Quantcast
Channel: Limitless Cinema
Viewing all 3293 articles
Browse latest View live

BOXING (1977, Ion Grigorescu, Romania, video installation, A+20)

$
0
0
BOXING (1977, Ion Grigorescu, Romania, video installation, A+20)

ชายหนุ่มเปลือยกายต่อสู้กับตัวเอง น่าสนใจดีที่ร่างของเขาร่างนึงค่อยๆเลือนจางลงเรื่อยๆขณะต่อสู้ แต่ยิ่งร่างนั้นเลือนจางมากเท่าไหร่ พลังของมันก็ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น  เราดูแล้วก็ไม่รู้เหมือนกันว่าวิดีโอนี้สื่อถึงอะไร แต่มันทำให้เรานึกถึงเรื่องที่ว่า บางทีการต่อสู้กับสิ่งที่มองไม่เห็น หรืออะไรบางอย่างที่เป็นนามธรรม (อย่างเช่นความคิดและความเชื่อของคน) อาจจะยากกว่าการต่อสู้กับอะไรที่เป็นรูปธรรมอย่างเช่นตัวคนคนนั้นในฐานะก้อนเนื้อที่มีจู๋ก็ได้


วิดีโอนี้ทำให้นึกถึงงานของ Maya Deren ด้วย

MALADY OF US (2017, Tanakit Kitsanayunyong, 10min, A+30)

$
0
0
MALADY OF US (2017, Tanakit Kitsanayunyong, 10min, A+30)
โรคของฉันเธอเขาท่านเหล่านั้น

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่

1.ดีใจสุดๆที่คุณ Tanakit กลับมาทำหนังเปรี้ยงๆอีกครั้ง เพราะเราเคยชอบหนังของเขาเรื่อง QUOTATION MARK (อัญประกาศ) (2010) กับHI-DEFINITION GIRL (หญิงสาวแห่งความคมชัด) (2011) มากๆ แต่หลังจากนั้นเขาก็แทบจะไม่ได้ทำหนังเปรี้ยงๆออกมาอีก และดูเหมือนจะหายสาบสูญไปจากวงการหนังสั้นเหมือนกับนักศึกษามหาลัยส่วนใหญ่ที่เลิกทำหนังสั้นไปหลังจบการศึกษาแล้ว เพราะฉะนั้นการที่เขาสร้างหนังเรื่องนี้ออกมาก็เลยเป็นที่น่าดีใจมากสำหรับเรา

2.พอได้ดูเรื่องนี้แล้วก็ชอบสุดๆเลยนะ เพราะหนังเรื่องนี้มีความเป็นกวีที่เข้าทางเรามากๆ และมันก็ดูเหมือนจะสอดแทรกประเด็นการเมืองเข้ามาด้วย มันก็เลยไม่ใช่หนังกวีที่ลอยๆเป็นนามธรรม เพ้อถึงหญิงสาวและการทำหนังเพียงอย่างเดียว แต่มีประเด็นทางการเมืองมาช่วย shape ให้หนังดูไม่เบาหรือลอยฟุ้งจนเกินไป หรือดูมีอะไรที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

เราเข้าใจว่าหนังเรื่องนี้ทำส่งโครงการ Ryuichi Sakamoto ที่มี Apichatpong Weerasethakul อยู่ในโครงการด้วยนะ และลักษณะข้างต้นที่เราบรรยายมา คือ ความเป็นกวี (หรือความเป็นหนังทดลอง) + ความเป็นการเมือง มันก็คือองค์ประกอบหลักของหนัง Apichatpong นั่นแหละ เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ค่อนข้างตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว คือมันมีองค์ประกอบหลักที่สามารถเทียบเคียงได้กับหนังของเจ้ย และเราว่าหนังมันก็ใช้เพลงของ Ryuichi Sakamoto ได้ดีด้วย คือ “อารมณ์” ของเพลงกับภาพมันไปด้วยกันได้ดีในระดับนึงน่ะ และ “จังหวะ” ของภาพกับเพลงก็ไปด้วยกันได้ดีในระดับนึงเช่นกัน

3.จุดเด่นที่สุดของหนังเรื่องนี้คือการใช้ภาพแบบ superimposition ในหลายๆซีน และมีการใช้ split screen มาด้วยในบางซีน รวมทั้งการใช้ text แทนเสียงของตัวละคร และเราก็ชอบการใช้superimposition ในหนังเรื่องนี้มากๆ คือจริงๆแล้วมันเป็นเทคนิคที่เราชอบมากๆน่ะ แต่ส่วนใหญ่มันจะพบแค่ในหนังทดลองของบางคนเท่านั้น เพราะการ superimposition ส่วนใหญ่มันไม่ช่วยในการเล่าเรื่อง (ยกเว้นในหนังยุคเก่า ที่มีการ superimposition ใบหน้าตัวละครกับเหตุการณ์ที่อยู่ในความคิด/ความทรงจำของตัวละคร)  แต่มันเป็นเทคนิคที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงบรรยายไม่ถูกสำหรับเรา เวลาเราเห็นภาพเคลื่อนไหวสองหรือสามภาพซ้อนทับกัน และเราว่ามันเป็นหนึ่งในเทคนิคที่มีแต่สื่อภาพยนตร์เท่านั้นที่จะทำได้ดีน่ะ ในขณะที่สื่อวรรณกรรมทำแบบนี้ไม่ได้

คือการใช้ superimposition ที่เราชอบสุดๆ อาจจะพบได้ในหนังของ Peter Tscherkassky, Etant Donnes และ Wachara Kanha และเราก็แทบไม่เห็นผู้กำกับหนังไทยใช้เทคนิคนี้น่ะ เราก็เลยดีใจมากๆที่หนังเรื่องนี้นำเทคนิคนี้มาใช้ และใช้ได้ดีมากๆด้วย

4.เราว่า superimposition และ split screen ในหนังเรื่องนี้สร้างความประทับใจให้กับเราใน 3 ด้านหลักๆนะ

4.1 ความงาม
 คือเราว่าหลายๆซีนในหนังเรื่องนี้มันถ่ายมางามน่ะ แม้แต่ซีนที่ไม่ได้มี superimposition อย่างเช่นซีนหญิงสาวยืนข้างหน้าต่างที่มีผ้าม่านพลิ้วไหว แต่เวลาจะเอาซีน 2-3 ซีนมาวางซ้อนทับกัน มันยิ่งยากเข้าไปอีกในการจะทำให้มันออกมาดูงดงามเวลาซ้อนทับกันแล้ว แต่หนังเรื่องนี้ก็ทำได้สำเร็จ คือซีนต่างๆเวลาซ้อนทับกันแล้วมันอาจจะไม่ได้ดู “งดงามมากขึ้น” ในทาง visual แต่มันก็ยังคงดูงดงามในระดับนึงอยู่ดีในหนังเรื่องนี้

4.2 ความหมาย          
เราว่าการซ้อนทับกันในบางซีนของหนังเรื่องนี้ คำนึงถึง “ความหมาย” เป็นหลัก มากกว่าความพยายามจะทำให้ภาพดู visually beautiful มากขึ้นเวลาซ้อนทับกันแล้วน่ะ ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างจากหนังของ Etant Donnes คือหนังของ Etant Donnes มัน superimposition กันหนักมาก แต่มันซ้อนทับกันแล้วมันยิ่ง “visually beautiful” แต่มันอาจจะไม่ได้เน้นการสร้างความหมายแบบในหนังเรื่องนี้น่ะ

คือในหนังเรื่องนี้ มีบางฉากที่เราว่ามัน superimposition แล้วมันกระตุ้นความคิดเราให้เราตีความน่ะ ไม่ว่าผู้กำกับจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อย่างเช่น

4.2.1 ฉากที่ภาพนกหวีดสีแดง, ศาลพระภูมิ กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซ้อนทับกัน 3 layers คือแค่เจอฉากนี้ตอนต้นเรื่อง เราก็กราบแล้ว ชอบมากๆที่คิดฉากแบบนี้ขึ้นมาได้ ส่วนผู้ชมแต่ละคนจะตีความฉากนี้อย่างไร ก็แล้วแต่ผู้ชมแต่ละคนจะตีความ

4.2.2  ฉากที่เราชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้ ก็คือฉาก รถยางแบนจอดอยู่ใต้ต้นเฟื่องฟ้า (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) ที่ซ้อนทับกับภาพวิวท้องถนนที่แล่นไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ และมี text พูดเรื่องการหยุดทุกสิ่งเมื่อเวลา 08.00 น.มาถึง

คือแค่ภาพรถยางแบนจอดอยู่ใต้ต้นเฟื่องฟ้า มันก็เป็นภาพที่เข้าทางเราสุดๆแล้วน่ะ เราว่าภาพนี้มันทรงพลังมากๆโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ภาพรถที่หมดสภาพแล้ว ไปต่อไปไม่ได้ และถูกทิ้งให้อยู่ใต้ธรรมชาติ แต่พอเอาภาพนี้มาซ้อนทับกับวิวท้องถนน มันก็เลยยิ่งทรงพลังขึ้นอีกหลายเท่า เพราะมันเป็นความขัดแย้งกันที่น่าสนใจมากๆ ความขัดแย้งกันระหว่างรถที่วิ่งไม่ได้ กับวิวท้องถนนที่ไหลผ่านไปเรื่อยๆไม่หยุดหย่อน

เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการซ้อนทับภาพรถยางแบนกับวิวท้องถนนเข้าด้วยกันสื่อถึงอะไร แต่เราว่ามันกระตุ้นความคิดมากๆ และโดยส่วนตัวนั้น เราคิดถึงประเทศชาติของเรา ประเทศชาติที่ระบบการปกครองเหมือนอยู่ในยุคเมื่อหลายสิบปีก่อน ยุคที่ประชาชนยังไม่มีสิทธิมีเสียง และการพัฒนาทุกอย่างถูกหยุดเอาไว้ ในขณะที่เวลาและโลกทั้งใบกำลังก้าวรุดหน้าไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้ง ฉากรถยางแบนกับวิวท้องถนนก็เลยเป็นหนึ่งในฉากที่เราชอบที่สุดในปีนี้ไปเลย

ประเด็นเรื่อง “การหยุดนิ่งของประเทศชาติ” นี้ อาจจะสื่อผ่านทางการหลับใหลของคนหลายๆคนในหนังเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้อาจจะสอดคล้องกับหนังเรื่อง CEMETERY OF SPLENDOUR ด้วย

4.2.3 อีกฉากที่กระตุ้นความคิดเรามากๆในหนังเรื่องนี้ ก็คือฉากที่มีการซ้อนทับภาพเมืองใหญ่จากระยะไกล กับภาพวงกลมหลากสีเข้าด้วยกัน คือในฉากนี้เราจะเห็นตึกต่างๆมากมายอยู่ริมขอบล่างของภาพ แต่ตรงจุดที่เราควรจะเห็นท้องฟ้าและพระอาทิตย์ลอยอยู่เหนือตึกต่างๆนั้น เรากลับเห็นวงกลมหลากสีแทน คือฉากนี้เราไม่รู้ว่ามันสื่อความหมายอะไร และภาพมันก็ไม่ได้ “สวย” แบบตามขนบด้วย แต่มันเป็นภาพที่เตะตาตรึงใจมากๆ และเราว่าการ superimposition ในฉากนี้มันกระตุ้นความคิดผู้ชมได้ดีมาก

4.3 ความเป็นกวี
คือเราว่าหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ พอมันซ้อนทับกันแล้วมันให้อารมณ์งดงามแบบกวีนะ คือมันเป็นการซ้อนทับกันแล้วเราไม่รู้ว่า “มันจะสื่อความหมายอะไร” และ “ภาพมันก็ไม่ได้ดูงดงามมากขึ้นด้วย” แต่มันเป็นการซ้อนทับกันแล้วก่อให้เกิดอารมณ์งดงามแบบกวีขึ้นมาน่ะ อย่างเช่นภาพกิ่งไม้ใบหญ้าเวลาซ้อนทับกับภาพอื่นๆในหนังเรื่องนี้  เราว่าหนังเรื่องนี้สร้างอารมณ์แบบกวีออกมาได้งดงามพอสมควรเลยทีเดียว และมันเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ง่ายๆด้วย

คือมันมีหลายฉากในหนังเรื่องนี้ที่อาจจะเป็นการซ้อนภาพธรรมดาสองภาพเข้าด้วยกันน่ะ อย่างเช่นภาพคนนอนคุดคู้ที่ซ้อนทับกับภาพน้ำตก, ภาพคนนอนหลับบนโซฟาที่ซ้อนทับกับภาพต้นไม้ใบหญ้า ฯลฯ คือถ้าหากภาพเหล่านี้มันอยู่เดี่ยวๆ ไม่ถูกซ้อนทับกับภาพอื่นๆ เราก็อาจจะอ่านความหมายภาพพวกนี้แบบ literally ในตอนแรก อย่างเช่น “อ๋อ เราเห็นคนนอนคุดคู้”, “อ๋อ เราเห็นน้ำตก”, “เราเห็นน้ำวน”,”เราเห็นคนในอ่างอาบน้ำ” แล้วอาจจะพยายามหาทางเชื่อมโยงภาพที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้เข้าด้วยกัน แล้วถึงจะเกิดอารมณ์แบบกวีขึ้นมา

แต่พอภาพเหล่านี้ถูกซ้อนทับกันไปเลย มันก็เหมือนมันเกิดอารมณ์กวีขึ้นในฉากนั้นเลยโดยทันที เหมือนอารมณ์กวีมันทวีคูณเป็นสองเท่ากว่าวิธีการข้างต้น คือพอเราเห็นภาพราวเสื้อผ้าซ้อนทับกับภาพกิ่งก้านใบไม้ปุ๊บ หัวสมองเราจะรับรู้ภาพที่เห็นในทันทีว่า “มันไม่ได้ต้องการนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาแน่ๆ” หรือเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า เราเห็นประโยคที่แตกต่างกันสองประโยคเขียนซ้อนทับกันอยู่น่ะ และพอเราเห็นประโยคสองประโยคเขียนซ้อนทับกันอยู่ เราก็จะอ่านทั้งสองประโยคไม่ออก แต่จะต้องใช้อีกระบบหนึ่งในหัวหรือในจิตเราไปสัมผัสรสชาติ, อารมณ์ หรือความงามจาก “สิ่งที่เราอ่านไม่ออก” นั้นแทน และเราก็เรียกอารมณ์ของ “ความสุขที่ได้สัมผัสอะไรที่งดงามแต่อยู่เหนือความเข้าใจของเรา” นี้ว่าอารมณ์กวี และเราว่า superimposition ในหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ให้อารมณ์แบบนี้ คือจริงๆแล้วหลายๆฉากมันอาจจะมี “ความหมาย” ก็ได้นะ แต่พอเราตีความมันไม่ออก เราไม่รู้ว่า “น้ำ” ที่ปรากฏอยู่ในหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้สื่อถึงอะไรกันแน่ เราก็เลยหันไปจับอารมณ์กวีในหลายๆฉาก แทนที่จะพยายามตั้งหน้าตั้งตาตีความมัน

5.สาเหตุที่เราชอบฉาก “รถยางแบนใต้ต้นเฟื่องฟ้า” กับฉาก “วงกลมหลากสีเหนือหมู่ตึกในเมืองใหญ่” มากที่สุดในหนังเรื่องนี้ นอกจากจะเป็นเพราะว่ามัน thought provoking มากๆทั้งสองฉากแล้ว ยังเป็นเพราะว่า มันดู unique หรือไม่คล้ายกับหนังเรื่องอื่นๆที่เราเคยดูมาด้วย

คือจริงๆแล้วเราว่าหนังทั้งเรื่องนี้ถ่ายงามมาก ทรงพลังมากๆในหลายๆฉากน่ะ แต่ถ้าหากถามว่าทำไมเราชอบสองฉากข้างต้นมากที่สุด มันก็เป็นเพราะว่าฉากอื่นๆบางฉากในหนังเรื่องนี้ มันไปคล้ายกับหนังเรื่องอื่นๆโดยไม่ได้ตั้งใจน่ะ คือมันสวยหรือทรงพลังในตัวมันเองน่ะแหละ แต่พอมันไปคล้ายฉากที่เราเคยเห็นในหนังเรื่องอื่นๆมาแล้ว พลังของมันก็เลยลดลงไปหน่อยในสายตาของเรา

ตัวอย่างของฉากที่คล้ายกับหนังเรื่องอื่นๆโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็มีเช่น

5.1 ฉากแมงกะพรุน ที่ทำให้นึกถึง PULMO MARINA (2010, Aurelien Froment) และ IN APRIL THE FOLLOWING YEAR, THERE WAS A FIRE (2012, Wichanon Somumjarn)

5.2 ฉาก split screen ที่มีบันไดเลื่อนอยู่ตรงกลางในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง12:12 (Youngjeong Oh)คือจริงๆสองฉากนี้มันก็ไม่ได้คล้ายกันมากนะ แต่หัวสมองเรามันเชื่อมโยงสองฉากนี้เข้าด้วยกันเองโดยอัตโนมัติน่ะ คือพอเห็นฉากบันไดเลื่อนในหนังเรื่องนี้ปุ๊บ หัวสมองของเราก็จะคิดทันทีว่า “เอ๊ะ เราเคยเห็นอะไรคล้ายๆกันนี้จากที่ไหนน้า” และเราว่าการที่หัวสมองของเราพยายามจับคู่ภาพจากหนังเรื่องต่างๆเข้าด้วยกันเองแบบนี้มันสนุกดี 555

5.3 การใช้ภาพ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” พร้อมกับมี text ที่ระบายความคิดถึงผู้หญิงคนนึงที่จากไป มันทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง “คิดถึงนะ เป็นประโยคบอกเล่า ไม่ต้องการคำตอบ แต่ต้องการคนได้ยิน” (2015, Watcharapol Saisongkroh)

5.4 การใช้ภาพ “เมืองกลับหัว” ในช่วงท้ายหนังเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง ON SACRED LAND (1983-1984, Peter Kennedy & John Hughes) ที่นำเสนอความพยายามของคนขาวในการ civilize ชาวอะบอริจินส์ในออสเตรเลีย

