิดช่องว่างให้เราเอา “ความเศร้าจากชีวิตจริงของเรา” ใส่เข้าไปในหนังได้ง่ายขึ้น)

6.อีกจุดนึงที่ดีมากในแง่ความคลุมเครือของหนัง คือบทสนทนาเรื่องความเท่าเทียมอะไรนี่แหละ 555

คือตัวละครในหนังมีการพูดกันถึงเรื่องความเท่าเทียมอะไรพวกนี้นะ แต่คุยกันแบบ “งงๆ” น่ะ คือตอนดูจะงงๆว่าที่ตัวละครพูดถึงความเท่าเทียม มันหมายถึงอะไรยังไงกันแน่

ซึ่งบทสนทนาที่ดูงงๆหรือคลุมเครือนี้ มันมีข้อดีสองอย่างนะ

6.1 คือพอเห็นตัวอักษรที่ปักบนเสื้อตัวละคร มันก็เลยทำให้สงสัยว่า หนังมันแค่พูดเรื่องสิทธิเกย์ หรือพูดถึงเรื่องสิทธิอื่นๆด้วย ความคลุมเครือของบทสนทนาในแง่นี้มันก็เลยเหมือนทำให้ประเด็นของบทสนทนามันขยายกว้างมากยิ่งขึ้น

6.2 มันช่วยลดอาการ “สั่งสอนคนดู” ลงได้น่ะ คือพอบทสนทนามันคลุมเครือ มันก็เลยเหมือนกับว่าหนังไม่ได้ต้องการสั่งสอนคนดูตรงๆ หรือบอกคนดูตรงๆ

แต่ถ้าพูดกันจริงๆแล้ว เราว่า “บทสนทนา” ของหนังเรื่องนี้ คือจุดที่เราชอบน้อยที่สุดของหนังนะ คือเราว่าหนังcast นักแสดงมาได้ดี เพราะลุคของนักแสดงดูไม่เหมือนในหนังเกย์ทั่วๆไป,  การถ่ายภาพ การออกแบบช็อตอะไรต่างๆก็ดีมาก เหมือนอย่างที่เราเขียนไปแล้ว, ประเด็นของหนังอาจจะไม่ใหม่ แต่ก็ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นจุดด้อยของหนัง แต่ในส่วนของ dialogues + monologues ของหนังเรื่องนี้นั้น เรารู้สึก “กลางๆ” กับมันน่ะ คือไม่ได้คิดว่ามันแย่จนต้องปรับปรุง เพียงแต่คิดว่ามันไม่ได้ดีเลิศเท่ากับองค์ประกอบด้านอื่นของหนัง

แต่พอดูเทียบกับหนังเก่าๆของผู้กำกับคนนี้แล้ว เราว่าเขาก็พัฒนาตรงจุดนี้มาได้มากนะ คือเราว่าในหนังเก่าๆของผู้กำกับคนนี้นั้น จุดอ่อนที่เห็นได้ชัดเลยคือ “บทสนทนาช่วงยิงธีม” น่ะ โดยเฉพาะในหนังเรื่อง “อีกา” (2017)และ “PANORAMA” คือเราว่าอีกาเป็นหนังที่ถ่ายภาพได้สวยมาก นึกว่าหนังของ Nicolas Winding Refn แต่บทสนทนาของหนังในช่วงยิงธีมนี่ทำได้ทื่อมะลื่อมาก ส่วน PANORAMA นั้น บทสนทนาช่วงยิงธีมของตัวละครนี่ทำให้เรากลุ้มใจมาก 555

เพราะฉะนั้น HORIZON ก็เลยเหมือนแก้จุดอ่อนตรงนี้ได้สำเร็จน่ะ คือการพูดถึงความเท่าเทียมของตัวละครในหนังเรื่องนี้มันดูไม่ยัดเยียดมากเท่ากับการยิงธีมในหนังเรื่องก่อนๆ เราก็เลยไม่รู้สึกต่อต้านมัน เพียงแต่ว่าบทสนทนาคงยังไม่ใช่ “จุดแข็ง” ของหนังเรื่องนี้

ถ้าจะถามว่าควรพัฒนายังไงในด้านนี้ เราก็ไม่รู้เหมือนกัน 555 ไม่รู้ว่าการอ่านงานวรรณกรรมดีๆหรือการดูละครเวทีดีๆจะช่วยพัฒนาในด้านนี้ได้หรือเปล่า เพราะเราว่าผู้กำกับคนนี้มีจุดแข็งที่ visualน่ะแหละ แต่ “บท” อาจจะไม่ใช่จุดแข็งของหนัง คือการยิงธีมของหนังผ่านทางบทสนทนา มันอาจจะดูยังไม่ลงล็อคนัก หรือไม่ทรงพลังมากนัก หรือไม่เช่นนั้นหนังก็ต้องสื่อธีมหรือประเด็นผ่านทางการคิดซีนหรือสถานการณ์อื่นๆแทนที่จะยิงธีมผ่านทางบทสนทนา (อย่างเช่นใน MALILA ที่หนังทรงพลังทั้งงานด้านภาพ และการคิดซีนหรือสถานการณ์ต่างๆ)

คือเราว่า HORIZON“ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครออกมาเป็นภาพ”  ได้อย่างงดงามน่าพอใจมากๆแล้วแหละ แต่ถ้าหากจะหันไปทำหนังเรื่องอื่นๆที่พูดถึง “ประเด็นสังคม” หรือหนังที่ต้องการสื่อ “ข้อคิด” อะไรบางอย่างแก่ผู้ชม สิ่งที่อาจจะเป็นจุดอ่อนหรือต้องระวังก็คือ “บทภาพยนตร์” และ “บทสนทนา” ของตัวละครน่ะ แต่งานด้าน visuals นี่หายห่วงได้แล้ว งดงามมากๆ