แต่ที่เราลิสท์ “ฉากต่างๆที่คล้ายกันโดยไม่ได้ตั้งใจ” มานี้ เราไม่ได้ต้องการจะบอกว่านี่คือ “ข้อเสีย” ของหนังเรื่องนี้นะ เพราะมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่เราจะสร้างหนังสักเรื่องขึ้นมา โดยที่ทุกซีนของหนังเรื่องนั้นต้องไม่ซ้ำกับภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เคยสร้างขึ้นมาแล้วบนโลกนี้ มันไม่มีทางเป็นไปได้ และเราก็ไม่สนับสนุนให้ใครทำแบบนั้นด้วย แต่ที่เราลิสท์ฉากต่างๆ 4 ฉากข้างต้นมานี้ เพราะเราว่ามันสนุกดีสำหรับเรา ที่หัวสมองของเรามันเชื่อมโยงหนังหลายๆเรื่องเข้าด้วยกันเองโดยอัตโนมัติ โดยที่ผู้กำกับไม่ได้ตั้งใจ และเราแค่ต้องการจะบอกว่า เพราะเหตุใดฉาก “รถยางแบนใต้ต้นเฟื่องฟ้า” กับฉาก “วงกลมหลากสีเหนือหมู่ตึกในเมืองใหญ่” ถึงเป็นฉากที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้เท่านั้นแหละ

6.อย่างไรก็ดี ถึงแม้เราอาจจะชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ แต่มันก็อาจจะไม่ได้ติดอันดับหนึ่งประจำปีของหนังสั้นไทยที่เราได้ดูในปีนี้นะ คือเราว่าหนังเรื่องนี้อาจจะมีจุดที่พัฒนาได้อีกน่ะ มันยังไม่ได้ “สุดยอด” ซะทีเดียวหากวัดจากอารมณ์ความรู้สึกของเรา

จุดที่ทำให้หนังเรื่องนี้ไม่ได้ “สุดยอด” ซะทีเดียวสำหรับเรา มันอาจจะเกิดจากการที่เรา “ตีความ” หนังเรื่องนี้ไม่ได้ในหลายๆฉากน่ะ เพราะฉะนั้นผู้ชมคนอื่นๆอาจจะไม่มีปัญหานี้เหมือนเราก็ได้ ถ้าหากผู้ชมคนนั้นตีความหนังเรื่องนี้ได้หมด

คือเวลาที่เราดูหนังเรื่องนี้ เรารู้สึกเหมือนกับว่า “ความเป็นกวี” กับ “ความเป็นการเมือง” มันอาจจะส่งเสริมกันและกันก็จริง แต่บางทีมันก็อาจจะขัดแข้งขัดขากันเองด้วย

รอบแรกที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราพยายามจะตีความแต่ละฉากนะ แต่ก็พบว่าหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้เราตีความมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นพอเราดูหนังเรื่องนี้รอบสอง เราก็เลยพยายามไม่ตีความมัน ลองปล่อยอารมณ์กับจิตของเราให้ไปกำซาบรสชาติความเป็นกวีจากหนังเรื่องนี้แทน แต่ก็พบว่ามันก็ "ไม่สุด” สำหรับเราน่ะ

เราก็เลยแอบตั้งสมมุติฐานขึ้นมาเองว่า หรือว่าหนังเรื่องนี้มันอาจจะเป็น “ส่วนผสมที่ยังไม่ลงตัวที่สุด” สำหรับผู้กำกับคนนี้หรือเปล่า แต่สมมุติฐานของเราอาจจะผิดก็ได้นะ

คือเหมือนกับว่า อารมณ์กวีของหนังเรื่องนี้มันไปได้ไม่สุด เพราะมันถูกถ่วงด้วยเรื่องการเมืองมากเกินไป โดยเฉพาะในฉากที่ขึ้น text เรื่องเรือดำน้ำน่ะ คือแทนที่หนังเรื่องนี้จะสามารถสื่ออารมณ์กวีได้สุดๆ  “ความพยายามจะยัดสาระการเมือง” เข้าไปในหนัง กลับไปขัดแข้งขัดขาอารมณ์กวีในหนังเรื่องนี้ในบางครั้ง

หรือถ้าหากหนังเรื่องนี้จะนำเสนอประเด็นการเมือง การใช้วิธีการนำเสนอแบบเชิงกวีแบบนี้ มันก็ไปขัดขวางการนำเสนอประเด็นการเมืองด้วยเช่นกัน เพราะผู้ชมหลายคนก็คงตีความไม่ได้

เราก็เลยรู้สึกว่า ถึงแม้เราจะชอบองค์ประกอบความเป็นกวีและความเป็นการเมืองในหนังเรื่องนี้ แต่มันก็เหมือนองค์ประกอบสองอย่างนี้ มันยังไม่ลงตัวแบบสุดๆซะทีเดียวน่ะ มันยังมีการขัดแข้งขัดขากันเองอยู่ และถ้าหากให้เราเดาเอาเอง เราว่าถ้าหากหนังเรื่องนี้ลดความเป็นการเมืองลง และหันไปเน้นอารมณ์กวีมากขึ้นอีกหน่อย บางทีมันอาจจะออกมาลงตัวกว่านี้ก็ได้

คือเราว่าผู้กำกับแต่ละคนที่ทำหนังที่มี “ความเป็นกวี+ความเป็นการเมือง” อยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน มันอาจจะต้องใช้ “สัดส่วน” ที่ต่างกันไปสำหรับแต่ละคนน่ะ แล้วหนังมันจะออกมาทรงพลังที่สุดสำหรับผู้กำกับคนนั้น ยกตัวอย่างเช่น

6.1 Apichatpong Weerasethakul + Chulayarnnon Siriphol เราว่าผู้กำกับสองคนนี้เหมือนทำหนังที่มีความเป็นกวี 50% มีความเป็นการเมือง 50 % แล้วอาจจะออกมาลงตัวมากๆ อย่างเช่น CEMETERY OF SPLENDOUR และ A BRIEF HISTORY OF MEMORY (2010, Chulayarnnon Siriphol)

6.2 Manasak Khlongchainan, Wachara Kanha และ Viriyaporn Boonprasert อาจจะเป็นแบบความเป็นกวี 70% และความเป็นการเมือง 30%  แล้วจะออกมาลงตัวมากๆ อย่างเช่น VR (2017, Manasak Khlongchainan), ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ (2014, Wachara Kanha), HUNGARY MAN BOO (2012, Viriyaporn Boonprasert) คือเวลาดูหนังพวกนี้เราจะรู้สึกทึ่งกับความเป็นหนังทดลองของมันมากกว่าสารทางการเมืองที่เราได้รับจากหนัง

6.3 Taiki Sakpisit, Eakalak Maleetipawan, Somchai Tidsanawoot,  Sukrit Wongsrikaew เราว่าสี่คนนี้เหมาะจะทำหนังที่มีความเป็นกวี 90% และความเป็นการเมือง 10% แล้วจะออกมาลงตัวมากๆ อย่างเช่น อนาลัยนคร (2017, Taiki Sakpisit), BOYS ARE BACK IN TOWN (2015, Eakalak Maleetipawan), PRAYOON (2016, Somchai Tidsanawoot), PUSSY’S THRONE (2016, Sukrit Wongsrikaew) คือเวลาดูหนังของ 4 คนนี้แล้ว เราจะแทบตีความมันไม่ออกเลย แม้จะรู้ว่ามันเป็นหนังการเมือง แต่หนังของ 4 คนนี้ก็ทรงพลังอย่างสุดขีดคลั่งอยู่ดี แม้เราจะตีความมันแทบไม่ออก

6.4 ผู้กำกับที่ตรงกันข้ามกับข้อ 6.3 อาจจะเป็น Patana Chirawong ที่กำกับหนังอย่าง ปราสาทเสือ (2016)ที่มีความเป็นการเมือง 90% และมีความเหวอ 10% แต่ก็ออกมาทรงพลังสุดๆเช่นกัน คือดูปราสาทเสือแล้วเราได้ข้อมูลเยอะ ได้ประเด็นเยอะ และก็มีฉากเหวอๆงงๆแทรกเข้ามาเล็กน้อย แต่มันก็ออกมาลงตัวในแบบของมันเองมากๆ

แต่เราว่าไอ้เรื่อง “ส่วนผสมที่ยังไม่ลงตัว” ใน MALADY OF US นี่มันก็เป็นแค่ความเห็นของเราคนเดียวน่ะแหละ ผู้ชมคนอื่นๆอาจจะมองว่ามันลงตัวอย่างสุดๆแล้วก็ได้ และเราเองก็รู้สึกแบบนี้กับหนังทดลองของนักศึกษาคนอื่นๆด้วย คือเรื่องแบบนี้มันต้องอาศัยการฝึกฝีมือ ทดลองทำหนังกันต่อไปเรื่อยๆน่ะแหละ แล้วอาจจะค้นพบส่วนผสมที่เหมาะกับตัวเองที่สุดหลังจากได้ทดลองทำหนังไปแล้วหลายเรื่อง

อย่างในปีนี้ หนังเรื่อง “ปัจจุบันผ่านพ้น” (2017, Yannawat Phuenudom, A+25) ก็ไม่ค่อยลงตัวในความเห็นของเรานะ คือมันมีความเป็นการเมืองที่ชัดเจน และมีความเป็นกวีสูงมากอยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน แต่เราว่ามันผสมกันออกมาแล้วลักลั่นยังไงไม่รู้ เราก็เลยยังไม่ได้ชอบ “ปัจจุบันผ่านพ้น” ในระดับ A+30


สรุปว่ายังไงก็ชอบ MALADY OF US อย่างสุดๆน่ะแหละ มันเป็นหนึ่งในหนังที่งดงามที่สุดที่เราได้ดูในปีนี้ และก็หวังว่าจะมีการผลิตหนังสั้นไทยแบบนี้ออกมาอีกเยอะๆนะ 

THE LOST VOICE (2017, Jutha Saovabha, A+30)

$
0
0
THE LOST VOICE (2017, Jutha Saovabha, A+30)

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่

1.โครงการทำหนังจากเพลงของ Ryuichi Sakamoto นี่ท่าทางจะดีจริงๆ เพราะมันทำให้ผู้กำกับหนังดีๆที่ดูเหมือนจะหายสาบสูญจากวงการไปแล้ว กลับมาทำหนังกันใหม่ เพราะหลังจากเราได้ดูหนังเรื่อง MALADY OF US ของคุณ Tanakit Kitsanayunyong ที่เคยห่างหายจากวงการไปนานหลายปีแล้ว เราก็ได้ดูหนังเรื่อง THE LOST VOICE ของคุณจุฑาด้วยและเราก็ดีใจมากๆ เพราะเมื่อ 4 ปีก่อนเราเคยชอบหนังเรื่อง ปฏิรัก หรือ UNCONSCIOUSNESS IN THE TIME OF CRISIS (2013) ของคุณจุฑามากๆ แต่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เราก็แทบไม่ได้ดูหนังของเขาอีกเลย มันก็เลยเหมือนโครงการ Ryuichi Sakamoto นี้ช่วยกระตุ้นให้ “ยอดฝีมือ” หรือ “จอมยุทธ” บางคน ที่ถอนตัวจากยุทธภพ และไม่ได้ใช้วิทยายุทธมานานหลายปี หวนกลับคืนสู่ยุทธภพกันอีกครั้ง 555

2.หนังเรื่องนี้เหมือนแบ่งเป็นสองส่วนอย่างเห็นได้ชัด (เหมือนหนังหลายเรื่องของพี่เจ้ยที่ชอบแบ่งเป็นสองส่วน) โดยส่วนแรกเป็นภาพวิวงดงาม+เสียงบรรยายแนวกวีรำพึงรำพันหน่อยๆ แน่นอนว่าส่วนนี้ทำให้นึกถึงหนังอย่าง THE TREE OF LIFE (2011, Terrence Malick) และส่วนที่สองเป็นฟุตเตจที่บันทีกภาพเหตุการณ์ Bangkok Shutdown ตอนต้นปี 2014 ก่อนเกิดรัฐประหาร

3.ฉากที่ชอบที่สุดในเรื่องนี้ ก็คือฉากที่ตัดจากส่วนที่หนึ่งเข้าสู่ส่วนที่สองนี่แหละ ดูแล้วกรี๊ดแตกมากๆ ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง คือตอนแรกเรานึกว่ามันเป็นภาพใยแมงมุมในป่าละเมาะเมืองหนาวที่มีน้ำค้างแข็งมาเกาะน่ะ ตอนแรกเราก็นึกว่า ใยแมงมุม+น้ำค้างแข็งนี่มันสวยจังเนาะ แต่พอภาพมันเปลี่ยนระยะโฟกัสหรืออะไรสักอย่าง แล้วเราเห็นชัดๆว่าใยแมงมุมนี้คืออะไร เราก็หวีดร้องมากๆ เราว่าฉากนี้คลาสสิคมากๆ ยกให้เป็นฉากที่ชอบที่สุดฉากหนึ่งในปีนี้ไปเลย

4.ส่วนครึ่งแรกของหนังนี่ก็งดงามดีนะ อาจจะชอบในระดับประมาณ A+20 คือฉากเปิดนี่ชอบมาก เราว่ามันเข้ากับจังหวะดนตรีมากๆ และหลังจากนั้นหนังก็ร้อยเรียงภาพวิวสวยงามต่างๆเข้าด้วยกันได้อย่างไหลลื่น ละมุนละไม เข้ากับจังหวะเพลง และก่อให้เกิดสุนทรียะทางอารมณ์มากพอสมควร ส่วนเสียง voiceover นั้นจริงๆแล้วเราฟังไม่ออกในบางช่วง เราก็เลยไม่ได้ตั้งใจฟังหรือนำมันมาขบคิดมากเท่าไหร่ แต่แค่ดูภาพ+การร้อยเรียงภาพในช่วงครึ่งแรก เราก็เพลินมากพอแล้ว

เราว่าช่วงครึ่งแรกของหนังนี่ทำให้เรานึกถึง “อนาลัยนคร” (2017, Taiki Sakpisit) โดยไม่ได้ตั้งใจนะ คือตอนดู “อนาลัยนคร” กับช่วงครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้ เรานึกถึง “สวรรค์ลวง” น่ะ หรือภาพของ “ความสุขสงบร่มเย็น” ที่จริงๆแล้วเป็นมายา เพราะถ้ามองให้ดี ที่จริงแล้วมันคือนรก

แต่พอดูๆวิวเหล่านี้ใน THE LOST VOICE ไปสักระยะหนึ่ง เราก็เริ่มเบื่อ แต่พอเบื่อปุ๊บ หนังก็เริ่มตัดเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังทันที เหมือนรู้ใจคนดูเลย 555

5.ช่วงครึ่งหลังนี่ ตอนดูรอบแรกเราชอบแค่ในระดับ A+20 หรือ A+25นะ คือเราอยากให้มันมีอะไรมากกว่านี้น่ะ คือตอนดูรอบแรกเราแอบคิดว่า ไอเดียในหนังมันน้อยไปหรือเปล่า มันมีแค่ footage กลุ่มนกหวีดหีหมานี่เท่านั้นเหรอ ทำไมไม่ด่ามันตรงๆไปเลยล่ะ ว่าช่วงปี 2014-2017 ที่ผ่านมา มันเกิดความเสียหายทั้งในด้านสิทธิเสรีภาพ และการโกงกินอะไรยังไงบ้าง หรือว่าชื่อเรื่อง THE LOST VOICE นี่ นอกจากจะหมายถึงการที่กลุ่มนกหวีดไม่ออกมาประณามความเลวร้ายของรัฐบาลทหารแล้ว ยังหมายถึงพวกเราเองที่ไม่สามารถวิจารณ์ความเลวร้ายของรัฐบาลทหาร “ได้อย่างปลอดภัย” ด้วย

6.แต่พอดูรอบสอง เราก็ชอบมากขึ้นในระดับ A+30นะ คือไปๆมาๆพอดูช่วงครึ่งหลังของหนังเรื่องนี้แล้วเรากลับไม่เบื่อเลย แต่กลับรู้สึกว่าจิตใจพลุ่งพล่านเต็มไปด้วยความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชังเหล่าบรรดาบุคคลในหนังอย่างรุนแรงมากๆ 555 และเราว่าผู้ชมแต่ละคนคงรู้สึกแตกต่างกันไปแน่ๆ เพราะหนังมันไม่ได้ชี้นำอะไรเลย หนังมันปล่อยให้คนดูรู้สึกอะไรก็ได้กับฟุตเตจที่เห็น

คือเหมือนตอนเราดูรอบแรก เราเรียกร้อง “เนื้อหาสาระ” จากหนังน่ะ และเราก็เลยไม่ได้ชอบหนังแบบสุดๆตอนดูรอบแรก เพราะเรารู้สึกว่าช่วงครึ่งหลังของหนังมันไม่ได้เต็มเปี่ยมไปด้วย “เนื้อหาสาระ” แบบที่เราคาดหวังไว้

แต่พอเราได้ดูรอบสอง เราก็รู้แล้วว่า เราไม่ต้องไปคาดคั้นเอาเนื้อหาสาระจากมัน เราก็เลยปล่อย “อารมณ์” ของตัวเองอย่างเต็มที่ตอนเราดูรอบสอง และผลที่ได้ก็คือ อารมณ์โกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชังอย่างรุนแรงต่อบรรดาบุคคลในหนัง 555


7.สรุปว่าเราก็ชอบหนังเรื่องนี้มากๆแหละ และก็อยากรู้เหมือนกันว่า คนอื่นๆเวลาดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร เราว่าหนังที่มัน “ไม่ชี้นำ” อารมณ์หรือความคิดคนดูอย่างชัดเจนมากนักแบบหนังเรื่องนี้ มันคงสร้างปฏิกิริยาที่แตกต่างกันมากต่อผู้ชมแต่ละคนแน่ๆ และความสนุกอย่างหนึ่งจากหนังแบบนี้ก็คือการได้อ่านความคิดความเห็นของคนอื่นๆที่ไม่เหมือนกับเรา

INGMAR BERGMAN’S FILMS IN MY PREFERENTIAL ORDER

$
0
0
INGMAR BERGMAN’S FILMS IN MY PREFERENTIAL ORDER

1.THE SILENCE (1963)

2.PERSONA (1966)

3.CRIES AND WHISPERS (1972)

4.THE SEVENTH SEAL (1957)

5.THE VIRGIN SPRING (1960)

6.SUMMER WITH MONIKA (1952)

7.WINTER LIGHT (1962)

8.AUTUMN SONATA (1978

9.THROUGH A GLASS DARKLY (1961

10.SMILES OF A SUMMER NIGHT (1955)

11.THE MAGICIAN (1958)

12..FROM THE LIFE OF THE MARIONNETTES (1980)

13.AFTER THE REHEARSAL (1984)

14.THE MAGIC FLUTE (1974)


15.THE SERPENT’S EGG (1977)

ORDINARY PEOPLE (2016, Eduardo W. Roy Jr., Philippines, A+30)

$
0
0
ORDINARY PEOPLE (2016, Eduardo W. Roy Jr., Philippines, A+30)

ช่วงท้ายนี่ thriller มากๆสำหรับเรา คือหนังมันไม่ได้จงใจเป็นหนัง thriller นะ แต่เรารู้สึกลุ้นระทึกไปกับตัวละครมากๆ เพราะ

1.หนังมันทำให้ตัวละครดูน่าเชื่อถือว่ามันเหมือนมนุษย์จริงๆ คือช่วงท้ายนี่เราลุ้นไปกับตัวละครจนเราต้องเตือนตัวเองว่า “เรากำลังดูหนังอยู่นะ” เราไม่ได้กำลังดูชะตากรรมของคนจริงๆที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้าเรา ตัวละครจะอยู่หรือตาย จะติดคุก หรือจะรอดคุก มันก็เป็น “หนัง” เราไม่ได้กำลังลุ้นกับชีวิตคนจริงๆอยู่

2.เราเดาทางหนังไม่ได้ด้วยแหละ คือมันไม่ได้ feel bad แบบหนัง Michael Haneke จนเราเดาได้ว่ามันต้องจบไม่ดี คือเราว่าหนังมันดูค่อนข้างเห็นอกเห็นใจตัวละครมากกว่าหนังของ Brillante Mendoza และหนังของสองพี่น้อง Dardennes น่ะ คือการที่หนังมันดูเห็นอกเห็นใจตัวละคร มันก็เหมือนจะทำให้เรามีความหวังว่า ตัวละครมันน่าจะจบดี แต่ในขณะเดียวกัน ตัวละครหลักของหนังมันก็เป็น “คนไม่ดี” เพราะฉะนั้น เราก็เลยไม่แน่ใจว่า หนังมันอาจจะลงโทษตัวละครในตอนจบด้วยการทำให้ตายหรือติดคุกหรือเจออะไรเหี้ยห่าก็ได้ คือการที่โทนของหนังมันไม่ได้ feel bad หรือ feel good อย่างชัดเจน มันทำให้เราเดาชะตากรรมของตัวละครไม่ถูก เพราะฉะนั้นมันก็เลยทำให้เรารู้สึกลุ้นระทึกกับช่วงท้ายของหนังมากๆ

3.ดูแล้วจะนึกถึง THE CHILD (2005, Luc Dardenne + Jean-Pierre Dardenne) มากๆ แต่นี่คือเวอร์ชั่นเมโลดราม่าของ THE CHILD และดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง LITTLE SONS (2016, Sai Whira Linn Khant, Yu Par Mo Mo, Nay Chi Myat Noe Wint, Myanmar) ด้วย

4.เคยดูหนังของผู้กำกับคนนี้เรื่อง QUICK CHANGE (2013) ซึ่งเราชอบสุดๆเหมือนกัน แต่เราว่าผู้กำกับคนนี้เขาดูเหมือนขาดสไตล์ที่ไม่ซ้ำใครน่ะ คือหนังสองเรื่องของเขาเป็นหนัง narrative ที่เราชอบสุดๆ แต่มันไม่มีความน่าสนใจด้าน form หรือ style เพราะฉะนั้นหนังของเขาก็เลยอาจจะไม่เปรี้ยงแบบหนังของผู้กำกับฟิลิปปินส์ร่วมสมัยคนอื่นๆอย่าง Lav Diaz, John Torres, Jon Lazam, Jet Leyco, Dodo Dayao, Raya Martin, Khavn de la Cruz ที่มันเล่นกับ form หรือ style ด้วย

AJIN: DEMI-HUMAN (2017, Katsuyuki Motohiro, Japan, A+10)

$
0
0
AJIN: DEMI-HUMAN (2017, Katsuyuki Motohiro, Japan, A+10)

เหมือนมันเน้นบู๊มากกว่าหนังแฟนตาซีญี่ปุ่นเรื่องอื่นๆที่ออกมาในแนวทางใกล้เคียงกัน แต่เราไม่ใช่แฟนหนังบู๊ เราก็เลยไม่ได้อินอะไรกับเรื่องนี้มากนัก ถ้าเทียบกันแล้ว เราชอบ JOJO’S BIZARRE ADVENTURE – DIAMOND IS UNBREAKABLE CHAPTER 1 (2017, Takashi Miike) และ TOKYO GHOUL (2017, Kentaro Hagiwara) มากกว่า AJIN เราว่า JOJO’S BIZARRE ADVENTURE มันดู cult กว่า ส่วน TOKYO GHOUL มันก็มีความวิลิศมาหราของ “ร่างแปลง” มากกว่า อย่างไรก็ดี AJIN ก็สนุกกว่า ASURA GIRL: BLOOD  C (2017, Shutaro Oku)


จริงๆแล้วทางญี่ปุ่นควรจะหาทางสู้กับ DC UNIVERSE และ MARVELUNIVERSE ด้วยการให้ตัวละครพวกนี้มา cross จักรวาลในหนังเรื่องเดียวกันบ้างนะ ทั้ง AJIN, JOJO, TOKYO GHOUL, ASURA GIRL, เหล่าตัวละครใน SAKURADA RESET, สิงห์สาวนักสืบ, AKKO-CHAN และ SAILORS ทั้ง 9 นางจาก SAILOR MOON ด้วย เอามาสู้กับ THE AVENGERS เลย 555 (มีสิทธิ AKKO-CHAN ตายใน 5 นาทีแรก)

WORD IS OUT

$
0
0
WORD IS OUT (1977, Nancy Adair, Andrew Brown, Rob Epstein, documentary, 135min,  A+30)

คลาสสิคจริงๆ หนังสารคดีเรื่องนี้นำเสนอบทสัมภาษณ์เกย์และเลสเบียน 26 คนในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1970 ตัดสินไม่ได้จริงๆว่าเรื่องของใครหนักที่สุดหรือน่าประทับใจที่สุด เพราะเรื่องราวของแต่ละคนก็น่าสนใจมากๆ

เราว่าหนังเรื่องนี้ยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป เพราะมันได้จดบันทึกไว้ว่าเกย์และเลสเบียนในอดีตเคยมีชีวิตที่ทุกข์ทรมาน, ขมขื่น หรือเผชิญกับการกดขี่ข่มเหงมากเพียงใด เพราะชีวิตของหลายคนในหนังเรื่องนี้มันแตกต่างจากในยุคปัจจุบันมาก บางคนในหนังเรื่องนี้ถูกจับส่งเข้าโรงพยาบาลบ้าเพียงเพราะเขาเป็นเกย์และเลสเบียน และหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวมากๆ เพราะพวกเขาไม่รู้จักเกย์หรือเลสเบียนคนอื่นๆในชุมชนของตนเองเลย ซึ่งเราเข้าใจว่าเป็นเพราะยุคนั้นหลายคนใช้ชีวิตแบบปกปิดความจริง และยุคนั้นมันยังไม่มี internet ซึ่งจะช่วยให้เกย์ที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวหลายคนมีช่องทางในการติดต่อพูดคุยกับเกย์คนอื่นๆได้

มันน่าดีใจมากๆที่โลกเราในปัจจุบันนี้พัฒนาไปมากแล้ว ทั้งในเรื่องสิทธิเกย์, สิทธิคนดำ และสิทธิสตรีเมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน (ยกเว้นเสรีภาพในการแสดงออกในไทยที่ยังไม่ได้พัฒนาไปไหน) เพราะในปัจจุบันนี้หลายประเทศก็มีกฎหมายให้เกย์แต่งงานกันได้ และรับลูกบุญธรรมมาเลี้ยงได้แล้ว นายกรัฐมนตรีของประเทศในยุโรปบางประเทศก็เป็นเกย์และเลสเบียนอย่างเปิดเผย คือยุคปัจจุบันนี้ชีวิตเกย์มันดีกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนมาก หนังสารคดีเรื่องนี้ก็เลยมีคุณค่ามากๆในการทำให้เราไม่ลืมว่า กว่าที่เราจะลืมตาอ้าปากได้แบบในปัจจุบันนี้ คนรุ่นก่อนหน้าเราเคยเจอกับการกดขี่ข่มเหงอย่างไรบ้างจากสังคม

เรื่องที่เราชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ก็มีเช่น

1.เรื่องของเลสเบียนที่ถูกพ่อแม่จับเข้าโรงพยาบาลบ้า

2.เรื่องของเกย์หนุ่มหล่อคนนึง ที่แต่งงานมีเมีย แต่เขาแอบรักกับโจที่แต่งงานและมีเมียเช่นกัน จนวันนึงเมียของเขาทนไม่ไหว ก็เลยโทรศัพท์ไปหาเมียของโจ แล้วบอกว่า “ถ้าโจต้องการผัวกู ก็มาเอาไปได้เลย” อะไรทำนองนี้

3.เรื่องของเกย์ที่เล่าว่า ตอนเขาอายุ 14 ปี เขาออกล่าผู้ชายอายุราว 30 ปีเป็นประจำ และเขารู้สึกขำมากกับกฎหมายที่ทำเหมือนกับว่า เด็กอายุ 14-15 ปีเป็น “เหยื่อ” เพราะจริงๆแล้วตัวเขาตอนอายุ 14-15 ปีนั้น มีสถานะเป็น “ผู้ล่า” ต่างหาก

4.Nathaniel Dorsky ผู้กำกับหนังทดลองชื่อดัง ก็ให้สัมภาษณ์ด้วย เราชอบมากที่เขาบอกว่า การได้แสดงออกอย่างเสรีถึงรสนิยมทางเพศของตัวเอง ทำให้เขาเป็น “human” เพราะถ้าเขามัวแต่ต้องปกปิดความจริงเรื่องที่ว่าเขาเป็นเกย์ เขาก็จะกลายเป็น “object of hysteria” แทนที่จะเป็น Human

5.เลสเบียนช่างประปาที่รักกับเลสเบียนช่างไฟฟ้า คือสองคนนี้ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่างประปากับช่างไฟฟ้านะ แต่เหมือนสองคนนี้แบ่งงานกันทำ และพัฒนาทักษะต่างๆจนสามารถพึ่งพาตัวเองได้หมดในการสร้างบ้านที่ไหนก็ได้ อะไรทำนองนี้

6.เรื่องของเลสเบียนทหารหญิงในกองทัพ คือเธอเล่าว่ามีเลสเบียนในกองทัพเยอะมาก แต่อยู่ดีๆในช่วงราวทศวรรษ 1950 กองทัพสหรัฐก็กวาดล้างเลสเบียน และไล่เลสเบียนออกจากกองทัพหมดเลย แถมยังมีการไต่สวน ให้แต่ละคนป้ายความผิดซึ่งกันและกันด้วย

7.เรื่องของผู้หญิงที่ทำงานเป็น babysitter แล้วก็เลยได้แม่ของเด็กเป็นแฟน โดยทั้งสองต่างก็เคยมีสามีและหย่ากับสามีมาแล้ว

8.เรื่องของหนุ่มเอเชีย ที่เคยดูหนังในโรง แล้วมีชายหนุ่มมานั่งข้างๆ แล้วเอาขามาสีกัน ถูไถกันจนเกิดอารมณ์

9.เรื่องของเกย์วัยชราที่เล่าว่าเขาเบื่อทศวรรษ 1930 มาก เพราะในยุคนั้นผู้ชายต้องสร้างภาพลักษณ์ตัวเองให้เหมือน Gary Cooper และ Clark Gable ซึ่งมันเป็นเรื่องน่าเบื่อมากๆสำหรับเกย์

10.เรื่องของเลสเบียนวัยชราที่เกิดในปี 1898 เธอเล่าว่าเวลาเธออยู่คนเดียวท่ามกลางธรรมชาติ เธอไม่รู้สึกโดดเดี่ยว แต่เวลาที่เธออยู่ท่ามกลางฝูงชนหลายๆคน เธอถึงจะรู้สึกโดดเดี่ยว

เราชอบมากๆที่เธอตั้งคำถามว่า ผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้พยายามจะเอาคนที่ถูกสัมภาษณ์ไป fit ใน frame หรือใน structure อะไรหรือเปล่า ซึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นคำถามที่สำคัญ เพราะถ้าหากผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้มุ่งมั่นแต่จะนำเสนอประเด็นเรื่อง “สิทธิเกย์” เขาก็จะละเลยแง่มุมความเป็นมนุษย์อื่นๆของตัวผู้ถูกสัมภาษณ์ไป แต่ถ้าหากผู้กำกับหนังเรื่องนี้ไม่พยายามจะบีบอัดผู้ถูกสัมภาษณ์ให้เข้ากับ frame หรือ structure ที่ตัวเองวางไว้ ผู้ถูกสัมภาษณ์ก็จะได้รับอนุญาตให้เป็นมนุษย์จริงๆ แทนที่จะเป็นเพียงแค่ สิ่งที่มารองรับ “ประเด็น” เท่านั้น

เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้มีฉากเลสเบียนตัดต้นไม้อะไรทำนองนี้ด้วย มันช่วยให้หนังเรื่องนี้บรรจุมนุษย์จริงๆเอาไว้ด้วย แทนที่จะพยายามลดทอนผู้ถูกสัมภาษณ์ให้เป็นเพียงเครื่องมือในการนำเสนอประเด็นของผู้กำกับหนัง
                                    
HAPPY DEATH DAY (2017, Christopher Landon, A+30)

อยากเอาหนังเรื่องนี้มารีเมคใหม่เป็นหนังเกย์ พระเอกไม่รู้ชื่อฆาตกร, ไม่รู้หน้าฆาตกร แต่เขาเห็นจู๋ฆาตกรก่อนที่เขาจะถูกฆ่าตาย เขาจำความยาวของจู๋และลักษณะทุกอย่างของจู๋ฆาตกรได้ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่พระเอกตื่นขึ้นมาใหม่ เขาจะต้องค้นหาให้ได้ว่า หนุ่มคนไหนกันแน่ในมหาลัยที่เป็นเจ้าของจู๋อันนั้น ส่วนคำโปรยบนโปสเตอร์หนังเรื่องนี้ก็คือ “I don’t know your name. I don’t know your face. But I definitely remember your dick.”



MURDER ON THE ORIENT EXPRESS (2017, Kenneth Branagh, A+25)

$
0
0
MURDER ON THE ORIENT EXPRESS (2017, Kenneth Branagh, A+25)

เราเป็นคนเดียวหรือเปล่าที่ดูแล้วรู้สึกซาบซึ้งมากจนต้องร้องห่มร้องไห้ 555 คือหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่เราดูแล้วรู้สึกว่าหนังมันปลอบประโลมคนที่มี “fractures of the soul” แบบเราน่ะ ซึ่งเราว่าตอนที่เราอ่านนิยายเรื่องนี้ มันไม่ได้ sense แบบนี้ด้วยนะ คือเราชอบนิยายเรื่องนี้อย่างสุดๆ และชอบพล็อตเรื่องและการหักมุมอะไรของมันมากๆ แต่พอมาดูหนังเวอร์ชั่นนี้ เรารู้สึกว่า หนังมันเข้าข้างตัวละครที่มี fractures of the soul น่ะ โดยผ่านทาง “การแสดง” ของนักแสดงบางคน ทั้งแววตาและน้ำตาของนักแสดง, ดนตรีประกอบ, การเคลื่อนกล้อง, การถ่ายภาพ+จัดแสงในช่วงท้าย คือองค์ประกอบเหล่านี้มันเอื้อให้เรารู้สึกไปเองว่า คนที่มี fractures of the soul แบบเราได้รับการปลอบประโลมจิตใจผ่านทางองค์ประกอบต่างๆในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้น่ะ

คือจริงๆแล้วหนังที่มันเข้าข้างตัวละครที่มี fractures of the soul แบบสุดๆ คือหนังอย่าง BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder), MONSTER (2003, Patty Jenkins), MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) และ FEBRUARY (2015, Oz Perkins) นะ คือหนัง 4 เรื่องนี้เป็นกลุ่มหนังที่เราชอบที่สุดในชีวิต เพราะเราว่าหนัง 4 เรื่องนี้มันจงใจนำเสนอตัวละครที่เข้าทางเรา และหนังมันรักตัวละครที่มี fractures of the soul เหล่านี้มากๆ ส่วน MURDER ON THE ORIENT EXPRESS นั้น มันเป็นหนังแบบ “เฉียดๆ” จะเข้ามาในกลุ่มนี้น่ะ  แต่แค่นี้เราก็พอใจมากๆแล้ว

สรุปว่า มันอาจจะไม่ใช่หนังดี แต่กูดูแล้วร้องไห้ด้วยความซาบซึ้งกินใจ จบ   

UNEXPECTEDLY YOURS (2017, Cathy Garcia-Molina, Philippines, A+25)

ดีใจมากๆที่ชุมชนคนฟิลิปปินส์ในไทยจัดเอาหนังเมนสตรีมจากฟิลิปปินส์มาฉายที่ Century Plaza  เหมือนกับที่คนอินเดียในกรุงเทพเอาหนังเมนสตรีมจากอินเดียมาฉายเป็นประจำในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าชาวฟิลิปปินส์ในกรุงเทพจะจัดงานแบบนี้เป็นประจำ และหวังว่าชุมชนคนต่างชาติอื่นๆในไทยจะทำแบบเดียวกันนี้ด้วย

มีการเปิดเพลงชาติฟิลิปปินส์ก่อนหนังฉายด้วยนะ เก๋มากๆ คือจริงๆเราไม่รู้หรอกว่ามันเป็นเพลงชาติหรือเพลงอะไร แต่เห็นคนลุกขึ้นยืนกันทั้งโรง เราเลยลุกตาม