BANGKOK LAYERS

$
0
0

BANGKOK-FORTIFICATION, EAST SIDE (2018, Sawitree Premkamon, video installation, 4min)

วิดีโอจำลองภาพทางสถาปัตยกรรมของ ป้อมปราการฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เคยเกิดกบฏมักกะสัน และการสู้รบระหว่างพระเพทราชากับกองทัพฝรั่งเศส ก่อนที่ป้อมปราการนี้จะถูกรื้อถอนลงเมื่อมีการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ และการก่อสร้างพระบรมมหาราชวังในปี 1782

KRUNGTHEP K MA-XA (2018, Pachara Chaireungkitti, video installation, 3min)
กรุงเทพก็ม้า-อ๋า

เป็นวิดีโอที่พูดถึง “สำเนียงเหน่อ” ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมส่วนกลางของไทย โดยมีการคิดตัววรรณยุกต์ใหม่ที่เป็นการเอาไม้โทกับไม้จัตวามาผสมกัน เพื่อจะได้สะท้อนสำเนียงเหน่อด้วย (จาก “หมา” กลายเป็น “ม้า-อ๋า”) เพราะตัวอักษรของส่วนกลางไทยไม่สามารถใช้สะท้อนสำเนียงเหน่อได้

แต่จริงๆแล้วเราอยากให้ตัววิดีโอมันบันทึกเสียงคนพูดเหน่อให้เราได้ฟังด้วยนะ เหมือนในวิดีโอเราเห็นแต่ตัวอักษรน่ะ แล้วเราเป็นคนที่ไม่คุ้นกับสำเนียงเหน่อ เพราะฉะนั้นพอเราเห็นแค่ตัวอักษร เราก็จะจินตนาการไม่ออกว่าถ้าหากออกเสียงแบบเหน่อๆแล้วเสียงมันจะเป็นยังไง

TIME ZERO (2018, Nareemas Chehlaeh, video installation, 1min)

งงกับวิดีโอนี้มากที่สุดในนิทรรศการ “บางกอกหลอกชั้น” แต่ก็คิดว่ามันน่าสนใจนะ มันเป็นการให้นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่ศึกษากลุ่มดาวฤกษ์ NGC  2126 มาทำวิดีโอเกี่ยวกับวันที่ 11 ก.ค. ปี 1688 ซึ่งเป็นปีที่พระเพทราชาก่อการกบฏชิงอำนาจจากพระนารายณ์น่ะ และเป็นวันสวรรคตของพระนารายณ์  สรุปว่าดูวิดีโอนี้แล้วไม่เข้าใจอะไรทั้งสิ้น แต่เหมือนมี concept อะไรบางอย่างที่น่าสนใจ

SOMETHING LIKE A THING, SOMETIME LIKE EVERY TIME (2018, Anupong Charoenmitr, video installation, A+30)

ชอบสุดๆ ติดอันดับประจำปีนี้แน่นอน งานชิ้นนี้เป็นวิดีโอหลายจอ ประกอบด้วยวิดีโอ STATEROOM (5min), JOKER (10min), PEOPLE (10min), MANGPO (4min), MANGJI (4min)และ MINISTER (2min) โดยทุกอันจะเกี่ยวข้องกับลิเก

ชอบอันที่เป็น JOKER กับ STATEROOM (ท้องพระโรง) มากๆ เพราะสองชิ้นนี้จะสัมพันธ์กัน เพราะ JOKER จะพร่ำรำพันด้วยความทุกข์ใจเกี่ยวกับ “ท้องพระโรงที่ขยายออกไปจนดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด” และ STATEROOM ก็นำเสนอภาพท้องพระโรงที่ใหญ่จนดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด

วิดีโอ PEOPLE เราก็ชอบมาก ที่นำเสนอคนหลากหลายที่ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นมาในท้องพระโรงลิเก
                                                                            
ชอบเสาท้องพระโรงอย่างสุดๆด้วย มันเป็นเสาลวงตา คือถ้าดูด้านบนมันจะดูเหมือนเป็นเสากลม แต่ถ้าดูด้านล่างมันจะเหมือนเป็นเสาสี่เหลี่ยม ไม่รู้คิดออกแบบฉากแบบนี้ขึ้นมาได้ยังไง เริ่ดมากๆ

งานแสดงที่ชั้น 4 BACC จนถึง 22 เม.ย.นะ

INSIGHT (2018, Kaensan Rattanasomrerk, video installation, A+30)

วิดีโอสองจอ จอละ 4.30 นาที อันนึงเป็นการพูดถึงศาลพระพรหมแบบงงๆ แต่เข้าใจว่าตั้งใจให้งงน่ะ เหมือนในวิดีโอจะมีเสียงผู้หญิงพูดถึงศาลพระพรหมไปเรื่อยๆ แต่ฟังแล้วจับใจความอะไรไม่ได้ (อาจจะสะท้อนสังคมนี้ที่เราพูดความจริงบางอย่างไม่ได้)

อีกอันเหมือนเป็นการเอาภาพถ่ายธรรมชาติมาดัดแปลงให้กลายเป็นภาพนามธรรม อันนี้งามมากๆ สวยมากๆ ชอบมากๆ

ตอนดูเราไม่รู้นะว่าวิดีโอสองชิ้นนี้คืองานเดียวกัน ต้องมาอ่านสูจิบัตรถึงจะรู้ว่าวิดีโอสองชิ้นนี้คืองานเดียวกัน 555

Viewing all 3291 articles
Browse latest View live