ตั๋วหนังราคา 300 บาทนะ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับราคาตั๋วหนังอินเดีย หนังมีซับไตเติลภาษาอังกฤษ

จริงๆแล้วหนังมันดูมีความโง่มากๆ คือมันมีความใกล้เคียงกับหนังปัญญาอ่อนของไทยมากๆเลยน่ะ หรือใกล้เคียงกับหนังของนักศึกษาไทยบางมหาลัยมากๆ โดยเฉพาะในแง่ของพล็อตและ setting คือมันเป็นเรื่องของแม่วัย 50 ที่หย่ากับสามีหนุ่มหล่อแล้ว และมีลูกสาววัย 21 ปี ปรากฏว่าแม่+ลูกสาวคู่นี้ ได้เพื่อนบ้านใหม่เป็นหนุ่มหล่อวัย 50 ที่มีหลานชายหนุ่มหล่อเหมือนกัน และหนุ่มหล่อสองวัยนี้ก็พยายามตามจีบแม่ลูกคู่นี้

คือองค์ประกอบหลายๆอย่างมันดูเหมือนหนังไทยปัญญาอ่อนมากๆ มันดูชนชั้นกลางมากๆ และเป็นขั้วตรงข้ามอย่างรุนแรงกับหนังกลุ่ม poverty porn ของฟิลิปปินส์

แต่ปรากฏว่าดูไปแล้วก็ชอบมากๆนะ มันเหมือนหนังที่ยอร์ช ฤกษ์ชัยควรจะสร้าง แต่ไม่ได้สร้างน่ะ คือทุกอย่างมันดูสูตรสำเร็จมากๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง แต่เหมือนมันแม่นในการละเลียดอารมณ์แบบสูตรสำเร็จน่ะ เราก็เลยสามารถดูหนังที่ทุกวินาทีมีแต่สิ่งที่ “predictable” ได้อย่างเพลิดเพลิน

นอกจากความแม่นในการละเลียดอารมณ์แบบสูตรสำเร็จแล้ว องค์ประกอบบางส่วนก็เข้าทางเราด้วยแหละ เพราะมันเป็นหนังโรแมนติกคอมเมดี้ที่นางเอกอายุ 50 ปี และมันเป็นหนังที่ต่อต้าน “compliance” ด้วย หมายถึงเป็นหนังที่ตัวละครจะมีความสุขอย่างแท้จริงได้ด้วยการทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ ไม่ใช่ทำในสิ่งที่พ่อแม่บอกให้ทำ

ROMEO AND JULIETTE (2015, Eric Ruf, France, theatre/film, A+10)

คนดูเยอะมาก เหมือนจะเยอะที่สุดตั้งแต่เราดูหนังที่ Alliance เลยมั้ง แต่เราดูแล้วเฉยมากๆ คือนักแสดงก็ตั้งใจเล่นจนสุดความสามารถน่ะแหละ แต่เราเบื่อเนื้อเรื่องแบบนี้แล้วน่ะ แล้วพอเนื้อเรื่องมันไม่มีอะไรใหม่ และวิธีการนำเสนอมันก็ไม่ได้มีอะไรพิสดารพันลึก เราก็เลยเฉยๆกับมัน

JIGSAW (2017, Michael Spierig + Peter Spierig, A+10)


ดูได้เพลินๆ แต่เหมือนไม่ได้มีอะไรสร้างสรรค์ไปกว่า 7 ภาคที่แล้วมาแต่อย่างใด

TWO DREAMS ABOUT GHOSTS

$
0
0
เมื่อคืนวันอาทิตย์ (ซึ่งเป็นคืนวันเพ็ญ) ฝันเรื่องผีติดกันสองเรื่องเลย คือตอนแรกเราฝันว่า เราดูหนังกับเพื่อนๆ cinephiles ในโรงหนังแห่งหนึ่ง แต่อยู่ดีๆเสียงจากภาพยนตร์ก็กลายเป็นเสียงอู้อี้ๆ เราก็ไม่แน่ใจว่า ลำโพงมันเสีย, คอมพิวเตอร์เครื่องฉายหนังมันรวน หรือหนังมันตั้งใจให้เสียงอู้อี้ๆกันแน่ แต่มีเพื่อน cinephile คนนึงทนไม่ไหว ก็เลยลุกออกไปบอกทางโรงหนังให้แก้เสียงอู้อี้ๆนี้ แต่ปรากฏว่าภาพบนจอหนังกลับกลายเป็นภาพขาวดำใบหน้าคนต่างๆปรากฏขึ้นมาบนจอเรื่อยๆ อารมณ์แบบภาพถ่ายผู้เสียชีวิตจากเขมรแดงหรือจากเหตุการณ์ 6 ตุลาอะไรทำนองนั้นน่ะ เราก็เลยรู้สึกกลัวมาก และมั่นใจว่ามันต้องมีอาถรรพณ์อะไรสักอย่างแน่ๆ แล้วก็ตื่นขึ้นมา

หลังจากนั้นเราก็นอนต่อ แล้วก็ฝันว่าเราอยู่ในโรงเรียนอะไรสักอย่าง แล้วเจอกับผีที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายวัตถุได้ เราก็เลยรู้สึกว่าอีผีตัวนี้น่ากลัวจริงๆ คือเหมือนในฝันนี้เราเคยเจอผีมาแล้วหลายตัว แต่ส่วนใหญ่เป็นผีที่แค่ปรากฏร่างมาหลอกหลอน แต่ไม่มีอำนาจในการทำให้วัตถุในโลกแห่งความเป็นจริงขยับเคลื่อนที่ได้ แต่อีผีในห้องเรียนนี้ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ เราก็เลยไม่อยากต่อกรกับมัน แล้วเราก็จะเดินออกจากโรงเรียนไป ปรากฏว่าเราเจอกับตี้ ชญานินในโรงเรียน ตี้บอกว่ามันลืมหนังสือไว้ที่ห้องเรียนนั้น แล้วจะกลับเข้าไปเอาหนังสือที่ห้องเรียน เราก็เตือนมันว่ามีผีนะ แต่ตี้ก็จะกลับเข้าไปเอาหนังสืออยู่ดี เราก็เลยยืนรอมันที่ตึกฝั่งตรงข้ามห้องเรียนนั้น เรามองออกไปทางหน้าต่าง ก็เห็นตี้เดินออกมาจากห้องเรียนนั้น (ตี้คงเข้าไปเอาหนังสือที่ลืมไว้เรียบร้อยแล้ว) แล้วเราก็เห็นผีผู้หญิงสามตัววิ่งออกมาจากห้องเรียนนั้น โดยมุ่งหน้ามาทางตี้อย่างประสงค์ร้าย เราก็เลยพยายามตะโกนบอกตี้อย่างสุดเสียงว่า “Behind you. Behind you” (ทำไมกูต้องตะโกนเป็นภาษาอังกฤษในความฝันด้วยวะ 555) แต่ตี้ไม่ได้ยินเสียงเรา แต่ตี้มองออกมาเห็นเราทำปากพะงาบๆอยู่ ตี้ก็เลยเข้าใจได้ว่ามีผีมาแน่ๆตี้ก็เลยกระโจนออกจากหน้าต่างไปเลย เราก็เอื้อมมือไปคว้าร่างตี้ไว้ไม่ให้ตกลงไปจากหน้าต่าง แล้วดึงตี้เข้ามาในตึกฝั่งเรา พอเรากับตี้มองไปที่ตึกอีกฝั่ง ก็เห็นผีผู้หญิงสามตัวนั้นยกกล้องขึ้นมาถ่ายรูปพวกเรา เราก็เลยงงมากๆว่า ในโลกวิญญาณมันมีการถ่ายรูปด้วยเหรอ แล้วผีมันจะถ่ายรูปคนไปทำไม แล้วเราก็ตื่นขึ้นมา


สรุปว่าไม่รู้ว่าฝันเหล่านี้มันมาจากหนังเรื่องไหนกันแน่ อาจจะมาจาก มหาลัยเที่ยงคืน+เรื่องผีมีอยู่ว่า+สยามสแควร์ ผสมกัน 555

DIE TOMORROW

$
0
0
DIE TOMORROW (2017, Nawapol Thamrongrattanarit, A+30)

1.เราชอบรูปแบบของหนังมากกว่าตัวเนื้อหานะ คือสาเหตุที่ชอบในระดับ A+30เพราะเราไม่ค่อยเห็นคนไทยทำหนังที่มีรูปแบบอย่างนี้ออกมาน่ะ นั่นก็คือหนังแนว Alexander Kluge หรือหนังที่มีทั้งสารคดี+เรื่องแต่ง+fragments ต่างๆมากมายผสมผสานกันไปหมดอยู่ภายในหนังเรื่องเดียวกัน

คือหนังกลุ่มนี้มันใกล้เคียงกับ essay film น่ะแหละ แต่ส่วนใหญ่เราจะมองว่า essay film มีองค์ประกอบหลักเป็นสารคดี+ความเห็นของผู้กำกับ โดยจะมีเรื่องแต่งกับความเป็นกวีผสมอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เวลาพูดถึง essay film เรามักจะนึกถึงหนังของ Harun Farocki ที่มันใช้ภาพจากสารคดีเป็นหลัก

แต่ทีนี้มันมีหนังอีกกลุ่มนึงที่ดูเหมือนคนไทยไม่ค่อยทำกัน นั่นก็คือหนังแนว Alexander Kluge ที่มันเต็มไปด้วยเรื่องแต่งที่เป็น fragments หลายๆเรื่องอยู่ในเรื่องเดียวกัน และบางทีก็มีส่วนที่เป็นสารคดีผสมอยู่ด้วย คือเหมือนกับว่า essay film อาจจะเป็นสารคดี 50% บวกความเห็นของผู้กำกับ 30% บวกเรื่องแต่ง 20% แต่หนังของ Alexander Kluge จะเป็นเรื่องแต่งหลายๆเรื่องรวมกันราว 60-70% และที่เหลืออาจจะเป็นสารคดี+คลิปข่าว+อะไรเหี้ยห่ามากมายน่ะ คือหนังของ Alexander Kluge หลายๆเรื่องก็อาจจะจัดเป็น essay film ได้น่ะแหละ แต่มันดู free form มากกว่า essay film โดยทั่วไป และมันจะมีความเป็น fiction มากกว่า essay film โดยทั่วไป

และเนื่องจากเราบูชา Alexander Kluge มากๆ เพราะฉะนั้นตอนที่เราดู DIE TOMORROW เราก็เลยชอบรูปแบบของหนังเรื่องนี้มาก มันเหมือนเข้าทางเรามากกว่า #BKKY (2016, Nontawat Numbenchapol) อีกน่ะ คือ #BKKY เราก็ชอบรูปแบบของมันอย่างสุดๆนะ ที่เป็นเหมือน fiction หนึ่งเรื่อง+คลิปสัมภาษณ์วัยรุ่นหลายๆคน เราว่ามันแหวกแนวจากหนังไทยโดยทั่วไป เพราะมันผสมผสาน fiction กับ documentary เข้าด้วยกันในหนังเรื่องเดียวกัน

แต่ DIE TOMORROW เหมือนสลับองค์ประกอบกับ #BKKYเพราะ DIE TOMORROW เน้นบทสัมภาษณ์ของคนแค่สองคน แต่นำเสนอ fiction หลายๆเรื่อง มันก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังของ Alexander Kluge อย่าง THE POWER OF EMOTION (1983) มากๆ เราก็เลยกรี๊ดแตกให้กับรูปแบบของ DIE TOMORROW เพราะเราอยากให้มีคนไทยทำหนังแบบ Alexander Kluge มานานมากแล้ว

2.แต่ก็อย่างที่เคยเขียนไปแล้วว่า เราชอบ DIE TOMORROW อย่างสุดๆ เมื่อเทียบกับหนังไทยด้วยกัน แต่ถ้าเทียบกับหนังต่างประเทศที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันแล้ว เราชอบมันเท่ากับ INNOCENCE UNPROTECTED (1968, Dusan Makavejev) แต่ชอบน้อยกว่า THE POWER OF EMOTION และชอบน้อยกว่า 71 FRAGMENTS OF A CHRONOLOGY OF CHANCE (1994, Michael Haneke) น่ะ

คือเราเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วล่ะว่า Dusan Makavejev กับ Alexander Kluge ทำหนังที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน นั่นก็คือหนังบางเรื่องของสองคนนี้เต็มไปด้วย fragments ต่างๆมากมาย และมีทั้งสารคดี+เรื่องแต่งอยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน แต่ในหนังของ Dusan Makavejev นั้น fragments ทุกอันสามารถเชื่อมโยงกันได้ตามหลักเหตุผล ในขณะที่ในหนังของ Alexander Kluge นั้น เราจะไม่สามารถเชื่อมโยง fragmentsหลายอันเข้าด้วยกันได้ตามหลักเหตุผลในทันที เราจะไม่เข้าใจว่าหลายๆฉาก หลายๆเรื่องราวย่อยๆมันเชื่อมโยงกันยังไง แต่ในทางอารมณ์ความรู้สึกนั้น fragments ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันเลยนี้ กลับสอดประสานเข้าด้วยกันได้อย่างงดงามและให้อารมณ์ที่ sublime มากๆ

อย่างใน THE POWER OF EMOTION นั้น ชื่อหนังอาจจะทำให้เราเข้าใจว่า fragmentsย่อยๆในหนังเรื่องนี้คงจะนำเสนอ the power of emotion แต่พอดูเข้าจริงๆ เราก็จะงงว่า “ฉากผู้หญิงที่เอาไม้หนีบมาหนีบหน้าของตัวเองทั้งหน้า” มันคืออะไร หรือการเล่าเรื่องโรงโอเปร่าถูกไฟไหม้ มันคืออะไร มันเกี่ยวข้องกับ the power of emotion ตรงไหน

มันเหมือนกับว่า เวลาดูหนังของ Dusan Makavejev เราใช้ “สมอง” ดู แล้วเราจะเข้าใจมันน่ะ แต่เวลาดูหนังของ Alexander Kluge เราใช้ทั้งสมองและ “จิตใต้สำนึก” ดู แล้วเราจะรู้สึกว่ามันงดงามที่สุดในโลกสำหรับเรา

และเราว่าการที่ DIE TOMORROW ไม่ได้เข้าทางเราแบบสุดๆก็เป็นเพราะปัจจัยนี้แหละ คือเราว่า fragments ทุกอย่างใน DIE TOMORROW มันเชื่อมโยงกันได้ด้วยหลักเหตุผล แต่มันยังไปไม่ถึงขั้นหนังบางเรื่องของ Alexander Kluge ที่เต็มไปด้วย fragments เหี้ยห่ามากมายที่ไม่รู้มันเชื่อมโยงกันยังไง หรือเกี่ยวข้องกันตรงไหน แต่ในทางอารมณ์แล้วมันไปสุดมากๆ

เราว่า 71 FRAGMENTS OF A CHRONOLOGY OF CHANCE ก็สะเทือนเราในระดับมากกว่า DIE TOMORROW เพราะ 71 FRAGMENTS มันเหมือนอยู่เหนือ “เหตุผล” และ “สมอง” น่ะ มันมีซีนที่กระทบเราอย่างรุนแรงทั้งที่เราไม่เข้าใจความหมายของมันอยู่ด้วย เราก็เลยแอบเสียดายนิดนึงที่ DIE TOMORROW ไปไม่ถึงขั้นนั้น

แต่เราไม่ได้ต้องการให้นวพลพยายามทำหนังแบบ Alexander Kluge ในเรื่องต่อๆไปนะ เพราะเราว่าคนที่จะทำหนังแบบ Kluge ได้ ต้องมี “ความเป็นกวี” อยู่สูงมากพอสมควรน่ะ มันถึงจะสามารถร้อยเรียง fragments ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ด้วยหลักเหตุผล เข้าด้วยกันได้อย่างงดงาม และเราไม่แน่ใจว่านวพลจะฝืนตัวเองมากเกินไปหรือเปล่า ถ้าหากต้องทำอย่างนั้น มันเหมือนกับไปเรียกร้องให้นักวิชาการหรือนักเล่าเรื่องร้อยแก้วมาเขียนกวี อะไรทำนองนี้ หรือเหมือนกับไปเรียกร้องให้ศิลปินแนว Conceptual Art มาแต่งเพลง House Music อะไรทำนองนี้

คือเราเชื่อว่าผู้กำกับทุกคนมีข้อดีข้อด้อย จุดแข็งจุดอ่อนไม่เหมือนกันน่ะ เราว่านวพลมีจุดแข็งที่ concept, ความคิดสร้างสรรค์, อารมณ์ตลกเสียดสีอะไรทำนองนี้ แต่เราว่าเราไม่เห็น “ความสามารถเชิงกวี” แบบรุนแรงจากหนังหลายๆเรื่องของนวพล และมันก็ไม่ใช่ความผิดแต่อย่างใดที่ผู้กำกับคนใดก็ตามไม่ได้มีความสามารถดีเลิศสมบูรณ์พร้อมไปซะทุกด้านทุกอย่าง เราก็เลยคิดว่านวพลก็ควรทำหนังที่สามารถใช้ข้อดีหรือจุดแข็งของตัวเองต่อไปเรื่อยๆแบบนี้นี่แหละ ดีแล้ว เพียงแต่ว่าหนังของนวพลบางเรื่องอาจจะไม่ได้เข้าทางเราแบบสุดๆเท่านั้นเอง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของผู้กำกับหนัง และก็ไม่ใช่ความผิดของเรา ที่รสนิยมไม่ได้ตรงกันซะทีเดียว

แต่เราสนับสนุนให้ผู้กำกับหนังไทยคนอื่นๆ หาหนังของ Alexander Kluge มาดูหลายๆเรื่อง แล้วลองพยายามทำหนังแบบนั้นดูบ้างนะ 555

3.อีก concept ที่ชอบในหนังเรื่องนี้ ก็คือเราชอบหนังที่นำเสนอฉาก “nothing happens” มากกว่า “something happens” น่ะ คือหนังทั่วไปมักจะนำเสนอฉาก something happens อย่างเช่นฉากตัวละครตาย หรือตัวละครเจอเหตุการณ์ดราม่าสำคัญอะไรสักอย่าง แต่มันจะมีหนังบางเรื่องที่นำเสนอฉาก nothing happens หรือฉากที่ดูเหมือนไม่มีอะไรสลักสำคัญมากนัก ฉากชีวิตประจำวัน อย่างเช่นหนังของ Teeranit Siangsanoh, Wachara Kanha, Chantal Akerman, Pedro Costa อะไรทำนองนี้ และเราว่า DIE TOMORROW หลายซีนก็เข้าข่ายนี้ มันเป็นฉากชีวิตประจำวัน ฉากที่ “nothing (important) happens” และเราก็ชอบมากที่มีหนังไทยนำเสนอฉากแบบนี้หลายๆฉากในหนัง และทำให้เรามองเหตุการณ์เหล่านี้ใหม่

คือการนำเสนอฉากชีวิตประจำวันในหนังเรื่องนี้ มันทำให้เรานึกถึงคำกล่าวที่ว่า “หลายๆครั้งเราไม่รู้ตัวหรอกว่าเรามีความสุขอยู่ จนกระทั่ง moment แห่งความสุขนั้นผ่านไปแล้ว หรือจบสิ้นลงแล้ว แล้วเรามองย้อนกลับไป เราถึงเพิ่งรู้ตัวว่า moment ในอดีตนั้นคือ moment แห่งความสุขของเรานี่นา”  โมเมนต์เรียบง่าย อย่างเช่นการได้เมาท์มอยกับเพื่อนๆ, การคุยกันบนดาดฟ้า, การตัดเล็บเท้า, การนอนอยู่ที่ระเบียงบ้าน มันดูเป็นโมเมนต์ธรรมดา แต่เมื่อเวลาผ่านไป แล้วเรามองย้อนกลับมา เราอาจจะพบว่าโมเมนต์เรียบง่ายเหล่านี้ล้วนเป็นโมเมนต์แห่งความสุขที่ในบางครั้งมันไม่อาจหวนคืนมาได้อีก หรือไม่อาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะทุกๆสิ่งทุกๆอย่างบนโลกนี้ย่อมเสื่อมสลายในอนาคต และทุกวินาทีที่ผ่านไป คือทุกวินาทีที่เราและทุกคนรอบตัวเราขยับเข้าใกล้ความตายของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ

เราก็เลยชอบมากที่ DIE TOMORROW นำเสนอฉากแบบ nothing (important) happens หลายๆฉาก และทำให้เรามองมันด้วยสายตาแบบใหม่ หรือทำให้เรามองเห็นความงามและคุณค่าของมันมากขึ้นกว่าเดิม

4.ชอบฉากเต้ยมากๆ เหมือนอย่างที่เขียนไปแล้วว่า ฉากนี้ทำให้นึกถึงฉาก NA NA HEY HEY GOODBYE ใน MAPS TO THE STARS(2014, David Cronenberg)

ฉากน้าค่อมก็ชอบมากๆๆๆๆๆ เราว่ามันให้อารมณ์ซึ้งมากๆ ร่มรื่น รื่นฤดีมากๆ เหมือนฉากตายในฝันเลย แต่เราก็จะแอบรู้สึกว่า มันเป็นความซึ้งแบบจงใจให้ซึ้ง หรือจงใจให้รู้สึกรื่นรมย์กับภาพที่เห็นน่ะ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่เหมือนความจงใจนี้ทำให้เรารู้สึกชอบฉากนี้ในระดับ 9/10 แทนที่จะเป็น 10/10

5.พอดูหนังเรื่องนี้แล้วจะนึกถึงการตายของตัวละครในหนังเรื่องอื่นๆ และพบว่าการตายของตัวละครที่ประทับใจเรามากที่สุดในชีวิต คือการตายของตัวละครหญิงร่าเริงคนนึง (Sarah Miles) ใน WHITE MISCHIEF (1987, Michael Radford) คือเราเห็นตัวละครตัวนี้ร้องเพลงอย่างมีความสุข, ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วพูดว่า "วันนี้อากาศดีจัง"แล้วก็ฆ่าตัวตายไปเลย คือเราดูหนังเรื่องนี้มาเกือบ 30 ปีแล้ว แต่เรายังคาใจอยู่เลยว่า ตัวละครตัวนี้ฆ่าตัวตายเพราะอะไร เพราะเช้าวันนั้นอากาศดีอย่างนั้นเหรอ (หรือเพราะชู้รักตาย เราจำไม่ได้แล้ว) แต่เรารู้สึกว่านี่แหละคือนิยามของความเป็นมนุษย์ มันคือความซับซ้อนที่ยากจะเข้าใจได้

6.แต่ DIE TOMORROW ก็ทำให้เรากลายเป็นโรคประสาทอยู่ชั่วคราวนะ 555 คือเราดูหนังเรื่องนี้ในวันเสาร์ที่ 25 พ.ย. แล้วในวันอังคารที่ 28 พ.ย. เราก็ไปว่ายน้ำตอนประมาณ 16.00-17.00 น. โดยกะว่าว่ายน้ำเสร็จแล้ว เราจะไปดูTHE BIG SICK ที่โรงหนัง House RCA

แต่ขณะที่เราว่ายน้ำอยู่ในสระนั้น อยู่ดีๆเราก็นึกขึ้นมาได้ว่า เอ๊ะ นี่เรากำลังอยู่ใน “โมเมนต์ธรรมดา” แบบใน DIE TOMORROW อยู่หรือเปล่า เรากำลังทำกิจวัตรประจำวันโดยไม่สำนึกว่านี่เป็นความสุขช่วงสุดท้ายของชีวิตอยู่หรือเปล่า แล้วเราก็เกิดภาพนิมิตขึ้นมาว่า ตอนที่เรานั่งมอเตอร์ไซค์ไป House RCA มอเตอร์ไซค์ที่เรานั่งจะประสบอุบัติเหตุ แล้วเราก็จะตาย คืออยู่ดีๆเราก็จินตนาการขึ้นมาเป็นภาพที่ vivid มากๆในหัวของเรา จนเราไม่แน่ใจว่ามันเป็นจินตนาการของเราเอง หรือมันเป็นภาพนิมิตลางสังหรณ์ล่วงหน้า

ตอนนั้นเราลังเลมากๆว่า แล้วเราจะนั่งมอเตอร์ไซค์ไปดู THE BIG SICK ดีมั้ย เพราะเราอาจจะตายก็ได้นะ แต่เราก็คิดขึ้นมาได้ว่า ถึงแม้มันจะเป็นลางสังหรณ์จริงๆ เราต้องตายจริงๆ เราก็พร้อมแล้วที่จะตาย เพราะเรามีฐานะยากจน เราไม่มีเงินหรือสมบัติอะไรให้ต้องห่วง เราหาผัวไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่มีใครให้เราต้องห่วง ถ้าหากเราต้องจากโลกนี้ไป ความฝันสูงสุดในชีวิตของเรา ซึ่งก็คือการฉายหนังเรื่อง BIRTH OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha) ให้คนอื่นๆดู เราก็ทำมันสำเร็จไปแล้วในปี 2014 เพราะฉะนั้นถ้าหากกูต้องตายในวันนี้ กูก็พร้อมแล้ว แล้วเราก็เลยตัดสินใจนั่งแอร์พอร์ทเรลลิงค์แล้วต่อด้วยมอเตอร์ไซค์ไปดู THE BIG SICK แล้วก็พบว่าตัวเองอยู่รอดปลอดภัยดี สรุปว่าDIE TOMORROW ทำให้กูเป็นโรคประสาท 555

7.แต่ถ้าหากวันไหนเราเกิดตายขึ้นมาจริงๆ แล้วใครอยากรำลึกถึงเรา ก็หาหนังในรายชื่อนี้มาดูเพื่อรำลึกถึงเราก็ได้นะ 555 มันเป็นรายชื่อ 100 หนังที่เราชอบที่สุดในชีวิตที่ทำไว้ในปี 2009

แต่จริงๆแล้วไม่ต้องรำลึกถึงเราก็ได้ เพราะเราเป็นเหมือนเพื่อนบางคนที่ฝังใจกับบทกวี ODE ON SOLITUDE ของ Alexander Pope มากๆ ที่ท่อนสุดท้ายมันเขียนว่า

Thus let me live, unseen, unknown; 
   Thus unlamented let me die; 
Steal from the world, and not a stone 
                            Tell where I lie.

ด้วยเหตุนี้ จงปล่อยให้ฉันได้มีชีวิต โดยไม่ต้องพบเจอใคร ไม่ต้องรู้จักใคร
ปล่อยให้ฉันตายไปโดยไม่ต้องมีใครเสียใจให้กับการตายของฉัน
ให้ฉันได้จากโลกนี้ไปอย่างเงียบๆ และไม่ต้องมีแม้แต่หินปักอยู่บนหลุมฝังศพของฉัน


THE KILLING OF A SACRED DEER (2017, Yorgos Lanthimos, A+30)

$
0
0
THE KILLING OF A SACRED DEER (2017, Yorgos Lanthimos, A+30)

1.ชอบสุดๆ 555 ถึงแม้จะไม่เข้าใจหนังมากนัก แต่เราไม่ได้ไปดูหนังแต่ละเรื่องเพื่อทำความเข้าใจมันอยู่แล้ว เราไปดูเพื่อหาความสุขจากมันต่างหาก และความสุขที่เราได้รับจากหนังเรื่องนี้ก็คือการที่มันทำให้เราคิดถึงประเด็นที่เราชอบ ถึงแม้หนังมันอาจจะไม่ได้ตั้งใจ หรือถึงแม้มันอาจจะไม่ใช่จุดประสงค์ของผู้สร้างหนังก็ตาม

คือสิ่งที่เราจะเขียนต่อไปนี้ไม่ใช่ความหมายของหนังเรื่องนี้นะ แต่เป็นสิ่งที่เราคิดถึงหลังจากดูหนังเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้สร้างหนังตั้งใจเลยแม้แต่นิดเดียวก็ได้

หนังเรื่องนี้ทำให้เราคิดถึงประเด็นเรื่อง “ด้านมืดของศาสนา” น่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสนใจอยู่แล้ว คือมันเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการพูดถึงประเด็นนี้ แต่ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่เราสนใจ เราก็เลยหยิบหนังเรื่องนี้มาใช้อธิบายสิ่งที่เราสนใจหรือความเชื่อส่วนตัวของเราซะเลย 555

คือเรามองว่าศาสนาหลายศาสนามีข้อดีตรงการสอนเรื่องความรักและความเมตตาน่ะ แต่ถ้าหากตัดความรักและความเมตตาออกไปแล้ว เราจะพบว่ามี conceptหลายๆอันในศาสนาที่มันดีมากๆ แต่มันก็อาจจะถูกคนบางกลุ่มนำ concept เหล่านั้นไป exploit ในทางที่ผิดได้ ซึ่งก็คือ concept เรื่อง guilt, sin, justice, sacrifice อะไรทำนองนี้

คือความเชื่อเรื่อง guilt, sin, justice, sacrifice โดยทั่วไปแล้ว มันเป็นสิ่งที่ดีไง เราทำผิด เราก็ควร “สำนึกผิด”, เราควรรู้ว่าอะไรคือ “บาป” เราจะได้ไม่ไปทำบาป, เมื่อเกิดการกระทำผิดขึ้น เราก็ควรจะลงโทษคนผิด เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม และเราควรจะเสียสละเพื่อผู้อื่นบ้าง

แต่คนบางกลุ่มในบางศาสนาหรือในบางสังคม ก็อาจจะนำ concept เหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดได้น่ะ และเราว่าหนังเรื่องนี้ก็นำเสนอการ exploit guilt, sin, justiceและ sacrifice ในทางที่ผิดได้ในแบบที่สอดคล้องกับความเชื่อของเรามากๆ

คือหนังเรื่องนี้มันสอดคล้องกับความสงสัยของเราที่มีต่อตำนานทางศาสนาบางตำนานด้วยแหละ ว่ามัน “ถูกต้องดีงาม” แล้วหรือ ตั้งแต่ในตำนานกรีกที่เป็นที่มาของหนังเรื่องนี้แล้ว คือมันยุติธรรมแล้วหรือที่ต้องสังเวย Iphigenia ทั้งๆที่ตัว Iphigenia เองไม่ได้ทำอะไรผิด แล้ว Agamemnon ก็ไม่ได้ทำผิดอะไรร้ายแรงด้วย คือ Agamemnon อาจจะทำบาปและควรสำนึกผิด แต่มาตรการลงโทษที่ถูกต้องคืออะไร อะไรกันแน่คือ justice และsacrifice ในกรณีนี้เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ อีนังเทพเจ้า Artemis ต่างหากที่สมควรโดนตบที่เรียกร้องการชดเชยแบบนี้ เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างหากที่ควรถูกตั้งคำถาม คือแน่นอนว่า Agamemnon เป็นคนแรกที่ทำผิด แต่การพยายามชดเชยความผิดนี้ไม่ได้นำไปสู่ justice ที่แท้จริง แต่นำไปสู่ความชั่วร้ายที่หนักกว่าเดิม และเป็นความชั่วร้ายที่ถูกทำให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในสายตาของผู้มีอำนาจ

และมันไม่ได้มีแต่ในตำนานกรีกไง ตำนานในศาสนาอื่นๆก็ทำให้เราตั้งข้อสงสัยแบบเดียวกัน คือมันอาจจะมีบุคคล Aที่ทำผิดทำชั่ว แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบางศาสนากลับไปลงโทษคนอื่นๆ หรือไปเอาชีวิตคนอื่นๆที่ไม่ใช่บุคคล A แล้วมันยุติธรรมแล้วหรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นดีงามจริงๆหรือ หรือว่าตำนานทางศาสนาเหล่านี้เป็นเพียง fiction ที่แต่งขึ้นโดยผู้คนในอดีตเพื่อตอบสนองความเชื่อเรื่อง guilt, sin, justice และ sacrifice ที่บิดเบี้ยว และเพื่อผนวกเอา “เหตุการณ์ที่วิทยาศาสตร์ในยุคนั้นยังอธิบายไม่ได้” เข้ามาเป็นเครื่องมือเสริมฐานอำนาจให้แก่ลัทธิความเชื่อหรือศาสนาของตนเอง
                                                                                    
คือเหมือนศาสนาบางศาสนา, ลัทธิบางลัทธิ หรือนิกายบางนิกายมันสอนให้คนสำนึกผิด, มันกำหนดว่าอะไรบ้างที่เป็นบาป และอะไรคือสิ่งที่ควรทำเพื่อเป็นการชดเชยบาป และอะไรคือการเสียสละที่ควรกระทำ แต่ในบางครั้ง “สามัญสำนึก” ของเราเอง ไม่เห็นด้วยกับความเชื่อบางประการในบางศาสนาน่ะ คือสามัญสำนึกของเราเอง บางทีก็ไม่เห็นว่าการทำสิ่งนี้เป็นบาปตามที่ศาสนาบอกมา หรือไม่เห็นด้วยว่า ถ้าหากเราทำบาปที่มีความรุนแรงระดับ 7 หน่วย แล้วกฎแห่งกรรมหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนานั้นจะลงโทษเราด้วยความรุนแรงระดับ 7 ล้านหน่วย หรือไม่เห็นด้วยว่า นั่นคือ “การเสียสละ” ที่ถูกต้อง เพราะเราไม่เชื่อว่าลูกเป็น “สมบัติ” ของพ่อแม่น่ะ ทำไมตำนานศาสนาบางอันถึง treat ลูกว่าเป็นสมบัติของพ่อแม่ล่ะ หรือว่าจริงๆแล้ว ความเชื่อทางศาสนาและตำนานทางศาสนาเหล่านี้ มันล้วนเป็น fiction ที่คนในอดีตแต่งขึ้นมา มันไม่ใช่ความจริง  (สิ่งที่เราทำ ก็คือเลือกเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับสามัญสำนึกของตัวเองเท่านั้น คือเราเชื่อเรื่อง guilt, sin, justice และ sacrifice แต่ไม่ใช่เชื่อตามแบบที่คนอื่นๆบอกสอนมาทั้งหมด)

คือความสงสัยของเราที่มีต่อความเชื่อทางศาสนาเหล่านี้ มันไปสอดคล้องกับเรื่องราวใน THE KILLING OF A SACRED DEER โดยบังเอิญน่ะ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มากๆ 555 เพราะมันเห็นชัดเลยว่า ตัวละครในหนังมันเอา conceptเรื่อง guilt, sin, justiceและ sacrifice ไปใช้ในทางที่ผิด

2.ตอนแรกที่ดูหนังเรื่องนี้ ก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องศาสนานะ แต่พอมีเรื่องคำสาปแช่ง, การฉวยโอกาสทำประโยชน์จากสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังอธิบายไม่ได้, มีฉากจุมพิตเท้า, มีการใช้อิทธิพลผ่านความกลัว และมีการ “สังเวย” ในแบบที่ถูกต้องตามความเห็นของผู้มีอิทธิพล แต่ขัดกับมโนสำนึกของเรา เราก็เลยนึกถึงปัญหาของเราที่มีต่อตำนานทางศาสนาและความเชื่อทางศาสนาขึ้นมา

3.ชอบการแสดงแบบแข็งๆในช่วงแรกๆมาก คือไม่รู้ว่าผู้กำกับตั้งใจหรือเปล่า แต่การแสดงในช่วงแรกๆมันดูเหมือนตัวละคร “ท่องบท” มากกว่าแสดงเป็นมนุษย์จริงๆน่ะ มันเหมือนดูอะไรที่หลุดออกมาจากหนังสือเรียนสำหรับเด็กที่แสดงให้เห็นภาพ “ครอบครัวตัวอย่าง” อะไรทำนองนี้ และมันทำให้นึกถึงการแสดงแข็งๆแบบในหนังของ Robert Bresson ด้วย

4.การใช้ดนตรีแบบเกินจริงในเรื่องเราก็ชอบมากนะ มันฮาดี และมันแสดงให้เห็นว่า เราไม่เห็นจำเป็นต้องทำตามกฎที่ว่า “ดนตรีประกอบต้องไม่เด่นเกินหน้าหนัง” ซะหน่อย เพราะกฎเรื่อง “หนังที่ดีควรเป็นยังไง” มันก็เหมือนกับความเชื่อทางศาสนานั่นแหละ มันล้วนเป็นสิ่งที่คนบางกลุ่มแต่งขึ้นมา และเชื่อกัน แต่เราไม่จำเป็นต้องเชื่อตามนั้น และไม่เชื่อว่ากฎเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆกรณี

5.ชอบความเหนือธรรมชาติในหนังเรื่องนี้นะ มันทำให้นึกถึงหนังอีก 4 เรื่องที่เราชอบสุดๆน่ะ ที่เป็นเรื่องของคนแปลกหน้าที่เข้ามามีอิทธิพลต่อ “ครอบครัว” เหมือนกัน และมันมีความเหนือธรรมชาติอยู่ในหนัง 4 เรื่องนี้ด้วย

หนัง 4 เรื่องนี้ก็คือ

5.1 TEOREMA (1968, Pier Paolo Pasolini, Italy)
5.2 TO SLEEP WITH ANGER (1990, Charles Burnett)
5.3 BORGMAN (2013, Alex van Warmerdam, Netherlands)
5.4 CREEPY (2016, Kiyoshi Kurosawa, Japan)

แต่หนัง 4 เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เราคิดถึงประเด็นเรื่องความเชื่อทางศาสนาแบบ THE KILLING OF A SACRED DEER นะ เราว่าหนัง 5 เรื่องนี้แต่ละเรื่องก็อาจจะพูดถึงประเด็นที่แตกต่างกันไป แต่มันมีการใช้ตัวละครคนนอกที่มีพลังเหนือธรรมชาติและเป็นตัวละครที่เข้ามาสร้างความชิบหายให้แก่ครอบครัวคนธรรมดาเหมือนๆกัน


6.สรุปว่ารัก Yorgos Lanthimos มากๆ อันนี้เป็นหนังเรื่องที่สามของเขาที่เราได้ดู ต่อจาก DOGTOOTH และ THE LOBSTER เราว่าหนังของเขามีสไตล์ที่จัดเกินไปหน่อยหรือหนักมือเกินไปนิดนึงสำหรับเรานะ แต่เขาก็คุมโทนหนังของเขาให้เข้าทางเราได้ดี และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือว่า ประเด็นในหนังของเขามันสอดคล้องกับความเชื่อของเราน่ะ ทั้งความเชื่อเรื่องการกำหนดความหมายให้แก่คำหรือค่านิยมต่างๆใน DOGTOOTH (ค่านิยมที่พ่อแม่สั่งสอนเรามา มันเชื่อถือได้จริงๆเหรอ), การตั้งคำถามต่อความเชื่อของคนในสังคมเรื่องการมีคู่ ใน THE LOBSTER และการที่หนังทำให้เราคิดถึงความสงสัยที่มีต่อตำนาน+ความเชื่อทางศาสนาใน THE KILLING OF A SACRED DEER

TUMHARI SULU

$
0
0
TUMHARI SULU (2017, Suresh Triveni, India, A+30)

1.ช่วงแรกๆจะรู้สึกไม่ค่อยอินกับนางเอก เพราะนางเอกมีอารมณ์ชื่นมื่นเบิกบานตลอดเวลา แบบเดียวกับนางเอก HAPPY-GO-LUCKY (2008, Mike Leigh) ส่วนเราจะเป็นคนที่คิดเรื่องฆ่าตัวตายอยู่ทุกวัน เพราะฉะนั้นเราจะไม่อินกับนางเอกประเภทอารมณ์สดใสแบบนี้

2.แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆของเรื่อง ก็ชอบหนังแบบสุดๆไปเลย เพราะนางเอกและครอบครัวของนางเอกมันเจอปัญหาชีวิตหนักหน่วง แต่นางเอกมีอาชีพเป็นดีเจที่ต้องคอยสร้างอารมณ์สดใสให้แก่ผู้ฟัง และพูดคุยเจื้อยแจ้วเจ๊าะแจ๊ะกับผู้ฟัง เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นการวัดกันไปเลยว่า มึงจะยังพูดคุยอย่างสดใสกับผู้ฟังได้หรือเปล่า ในเมื่อชีวิตจริงของมึงพังพินาศไปแล้ว คือจุดนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE BIG SICK ด้วย ที่พระเอกต้องขึ้นแสดงตลกสดๆต่อหน้าผู้ชม ในขณะที่ชีวิตจริงพังพินาศ

3.ปีนี้อินเดียผลิตหนังเกี่ยวกับปัญหาชีวิตผู้หญิงออกมาเยอะมาก ซึ่งมันก็คงสะท้อนสภาพสังคมของอินเดียเองนั่นแหละ ที่ผู้หญิงยังขาดความเท่าเทียมกับผู้ชายอยู่ ในขณะที่ชาติตะวันตกแทบไม่ผลิตหนังแบบนี้ออกมาแล้ว


หนังเกี่ยวกับชีวิตผู้หญิงอินเดียที่เราชอบในปีนี้ ก็มีเช่น DANGAL (2016, Nitesh Tiwari), MOM (2017, Ravi Udyawar), SECRET SUPERSTAR (2017, Advait Chandan), TOILET – EK PREM KATHA (2017, Shree Narayan Singh) และก็เรื่องนี้นี่แหละ

DREAMS INSPIRED BY COCO

$
0
0
ผลกระทบจากการดู COCO ก็คือกูเก็บไปฝันเลยค่ะ 555 แต่ฝันคราวนี้ไม่ได้มีเรื่องราวอะไรเป็นชิ้นเป็นอันนะ มันเป็นฝันที่สะเปะสะปะพอสมควร แต่ก็ขอจดบันทึกเอาไว้หน่อยแล้วกัน

เมื่อคืนเราฝันว่าเรานอนอยู่ในศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้าอะไรสักอย่าง แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า ทำไมเรากับคนหลายๆคนต้องนอนในศูนย์อาหาร รู้แต่ว่าในฝันเราตื่นนอนขึ้นมา แล้วจะไปเข้าห้องน้ำในเวลาตีสอง ก็เลยเดินออกจากศูนย์อาหารจะไปเข้าห้องน้ำ แล้วก็สังเกตว่าในห้างมีคลาสโยคะที่มีคนมาเรียนกันด้วย เราก็เลยประหลาดใจมากว่า ทำไมชั้นเรียนโยคะรอบตีสอง-ตีสามถึงมีคนมาเรียนกันเยอะขนาดนี้ หรือว่าการฝึกโยคะตอนตีสอง-ตีสามจะให้ประสิทธิผลสูงสุด สูงกว่าการฝึกโยคะในช่วงเวลาอื่นๆของวัน

พอเข้าห้องน้ำเสร็จ เราก็กลับมานอนในศูนย์อาหาร เราก็นอนหลับตา แล้วก็พบว่าตัวเองยังเห็นขาตัวเองอยู่ แล้วก็ได้ยินเสียงพระเทศน์จากเทปธรรมะอะไรสักอย่างด้วย เราก็เลยงงว่า กูหลับตาแล้ว ทำไมยังเห็นขาตัวเองอยู่ แล้วเราไม่ได้เปิดเทปธรรมะอย่างแน่นอน แล้วเสียงพระเทศน์มาจากไหน เราก็เลยรู้ตัวว่า เรากำลังฝันอยู่อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นกูขอออกไปสำรวจโลกความฝันดูหน่อยดีกว่า แล้วเราก็เหาะออกจากห้างสรรพสินค้าไป

เหาะออกไปแล้ว เราก็เจอหนุ่มสาวกลุ่มนึงกำลังฝึกวิทยายุทธอยู่ คือเหมือนกับฝึกวิชาตัวเบาด้วยการกระโดดจากนอกตึกขึ้นไปที่ชั้นสองของตัวตึก อะไรทำนองนี้ เราก็แอบอยู่ที่ระเบียงชั้นสองเพื่อดูหนุ่มสาวพวกนี้ฝึกวิชากัน แล้วเราก็ค่อยเผยตัวออกมา แล้วบอกว่าการกระโดดแบบนี้เป็นเรื่องง่ายๆนะ (ก็กูรู้ตัวว่าอยู่ในโลกความฝันนี่นา) แล้วเราก็สาธิตให้เห็นด้วยการกระโดดจากชั้นสองไปที่ชั้นหนึ่ง แล้วก็กระโดดจากชั้นหนึ่งแล้วก็ลอยขึ้นไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ แล้วก็บินไปสำรวจสถานที่อื่นๆต่อ

เหมือนในโลกความฝันมันเป็นอาคารตึกๆแบบในกรุงเทพนี่แหละ แต่มันจะมืดๆหน่อย เราบินผ่านไปเห็นวัดแห่งหนึ่งกำลังจัดงานศพอยู่ มีผู้คนเดินไปเดินมา เราก็เลยลงไปสำรวจซะหน่อย แล้วก็พบว่าบรรดาพระๆในวัดนี้จะเห็นเรา แต่คนที่มาร่วมงานศพจะไม่เห็นตัวเรา เหมือนกับเราเป็นวิญญาณที่พระที่มีญาณทิพย์เท่านั้นถึงจะเห็นได้ พระรูปนึงก็โบกมือทักทายเรา คนที่มาร่วมงานศพก็งงว่า พระโบกมือให้ใคร

เราเริ่มสังหรณ์ใจ กลัวว่านี่จะเป็นงานศพของตัวเราเองในอนาคต เราก็เลยพยายามหาชื่อ+รูปของผู้เสียชีวิต แต่หาไม่เจอ เราก็เลยดูตามชื่อพวงหรีดว่าใครส่งมาร่วมงานศพนี้บ้าง ดูว่ามีคนนามสกุลโพธิ์แก้วส่งมาบ้างหรือเปล่า ปรากฏว่าเจอแต่พวงหรีดจากคนนามสกุลโพธิ์เขียว กับคนนามสกุลโพธิ์รักษาอะไรทำนองนี้ แต่ไม่เจอคนนามสกุลโพธิ์แก้ว แล้วเราก็มองเห็นผีหลายตัวมาร่วมปะปนในงานศพนี้ด้วย คือในงานศพจะมีคนธรรมดาที่มองไม่เห็นเรา แล้วก็มีพระหลายรูปที่มองเห็นเรา แล้วก็มีผีที่หน้าตาน่าเกลียดเดินปะปนกับคนในงาน เราก็เลยกลัวๆ แล้วจะบินออกไป แต่พอบินออกนอกศาลาไป เราก็นึกขึ้นมาได้ว่า มันมีจุดนึงในงานที่น่าจะมีการเขียนชื่อผู้เสียชีวิตเอาไว้ เราก็เลยจะบินกลับเข้าไปดูตรงจุดนั้น ว่ามันเป็นชื่อของเราหรือเปล่า ปรากฏว่าเราบินกลับเข้าไปในศาลาไม่ได้ อยู่ดีๆก็มีประตูมาปิดไว้ เราฝ่าเข้าไปไม่ได้ เราก็เลยบินไปสำรวจที่อื่นๆต่อ

เราก็บินไปจนมาลงจอดที่หน้าตึกอะไรสักอย่างในเวลากลางวัน มีฝรั่งหนุ่มคนนึงเดินอยู่ เราก็เลยชวนเขาว่าไปมีsex กันมั้ย เขาก็บอกว่า เอาสิ แล้วจะพาเราไปมี sex ในห้องน้ำ เราก็บอกว่า นี่มันเป็นโลกความฝันหรือไม่ก็โลกวิญญาณนี่นา แล้วเราจะไปทำตามกฎของโลกมนุษย์ทำไม เรามามี sex กันหน้าตึกนี่เลยดีกว่า ท่ามกลางสายตาคนจำนวนมากนี่แหละ เพราะในโลกนี้ เราไม่เห็นจำเป็นต้องทำตามกฎของโลกมนุษย์เลย เขาก็ตกลง เราก็เลยถอดกางเกงเขาออก เพื่อจะบ๊วบให้เขาต่อหน้าธารกำนัล แต่ปรากฏว่าเขาจู๋เล็กมาก เราก็เลยบอกว่า งั้นเราไม่บ๊วบให้แล้วนะ แล้วก็เดินจากมา เขาก็มีอาการงอแงเล็กน้อย

แล้วเราก็บินมาอยู่ในห้างสรรพสินค้าแห่งนึง คล้ายๆพารากอน มีคนเดินไปเดินมา มีร้านค้าต่างๆ แล้วเราก็นึกขึ้นมาได้ว่า ถ้าหากตอนนี้เราอยู่ในโลกความฝันหรือโลกวิญญาณ แล้วเราจะขอหวยได้หรือเปล่า เราก็เลยสอบถามคนไปเรื่อยๆ ก็มีคนนึงจะเอารหัสใบ้หวยมาให้เรา แต่มันเป็นตารางที่ดูแล้วงงๆ มันไม่ใช่ตัวเลขชัดๆน่ะ มันเป็นตารางที่มีตัวเลขมากมาย แล้วเขาก็บอกว่า ถ้าจะซื้อหวยตรงบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้า ต้องซื้อตามตัวเลขที่เขียนไว้ตรงจุดนี้ของตาราง แต่ถ้าหากจะซื้อหวยตรงบริเวณใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ต้องซื้อตามจุดนี้ของตาราง บลาๆๆ แล้วก็ดูเหมือนจะมีเงื่อนไขมากมาย เราก็เลยตัดสินใจว่า เราไม่เอาดีกว่า เพราะตารางมันไม่ได้บอกว่า รางวัลที่หนึ่งคือหมายเลขอะไร ตารางมันเหมือนจะใบ้แค่เลขท้ายสองหลักเท่านั้น แล้วเราไม่อยากเสี่ยงทำสัญญาผูกมัดหรือทำตามเงื่อนไขอะไรกับโลกของวิญญาณ เพื่อแลกกับเลขท้ายสองตัว มันไม่คุ้มกัน คือสมมุติกูถูกเลขท้ายสองตัว แต่กูต้องมีสัญญาผูกมัดอะไรสักอย่างกับโลกวิญญาณไปตลอดชีวิต กูก็ไม่เอาดีกว่า เราก็เลยปฏิเสธมันไป

แล้วเราก็เลยสำรวจห้างสรรพสินค้า แล้วก็พบว่าตัวเองอยู่ในสวนสนุกบนดาดฟ้า คืออารมณ์คล้ายๆสวนสนุกบนชั้น 8 มาบุญครองในทศวรรษ 1980 น่ะ แต่เป็นสวนสนุกที่ดูสวยและงดงามกว่าสวนสนุกชั้น 8 มาบุญครองนะ และเราก็พบว่าโลกวิญญาณนี้มันดูสวยและน่าจะมีความสุขพอสมควร คือตอนนั้นในฝันเราคิดว่า วิญญาณตัวเองลอยออกจากร่างที่นอนหลับ เพื่อมาสำรวจโลกวิญญาณน่ะ แต่ถ้าหากเราบินสำรวจนานเกินไป อาจจะมีวิญญาณร้ายฉวยโอกาสมาสิงร่างเราที่กำลังนอนหลับอยู่ก็ได้ แบบในหนังเรื่อง INSIDIOUS เราก็เลยลังเลใจว่า เราจะรีบตื่นนอนดี หรือสำรวจโลกวิญญาณต่อดี แต่พอเราพบว่าโลกวิญญาณมันดูสวยและน่าจะมีความสุขมากๆ เราก็เลยตัดสินใจว่ายังไม่รีบตื่นนอนดีกว่า คือถ้าหากกูกลับเข้าร่างไม่ได้ ต้องอยู่ในโลกวิญญาณนี้ตลอดไป กูก็ไม่เสียใจ เพราะมันดูสวยและดีกว่าโลกแห่งความเป็นจริงเยอะ

เราก็เลยถามหนุ่มหล่อ (ที่ไม่รู้โผล่มาจากไหน) ในฝันว่า ไอ้ท้องฟ้าสวยงามที่อยู่ล้อมรอบสวนสนุกนี่มันเป็นท้องฟ้าจริงหรือเปล่า หรือท้องฟ้านี่มันก็เป็นส่วนนึงของห้างสรรพสินค้า เขาก็ตอบว่ามันเป็นท้องฟ้าจริงๆ เราก็เลยบินออกจากห้างไปสำรวจดู แล้วก็พบว่าเราอยู่บนเนินเขา แล้วก็เริ่มมีหิมะตกลงมาด้วย เราก็กรี๊ดกร๊าดดีใจมาก เพราะในชีวิตจริงเรายังไม่เคยเห็นหิมะมาก่อนเลย เราก็เลยบินเข้าไปในบริเวณที่หิมะตก แล้วก็รู้สึกเย็นๆดี หนุ่มหล่อก็บอกเราว่า เดี๋ยวเป็นหวัดนะ เราก็บอกว่า นี่มันโลกวิญญาณนะ เราไม่มี body ซะหน่อย แล้วเราจะเป็นหวัดได้ยังไง

แล้วอยู่ดีๆเราก็พบว่าตัวเองอยู่ในร้านอาหารญี่ปุ่นอะไรสักอย่าง แล้วก็เจอเพื่อนมัธยมที่ชื่อแคชฟีย่าอยู่ในร้านอาหารนั้น แล้วแคชฟีย่าก็ทำอะไรลับๆล่อๆก็ไม่รู้ แล้วเราก็ตื่นขึ้นมา


สรุปว่า มันคงเป็นหนังเรื่อง COCO แน่ๆที่ทำให้เราฝันดีแบบนี้ 

SUPERBUG (2017, Wachara Kanha, 22min, A+30)

$
0
0
SUPERBUG (2017, Wachara Kanha, 22min, A+30)

1.วชรยังคงเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่เราชอบมากที่สุดเหมือนเดิม เพราะเขาเป็นคนทำหนังแนวกวีที่ดูเหมือนจะมีคนไทยทำน้อยมาก และเขาก็ทำออกมาได้ดีมากๆด้วยในสายตาของเรา

หนังเรื่องนี้ของวชรเป็นการนำภาพสามัญธรรมดามากมายที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน มาเรียงร้อยเข้าด้วยกันได้อย่างงดงาม โดยมีเสียง voiceover เป็นการอ่านบทกวี (หรือบทรำพึงรำพัน) ของรอนฝัน ตะวันเศร้า โดยตัวบทกวีจะพูดถึงการรอคอยนาน 10 วัน ในช่วงระหว่างวันที่ 9 เดือน 9 จนถึงวันที่ 19 เดือน 9 ก่อนที่จะพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป

สำหรับความหมายของหนังเรื่องนี้ในความเห็นของเรานั้น เราขอไม่เขียนถึงนะ คิดว่าผู้ชมแต่ละคนควรจะตีความด้วยตัวเองจะดีกว่า
                                                   
เราชอบการเรียงร้อยภาพธรรมดาสามัญที่ไม่เกี่ยวข้องกันแบบนี้เข้าด้วยกันมากๆ เราว่ามีผู้กำกับหนังไทยเพียงไม่กี่คนที่ทำแบบนี้ได้ คือผู้กำกับหนังไทยที่ทำแบบนี้ได้เท่าที่เราเคยดูก็มีแค่ Teeranit Siangsanoh, Arnont Nongyao, Tanatchai Bandasak, Jutha Saovabha, Tanakit Kitsanayanyong และก็อาจจะมีอีกไม่กี่คนที่เรายังนึกชื่อไม่ออกในตอนนี้น่ะ คือเราว่าประเทศไทยขาดแคลนผู้กำกับหนังแนวนี้มากๆ (แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้นะ เพราะการทำหนังแนวนี้ไม่สามารถทำเงินได้น่ะ มันไม่ใช่หนังที่สามารถแปรมูลค่าเป็นตัวเงินได้)

ในส่วนของตัวภาพนั้น เราได้เห็นภาพของกองดิน, หน้าต่างหอศิลป์กทม., พุ่มไม้ในซอกตึก, ผ้าม่าน, คนจำนวนมากยืนนิ่งก่อนที่จะนั่งลง, วชรนั่งอยู่เฉยๆ, การเผาหญ้า, ปูว่ายน้ำ, เด็กชาวเขา, เด็กนักเรียนประถมในชนบท, ถังแดง, เด็กมุสลิม, งานศพ, ฯลฯ ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่เราดูหลายรอบได้ไม่เบื่อ คือมันไม่ได้เป็นภาพที่งดงามแบบสุดๆ หรือเป็นภาพที่ freeze แล้วจะเหมือน painting แต่มันเป็นภาพที่ “มีความเป็นอิสระ” และ “มีความเป็นธรรมชาติ” อยู่ในตัวมันน่ะ มันเหมือนเป็นภาพที่ไม่ได้ถูกครอบไว้ด้วยความหมายที่ชัดเจน แล้วถ้าหากเราตีความความหมายของภาพออก เราก็จะเข้าใจสารทั้งหมด คือเราว่าภาพที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายในหนังบางเรื่อง มันจะหมดรสชาติ หรือหมดคุณค่าไป เมื่อเราเข้าใจมันน่ะ คือพอเราเข้าใจมันแล้ว มันก็เหมือนภาพนั้นเป็นกล่องนมที่เราดูดนมออกไปหมดแล้ว เราได้รับทุกอย่างจากมันไปแล้ว แล้วมันก็หมดคุณค่าไป แต่ภาพในหนังของวชร และTeeranit มันเหมือนยังมีความเป็นอิสระและความมีชีวิตอยู่ในตัวมันด้วย คือแน่นอนว่าภาพแต่ละภาพหรือซีนบางซีนในหนังของสองคนนี้มันอาจจะมีความหมายแฝงอยู่ แต่ความหมายของภาพหรือความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของภาพมันไม่ได้ครอบภาพไว้ทั้งหมดน่ะ ภาพแต่ละภาพมันยังมีลมหายใจของมันที่มากไปกว่าการเป็นสัญลักษณ์อยู่ด้วย และเราก็ชอบภาพหรือหนังแบบนี้มากๆ เพราะเราไม่ใช่คนที่ชอบตีความสัญลักษณ์ 555

อย่างเช่นภาพเด็กนักเรียนในหนังเรื่องนี้ คือดูภาพเด็กนักเรียนในหนังเรื่องนี้แล้วเราก็ไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่ามันจะสื่อถึงอะไร หรือผู้กำกับต้องการให้เรารู้สึกอย่างไรกับภาพที่เห็น และพอมันเกิดความไม่แน่ใจทางความหมายและอารมณ์แบบนี้ มันก็เลยเกิดความรู้สึกที่ “เป็นอิสระ” ขึ้นมาสำหรับเรา และเราชอบอะไรแบบนี้มากๆ เราจะตีความภาพเด็กนักเรียนนี้อย่างไรก็ได้ หรือเราจะรู้สึกอย่างไรก็ได้ เราอาจจะรู้สึกสิ้นหวังและสงสารเมื่อเห็นภาพเด็กนักเรียนในประเทศที่ล่มสลายแห่งนี้ก็ได้ โดยที่หนังไม่จำเป็นต้องบอกเรา หรือเราอาจจะ enjoy การจับสังเกตปฏิกิริยาของนักเรียนแต่ละคนก็ได้ ซึ่งมันก็อาจจะคล้ายกับการดูหนังเรื่องแรกของโลกอย่าง WORKERS LEAVING THE LUMIERE FACTORY (1895, Louis Lumiere) ที่หนังไม่จำเป็นต้องสื่อว่าชีวิตสาวโรงงานมันดีหรือเลว เราแค่มองภาพคนเดินออกจากโรงงาน โดยไม่ต้องเอาความหมายใดๆไปครอบมันไว้ หรือไปกำหนดว่าเราต้องรู้สึกอย่างไรกับภาพที่เห็น และปล่อยให้ภาพมันมีชีวิตและลมหายใจของมันเอง

2.ตัวบทกวีของรอนฝัน ตะวันเศร้านั้นก็น่าสนใจดี เราว่ามันดีมากๆเลยที่มีการเอาบทกวีมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ได้แบบนี้ ซึ่งเราว่ามันเป็นเรื่องที่ยากมากๆในการดัดแปลงบทกวีออกมาเป็นหนัง

ท่อนที่ชอบมากในบทกวีนี้ก็คือท่อนที่พูดถึง “พื้นที่คุยกับฉัน” และท่อนที่พูดว่า “ความคิด วิเคราะห์ แยกแยะของฉัน และควยอันแสนเศร้าของฉัน ยังคงคุยกับเศษหนังกำพร้าของคณะราษฎร์ เราคุยถึงพุทธศักราช 2475 ที่หายไป”

เราว่าการนำบทกวีมาดัดแปลงเป็นหนัง มันควรทำออกมาเป็นหนังแบบนี้แหละ คือไม่ใช่การสร้างภาพตามที่บทกวีบอกน่ะ เพราะถ้าหนังแค่จำลองภาพตามสิ่งที่บทกวีเขียนถึง แล้วจะทำหนังออกมาทำไม เราแค่อ่านบทกวีแล้วจินตนาการภาพเองก็พอแล้ว แต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำก็คือภาพที่เห็นกับเสียง voiceover ที่พูดบทกวีไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันเสมอไป มันคือการสร้างอีก layer นึงซ้อนทับขึ้นมาจากบทกวี และบางทีสมองของผู้ชมก็ต้องพยายามทำความเข้าใจกับทั้งบทกวี, ภาพที่เห็น, ความเชื่อมโยงกันระหว่างภาพแต่ละภาพในหนัง และความเชื่อมโยงกันระหว่างบทกวีกับภาพไปด้วย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราชอบมากๆ

3.แต่ถ้าหากเทียบกับหนังของวชรและสำนักงานใต้ดินด้วยกันเองแล้ว นี่ก็อาจจะไม่ใช่หนังที่เราชอบมากที่สุดนะ 555 เพราะเราว่าเราชอบ PHENOMENON (2012, Teeranit Siangsanoh), ชิงชัง (2012, Wachara Kanha),  ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ (2014, Wachara Kanha) มากกว่าหนังเรื่องนี้น่ะ อันนี้เทียบกันเฉพาะ “หนังที่เป็นการเรียงร้อยภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน” เหมือนหนังเรื่องนี้ แต่มันไม่ใช่ว่าหนังเรื่องนี้มีจุดบกพร่องอะไรตรงไหนนะ เพียงแต่ว่า PHENOMENON, ชิงชัง และภาษาที่เธอไม่เข้าใจส่งผลกระทบทางอารมณ์ต่อเราอย่างรุนแรงมากกว่า

ถ้าหากเทียบกับหนังของผู้กำกับคนอื่นๆแล้ว เราชอบหนังเรื่องนี้ในแบบเดียวกับที่เราชอบหนังหลายๆเรื่องของ Taiki Sakpisit, Arnont Nongyao, Eakalak Maleetipawanและ Pathompon Tesprateep น่ะ คือเราว่าผู้กำกับกลุ่มนี้ทำหนังการเมืองแนวกวีเหมือนกัน ซึ่งมันจะต่างจากหนังการเมืองแนวที่ให้ข้อมูลกับผู้ชมอย่างเป็นรูปธรรม อย่างหนังของ Prap Boonpan,Viriyaporn Boonprasert, Ratchapoom Boonbunchachoke คือหนังการเมืองบางเรื่องมันดูมีประเด็นที่เป็นรูปธรรมมากๆสำหรับเรา ในขณะที่หนังของ Apichatpong Weerasethakul + Chulayarnnon Siriphol อาจจะมีความเป็นรูปธรรมครึ่งนึง นามธรรมครึ่งนึง ส่วนหนังของ Wachara Kanha, Teeranit Siangsanoh, Taiki Sakpisit, Arnont Nongyao, Eakalak Maleetipawan, Tanatchai Bandasak, Pathompon Tesprateep จะดูมีความเป็นนามธรรมมากๆสำหรับเรา คือหนังของผู้กำกับกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้ให้ข้อมูลใหม่ๆอะไรแก่เราในทางการเมือง (เพราะบางทีข้อมูลเหล่านี้เราควรหาอ่านจากข่าวหรือบทความทางวิชาการอาจจะดีกว่า) แต่มันกระตุ้นความคิด และมันส่งผลกระทบทางอารมณ์ความรู้สึกต่อเราอย่างมากในแบบที่ยากจะอธิบายได้

ใครอยากดูหนังเรื่องนี้ ก็ติดต่อผู้กำกับดูได้นะ เขาอาจจะส่งลิงค์มาให้เข้าไปดู

RHIZOME 2017

$
0
0
Films seen in RHIZOME 2017
(in viewing order)

1.Q (2017, James Bascara, animation, A+30)
2.HARMALA PSYCHOTRIA (2016, Frederik Jan Depickere, documentary, A+20)
3.BLAHA LUJZA SQUARE (Antonin Blanc, Hungary, documentary, A+25)
4.TO ALL SONS OF OUR MOTHER (Antonin Blanc, A+10)
5.PORT (2016, Hiroshi Sunairi, 26min, A+30)
6.SNAKESKIN (2014, Daniel Hui, Singapore, 105min, second viewing, A+30)
7.POSTOCULA (2013, Jon Lazam, Philippines, A+25)
8.MEETING PLACE (2010, Jon Lazam, Philippines, A+30)
9.DARNA: A STONE IS A HEART YOU CANNOT SWALLOW (2012, Jon Lazam, Philippines, second viewing, A+30)
10.PANTOMIME FOR FIGURES SHROUDED BY WAVES (2013, Jon Lazam, Philippines, second viewing, A+30)
11.THE MOON IS NOT OURS (2011, Jon Lazam, Philippines, A+15)
12.TASTE OF GOOSEBERRY (2016, Jon Lazam, Philippines, A+30)
13.THREE ENCHANTMENTS (2016, Jon Lazam, Philippines, second viewing, A+30)
14.PIRACY (2017, Jon Lazam, Philippines, A+30)
15.BALIKTARAN STUDY 01 (2016, Jon Lazam, Philippines)
16.SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley, UK, 90min, A+30)
17.A SUBSEQUENT FULFILMENT OF A PRE-HISTORIC WISH (2015, Johannes Gierlinger, Austria, A+25)
18.THE FORTUNE YOU SEEK IS IN ANOTHER COOKIE (2014, Johannes Gierlinger, Austria, 74min, A+30)
19.PEOPLE POWER BOMBSHELL: THE DIARY OF VIETNAM ROSE (2017, John Torres, Philippines, 89min, A+30)
20.THE ETHEREAL MELANCHOLY OF SEEING HORSES IN THE COLD (2012, Scott Barley, UK, A+20)
21.NIGHTWALK (2013, Scott Barley, UK, 6min, A+25)
22.ILLE LACRIMAS (2014, Scott Barley, UK, 20min, A+30)
23.HOURS (2015, Scott Barley, UK, 3min, A+25)
24.SHADOWS (2015, Scott Barley, UK, 20min, A+30)
25.HUNTER (2015, Scott Barley, UK, 14min, A+30)
26.CLOSER (2016, Scott Barley, UK, 7min, A+30)
27.HINTERLANDS (2016, Scott Barley, UK, 7min, A+30)
28.THE GREEN RAY (2017, Scott Barley, UK, 12min, A+30)
29.WOMB (2017 Scott Barley, UK, 17min, A+30)         

--ปกติเราชอบจัดอันดับหนังที่ได้ดูนะ แต่งานนี้ขี้เกียจจัด ว่าชอบเรื่องไหนมากหรือน้อยกว่าเรื่องไหน เพราะมันมีหนังที่ชอบในระดับ A+30เยอะมาก แล้วหนังของ Scott Barley มันแยกจากกันยากมากๆ โดยเฉพาะหนังกลุ่ม ILLE LACRIMAS, HUNTER, CLOSER, HINTERLANDS ที่เราแทบแยกไม่ออกว่า 4 เรื่องนี้มันต่างกันยังไง คือถ้าให้เรียงลำดับว่าใน 4 เรื่องนี้ชอบเรื่องไหนมากที่สุด เราก็คงต้องดูซ้ำใหม่อีกรอบ แล้วเราจะดูซ้ำใหม่ไปทำไมเพียงเพื่อจัดอันดับว่าชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน 555

จริงๆแล้ว THE GREEN RAY ก็คล้ายกับหนัง 4 เรื่องในกลุ่มข้างต้นมากๆ แต่ THE GREEN RAY มันจำง่าย เพราะถ้าเราเข้าใจไม่ผิด มันคือส่วนหนึ่งของหนังเรื่อง SLEEP HAS HER HOUSE น่ะ มันเป็นฉากที่กล้องตั้งนิ่งๆถ่ายธรรมชาติในช่วงอาทิตย์อัสดงจนอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไป และมีฟ้าผ่าปรากฏขึ้นมา คือถ้าเทียบกับ 4 เรื่องข้างต้นแล้ว เราก็ชอบ THE GREEN RAY มากที่สุด

--ถ้าถามว่าชอบเรื่องไหนมากที่สุดในงานนี้ ก็คงเป็น PEOPLE POWER BOMBSHELL: THE DIARY OF VIETNAM ROSEกับ SLEEP HAS HER HOUSE นั่นแหละ ตัดสินไม่ได้ว่าชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน เพราะชอบกันคนละแบบ

จริงๆแล้วตอนดูเสร็จใหม่ๆจะชอบ PEOPLE POWER BOMBSHELL มากกว่า เพราะเราชอบหนังที่เล่นสนุกกับ “วิธีการเล่าเรื่อง” น่ะ และเราชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้มันทำให้เรามีมุมมองใหม่กับ “ฟิล์มเน่า”

คือปกติแล้วเวลาดูหนังเก่า แล้วพบว่าฟิล์มมันเน่าจนเกือบดูไม่ได้แล้ว เราจะรู้สึกเศร้าเสียใจและอารมณ์เสียไง แต่ปรากฏว่า PEOPLE POWER BOMBSHELL กลับ treat สภาพฟิล์มที่ย่ำแย่ว่าเป็นสิ่งที่งดงาม ยิ่งภาพในฟิล์มมันขยุกขยุย มีรอยเปื้อน รอยขูดขีด ช้ำเลือดช้ำหนองมากเท่าไหร่ มันกลับยิ่งสวย ยิ่งทรงคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งต่างจากเวลาดูหนังเก่าที่ restoration แล้ว ที่พยายามทำให้ฟิล์มดูสดใหม่ปราศจากรอยขูดขีดมากที่สุด
                                                                         
เราก็เลยรู้สึกว่า การดู PEOPLE POWER BOMBSHELLทำให้เราตระหนักว่า ความรู้สึกของเราที่มีต่อบางสิ่งบางอย่าง มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ แต่เป็นความรู้สึกที่ถูกกำกับควบคุมไว้แล้วผ่านระบบระเบียบที่คนอื่นๆกำหนดมา มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ “เป็นธรรมชาติ” ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เป็นความรู้สึกที่ถูกโปรแกรมไว้แล้วโดยคนอื่นๆในสังคมน่ะ

คือการดู “ฟิล์มเน่า” ในสถานการณ์นึง เรากลับรู้สึกเลวร้ายมาก แต่การดู “ฟิล์มเน่า” ในอีกสถานการณ์นึง เรากลับรู้สึกว่ามันงดงามสุดๆ มันเป็นเพราะอะไร ทั้งๆที่มันเป็นฟิล์มเน่าเหมือนกัน นั่นแสดงให้เห็นว่า มันเป็นเพราะเราไม่ได้มีความรู้สึกต่อฟิล์มเน่าเหล่านั้นโดยตรง เราไม่ได้มองฟิล์มเน่าแล้วเรารู้สึกอะไรขึ้นมาในดวงจิตของเราในทันที แต่ก่อนที่เราจะรู้สึกอะไรต่อฟิล์มเน่า เราผ่านการ “คิดถึงเจตนาของผู้สร้าง” ก่อนที่จะประมวลผลออกมาเป็นความสุขหรือความเศร้าในดวงจิตของเราเมื่อเห็นฟิล์มเน่า

คือเวลาดูหนังเก่า แล้วเห็นฟิล์มเน่า เรารู้สึกเศร้า เพราะเรารู้ว่าผู้สร้างหนังไม่ได้ต้องการให้ฟิล์มมันเน่า ภาพมันเสียแบบนั้น แต่พอดู PEOPLE POWER BOMBSHELL หรือดูหนังอย่าง 100 TIMES REPRODUCTION OF A COCK KILLS A CHILD BY PECKING ON THE MOUTH OF AN EARTHEN JAR (2017, Chulayarnnon Siriphol), 1/4/C REGENERACIONES DE VHS A VHS (1999-2000, Antoni Pinent, Spain), REPEATING DRAMATIC (2008, Arpapun Plungsirisoontorn)  หรือแม้แต่มิวสิควิดีโอ FOUND A CURE ของ Ultra Nate ที่เล่นกับ “ภาพเสีย” เรากลับรู้สึกว่าภาพยิ่งเน่า แล้วมันยิ่งงาม เพราะเรารู้ว่าผู้สร้างจงใจให้ภาพมันยับยู่ยี่แบบนั้น

เพราะฉะนั้นพอดู PEOPLE POWER BOMBSHELL เราก็เลยคิดไปถึงงานศิลปะบางอันที่เป็นการเอา found object มากำหนดให้เป็นงานศิลปะน่ะ อย่างเช่น TOWARDS MYSTICAL REALITY ของ Simon Soon ที่เอายากันยุงที่จุดใช้แล้ว มาจัดแสดงในฐานะงานศิลปะ แล้วเราก็ชอบงานอะไรแบบนี้มากๆ เพราะเราว่างานแบบนี้กับหนังอย่าง PEOPLE POWER BOMBSHELL มันทำให้เราตระหนักว่า ความรู้สึกชอบ/ชังของเราต่อบางสิ่งบางอย่าง มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่ผ่านตัวแปรหลายๆอย่างในหัวของเรามาแล้ว แล้วเลยออกมาเป็นความรู้สึกชอบ/ชังนั้น เพราะฉะนั้นในบางครั้ง เราสามารถ “เขียนโปรแกรมใหม่” ในหัวของเราก็ได้ เพื่อกำหนดให้เราชอบ/ชังสิ่งต่างๆได้เอง โดยไม่ต้องให้คนอื่นๆในสังคมกำหนดก็ได้ เหมือนเราเห็นวัตถุ A แล้วเรารู้สึกเกลียด เราก็จะถามตัวเองว่า เราเกลียดเพราะอะไร ใครกำหนดให้เราเกลียดมัน หรือเราเกลียดมันเองโดยไม่มีใครกำหนด แล้วถ้าเราเกลียดมันตามที่คนอื่นๆบอกสอนมา แล้วเราจะตั้งโปรแกรมใหม่ในหัวของเราให้เราชอบมันดีมั้ย เราสามารถสร้างคุณค่าให้กับวัตถุ A ในหัวของเราได้เองมั้ย อะไรทำนองนี้ 555


ส่วน SLEEP HAS HER HOUSE นั้น ตอนดูจบใหม่ๆก็ชอบมากนะ แต่อาจจะชอบน้อยกว่า PEOPLE POWER BOMBSHELL เพราะ SLEEP HAS HER HOUSE มันมีตัวเปรียบเทียบเยอะ ทั้งหนังของ Teeranit Siangsanoh, Enzo Cillo, James Benning อะไรทำนองนี้น่ะ แต่พอเวลาผ่านไปนานๆ เราก็ชอบ SLEEP HAS HER HOUSE มากขึ้น เพราะเหมือน “พลังสนธยา” ของมันติดค้างอยู่กับเรามากกว่า PEOPLE POWER BOMBSHELL น่ะ คือ PEOPLE POWER BOMBSHELL เหมือนกระทบความคิดของเรา ส่วน SLEEP HAS HER HOUSE เหมือนกระทบจิตใต้สำนึกของเรา เราก็เลยบอกยากว่าชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน

A QUOTE FROM NOI ALBINOI

$
0
0
พอพูดถึงทางเลือกของชีวิตในหนังเรื่อง BRAD’S STATUS แล้ว เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง NOI ALBINOI (2003, Dagur Kari, Iceland) ขึ้นมา จำได้ว่ามันมีประโยคในหนังที่เราชอบมากๆ พอลอง search ดูเลยพบว่า ประโยคในหนังเรื่องนี้มันมาจาก Søren Kierkegaard มั้ง ถ้าเข้าใจไม่ผิด

“Marry, and you will regret it; don’t marry, you will also regret it; marry or don’t marry, you will regret it either way. Laugh at the world’s foolishness, you will regret it; weep over it, you will regret that too; laugh at the world’s foolishness or weep over it, you will regret both. Believe a woman, you will regret it; believe her not, you will also regret it… Hang yourself, you will regret it; do not hang yourself, and you will regret that too; hang yourself or don’t hang yourself, you’ll regret it either way; whether you hang yourself or do not hang yourself, you will regret both. This, gentlemen, is the essence of all philosophy.”


มันคือสัจธรรมของชีวิตจริงๆ

GLOBAL MIGRATION FILM FESTIVAL 2017

$
0
0
FILMS SEEN IN THE GLOBAL MIGRATION FILM FESTIVAL 2017

IN PREFERENTIAL ORDER

1.IT WAS HOTEL CAMBRIDGE (2016, Eliane Caffé, Brazil, A+30)

2.SOUND OF TORTURE (2013, Keren Shayo, Israel, documentary, A+30)

3.PROBLEMSKI HOTEL (2015, Manu Riche, Belgium, A+30)

4.KSHITIJ (A HORIZON) (2016, Manouj Kadamh, India, A+30)

5.LUCKY SPECIALS (2017, Rea Rangaka, South Africa, A+30)

6.THE FORGER (2016, Pamela Druckerman, Samantha Stark, Alexandra Garcia, documentary, A+30)

7.THE CIRCLE (2016, Ruken Tekes, Turkey, short film, A+30)

8.TWELVE (2008, Lester Alfonso, Canada, documentary, A+25)

9.HOME (2016, Daniel Mulloy, UK, short film, A+25)

10.IN CANADA (2014, Michael Morein, Canada, documentary, A+15)

--นอกจากนี้ ในเทศกาลยังมีการฉายคลิปสั้นๆ SOY MIGRANTE จากอาร์เจนตินาด้วย เราได้ดูไป 3 คลิป ชอบมากๆเลย ถ้าจำไม่ผิด คลิปนึงเป็นเรื่องของสาวเฮติในอาร์เจนตินา อีกคลิปนึงเป็นเรื่องของหนุ่มอุรุกวัยที่มาทำขนมปังในอาร์เจนตินา และอีกคลิปนึงเป็นเรื่องของสาวลาตินอเมริกา (จำประเทศไม่ได้) ที่มาเรียนปริญญาโทหรือทำงาน NGO ในอาร์เจนตินา

ชอบเรื่องของหนุ่มอุรุกวัยในอาร์เจนตินามาก คือก่อนหน้านี้เรามักจะมองว่า ผู้อพยพพวกนี้มันไม่น่าจะเจอปัญหาอะไรเลยนะ เพราะมันพูดภาษาสเปนเหมือนกัน หน้าก็คล้ายๆกัน คือเวลาพวกเขาไปไหนมาไหนในอาร์เจนตินา พวกเขาไม่น่าจะถูกเหยียด เพราะคนอาร์เจนตินาไม่น่าจะมองออกว่าพวกเขาเป็นชาวต่างชาติ แล้วเราก็ไม่รู้ด้วยว่า ประเทศต่างๆในอเมริกาใต้มันมีการเหยียดกันยังไงบ้าง หรือมีลำดับชั้นในการเหยียดยังไงบ้าง

แต่หนุ่มอุรุกวัยเล่าว่า ยุคแรกๆที่เขามาทำงานในอาร์เจนตินา เขาใช้รถที่มีป้ายทะเบียนอุรุกวัย เขาก็เลยถูกคนอาร์เจนตินาตะโกนด่าว่า “กลับประเทศมึงไป” อะไรทำนองนี้

เขาบอกว่า เขาคิดถึงภาษาพื้นเมืองอะไรสักภาษาของเขาด้วย คือเราจำชื่อภาษาไม่ได้ แต่มันไม่ใช่ภาษาสเปน เราก็เลยได้ความรู้ใหม่ว่า คนอุรุกวัยบางกลุ่มเขาก็มีภาษาของตนเองที่ไม่ใช่ภาษาสเปนเหมือนกัน

--อยากรู้ว่าใคร curate หนังในเทศกาลนี้ เพราะรสนิยมมันตรงกับเราอย่างสุดๆ

--ฉากที่ชอบที่สุดฉากนึงในปีนี้ อยู่ใน IT WAS HOTEL CAMBRIDGE เป็นฉากที่ตัวละครหญิงชาวบราซิลคนนึงเจอหนุ่มหล่อชาวปาเลสไตน์ เธอก็เลยชวนเขามาที่ห้อง แล้วเล่าประวัติตัวเองให้หนุ่มปาเลสไตน์ฟัง เธอเล่าว่า เธอเคยอยู่คณะละครสัตว์ และสนิทกับช้างตัวนึง เธออาบน้ำให้ช้างตัวนี้เป็นประจำ แต่มีวันนึงเธอป่วย คณะละครสัตว์ก็เลยให้คนอื่นมาอาบน้ำให้ช้างตัวนี้ แล้วช้างตัวนี้ไม่พอใจ ก็เลยทำร้ายคนที่มาอาบน้ำให้ ทางคณะละครสัตว์ก็เลยต้องฆ่าช้างตัวนี้ทิ้งไป เธอก็เลยเสียใจมากๆ มันเป็นปมชีวิตที่ฝังใจเธอมานานหลายปีแล้ว

แล้วเธอก็บอกกับหนุ่มหล่อชาวปาเลสไตน์ว่า “คุณรู้มั้ยว่า คุณมาที่นี่ทำไม คุณมาที่นี่ก็เพื่อจะทำให้ช้างตัวนี้ได้กลับมาเกิดใหม่ในครรภ์ของดิฉันยังไงล่ะ” แล้วเธอก็พยายามเสยหีใส่หนุ่มหล่อชาวปาเลสไตนอย่างรุนแรง


แน่นอนว่า IT WAS HOTEL CAMBRIDGE เป็นหนึ่งในหนังเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิตค่ะ

SEVEN UP! (1964, Paul Almond, UK, documentary, A+30)

$
0
0
SEVEN UP! (1964, Paul Almond, UK, documentary, A+30)

พอดีช่วงต้นปีได้ดู 49 UP (2005, Michael Apted+Paul Almond) กับ 56 UP (2012, Michael Apted + Paul Almond) ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปแล้ว ก็เลยมาตามดูภาคแรกๆในช่วงปลายปี

พอมาดูภาคแรกแล้วแทบร้องไห้ เพราะ Neil ในภาคแรกนี่ สดใส น่ารักมากๆๆๆๆๆๆ คือเราเห็นเขาแล้วเราจินตนาการได้เลยว่า เขาต้องมองโลกสดใสขนาดไหนในตอนที่ยังเป็นเด็ก 7 ขวบในตอนนั้น

แต่พอดีเราดูสองภาคล่าสุดไปแล้ว เราก็เลยรู้ดีว่า เด็ก 7 ขวบที่เต็มไปด้วยความสดใสและความหวังเปี่ยมล้นในชีวิตนี่แหละ ที่โตขึ้นมาจะต้องเผชิญกับความยากจน กลายเป็นคนไร้บ้าน และชีวิตจะโหดร้ายและโบยตีเขาอย่างรุนแรงมากขนาดไหน

นีลตอน 7 ขวบในปี 1964 ยังไม่รู้อนาคตของตัวเอง เขายังคงสดใสร่าเริงอยู่ เขาไม่รู้หรอกว่า ความขมขื่นและความเจ็บช้ำรอเขาอยู่ในอนาคต


ส่วนเราคนดูในปี 2017 เรารู้อนาคตของนีลแล้ว มันทำให้เรานึกถึงความเชื่อทางศาสนาขึ้นมาเลยนะ ความเชื่อที่ว่า อยากจะนิพพานไปซะ ไม่อยากจะเกิดมาเป็นมนุษย์อีกต่อไป

7 PLUS SEVEN (1970, Michael Apted, documentary, A+30)

$
0
0
7 PLUS SEVEN (1970, Michael Apted, documentary, A+30)

หลังจากดูภาค 1, ภาค 7 และภาค 8 ไปแล้ว ก็ได้เวลาดูภาคสอง นี่เรากะว่าจะดูภาค 3-6 ให้ทันก่อนปีใหม่ ยังลุ้นอยู่ว่าจะทันไหม 555

ทำไมดูแล้วรู้สึกเจ็บปวดก็ไม่รู้ เหมือนข้อคิดหลักที่ได้จากการดูหนังสารคดีที่ถ่ายทำยาวนาน 49 ปีชุดนี้ก็คือว่า “เด็กคนไหนเกิดมารวย ก็มีชีวิตที่ร่ำรวยและสุขสบายตลอดไป ใครเกิดมาจน ก็จนตลอดไป”

หนึ่งใน sequence ที่เจ็บปวด ก็คือฉากที่ตัดสลับเด็กๆหลายคนพูดถึงการท่องเที่ยวของตัวเอง เด็กหลายคนพูดถึงการไปเที่ยวเมืองนอก ไปเที่ยวประเทศต่างๆอย่างสนุกสนาน อย่างเช่นไปเล่นสกีที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่เด็กผิวดำบอกว่า เขาเคยไปเที่ยวแค่พิพิธภัณฑ์ต่างๆที่ทางโรงเรียนพาไปเท่านั้น อย่างเช่นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของมาดามทุสโซด์


เหมือนเราเห็นตัวเองในฉากนั้นน่ะ ในแง่นึงเราก็เหมือนเด็กผิวดำคนนั้นใน UP SERIES คือในขณะที่เพื่อนๆหลายๆคนในfacebook ไปเที่ยวเมืองนอกกันโครมๆ แต่สำหรับเรานั้น ในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้ไปไกลสุดแค่จังหวัดนครปฐมเพื่อดูหนังที่ศาลายาเท่านั้น 555

246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang, video installation, A+30)

$
0
0
จุดตัด/กับดักนักท่องเที่ยว (2017, Qenji Yoshida + Wantanee Siripattananuntakul, video installation, A+25)

เสียดายที่ฟังไม่ออกว่าศิลปินสองคนในวิดีโอคุยกันว่าอะไรบ้าง แต่ชอบการบันทึกภาพ urban landscape ในญี่ปุ่นกับในกรุงเทพมากๆ  

246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang, video installation, A+30)

ถ้าหาก NEVER CONGREGATE, NEVER DISREGARD (2007, Arin Rungjang) ทำให้เราประทับใจกับประวัติศาสตร์ส่วนบุคคล และ GOLDEN TEARDROP (2013, Arin Rungjang) ทำให้เราประทับใจกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ งานชิ้นล่าสุดของ Arin ก็ทำให้เราประทับใจมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมันเหมือนเป็นการนำเอาพลังของทั้งประวัติศาสตร์ส่วนบุคคล และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์มารวมเข้าไว้ด้วยกัน

ช่วงที่เป็นการแสดงของดุจดาวกับนักแสดงชายอีกคนมันน่าสนใจดีในแง่ที่ว่า  มันทำให้หัวสมองของเราต้องทำงานหนักกว่าปกติ 555 เพราะหัวของเราต้องจินตนาการภาพตามเสียง voiceover ไปด้วย และต้องพยายามตีความว่าท่าทางของนักแสดงกำลังสื่อถึงอะไรไปด้วย และแน่นอนว่า เราตีความไม่ออกหรอก เพราะฉะนั้นพอดูไปเรื่อยๆ เราก็เลยเลิกตีความไปเองว่าท่าทางของนักแสดงเป็นการสื่อถึงอะไร

คือจริงๆแล้วมันมีหนังหลายๆเรื่องที่กระตุ้นให้ผู้ชม “ดูภาพบนจอ” และ “จินตนาการอีกภาพหนึ่งในหัว” ไปพร้อมๆกันน่ะ อย่างเช่นหนังอย่าง A.K.A. SERIAL KILLER (1969, Masao Adachi), THEODOR HIERNEIS OR HOW TO BECOME A FORMER COURT COOK (1972, Hans-Jürgen Syberberg)THE TRUCK (1977, Marguerite Duras), DECODINGS (1988, Michael Wallin) คือหนังกลุ่มนี้จะเล่าเรื่องผ่านเสียงบรรยาย และนำเสนอภาพที่ไม่ตรงกับเสียงบรรยายซะทีเดียว คือผู้ชมจะต้องจินตนาการภาพในหัวของตัวเองไปด้วย และต้องใช้ตาของตัวเองดูภาพบนจอไปด้วย

ซึ่งในบางส่วนของ 246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONEก็คล้ายๆหนังกลุ่มข้างต้นนะ อย่างเช่นในฉากที่เสียงบรรยายเล่าเรื่องของทูตไทยในนาซีเยอรมนี และเราเห็นภาพของการหล่อประติมากรรมปูนปั้น คือในฉากเหล่านี้ หัวสมองของเราต้อง “จินตนาการภาพในหัวจากเสียงบรรยาย” และ “หาทางเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับเสียง” ด้วย


แต่พอเป็นฉากที่เสียงบรรยายเล่าเรื่องของทูตไทยในนาซีเยอรมนี และเราเห็นภาพการแสดงของดุจดาว มันเหมือนกับว่าหัวสมองของเราต้องทำงานหนักขึ้นน่ะ เพราะภาพที่เห็นมันก็เป็นภาพที่ “กระตุ้นจินตนาการ” ในตัวของมันเอง มันเหมือนกับว่าลีลาการเคลื่อนไหวของดุจดาวกับนักแสดงชายอีกคนมันกระตุ้นให้เราตีความ หรือจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในภาพนั้นๆด้วย มันก็เลยเหมือนกับว่า ทั้ง “เสียง voiceover” ก็กระตุ้นให้เราจินตนาการภาพนึง (อย่างเช่นภาพทหารรัสเซียจำนวนมาก) และ “ลีลาของดุจดาว” ก็กระตุ้นให้เราจินตนาการถึงอะไรอย่างอื่นอีก และเราก็ต้องหาทางเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันอีก มันก็เลยเป็นอะไรที่น่าสนใจดี 
Viewing all 3293 articles
Browse latest View live